×

อาจารย์และนักวิชาการ 86 รายจากทั่วประเทศ ร่วมลงชื่อเรียกร้อง กสทช. และ กขค. ตรวจสอบดีลควบรวม TRUE-DTAC

14.12.2021
  • LOADING...

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศ รวม 87 คน ร่วมลงนามในแถลงการณ์เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบการควบรวมกิจการของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) 

 

โดยแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่ TRUE และ DTAC ประกาศความประสงค์ที่จะควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน ตามที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมานั้น

 

คณาจารย์เศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ดังรายนามปรากฏท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง แสดงความชัดเจนต่อสาธารณะที่จะทำงานเชิงรุก โดยเฉพาะการออกมาตรการตรวจสอบและกำกับดูแลการควบรวมกิจการครั้งนี้อย่างเคร่งครัดและเพียงพอ

 

การประกาศควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC ในครั้งนี้ แม้ว่ายังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ ดังสารสนเทศที่ทั้งสองบริษัทแจ้งต่อ ตลท. ก็ตาม แต่ค่อนข้างชัดเจนว่าน่าจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการแข่งขัน ผู้บริโภค และเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุผล 3 ประการดังต่อไปนี้

 

ประการแรก หากการควบรวมครั้งนี้สำเร็จ ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเหลือเพียง 2 ราย จากเดิม 3 ราย

การควบรวมกิจการครั้งนี้เป็นการควบรวมในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งมีลักษณะผู้เล่นขนาดใหญ่น้อยรายเป็นทุนเดิม ในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่มีผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 ราย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่าร้อยละ 98 หาก TRUE และ DTAC ผู้ให้บริการ 2 รายใหญ่ควบรวมกันได้สำเร็จจะทำให้เหลือผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 2 ราย (Duopoly) เท่านั้น กล่าวคือ บริษัทใหม่ของ TRUE-DTAC และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) อันเป็นระดับการกระจุกตัวที่เข้มข้นที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ในตลาดที่มีการแข่งขัน และดังนั้นจึงน่าจะส่งผลอย่างรุนแรงต่อระดับการแข่งขันและสวัสดิการของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพการณ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ การลดลงของการแข่งขันจะเพิ่มต้นทุนและลดโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ซึ่งจะยิ่งซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลของประชาชน

 

ประการที่สอง โทรศัพท์เคลื่อนที่จัดเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน รากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

นอกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นตลาดที่มีผู้เล่นน้อยรายแล้ว ยังเป็นตลาดที่ใช้คลื่นความถี่ ทรัพยากรอันมีจำกัด และวันนี้จัดเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นรากฐานที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ รวมถึงเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ดังนั้นในเมื่อการควบรวมกิจการครั้งนี้สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่โครงสร้างตลาดที่ผูกขาดมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการดิจิทัล (Digital Companies) ผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Startups) และผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่กำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ (Digitization) ซึ่งล้วนแต่อาศัยเครือข่ายโทรคมนาคม ย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้น ส่งผลต่อแรงจูงใจในการคิดค้นนวัตกรรม ความสามารถในการแข่งขัน และการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลโดยรวม

 

ประการที่สาม วิธีควบรวมกิจการที่อยู่ระหว่างการศึกษา จะก่อเกิดบริษัทใหม่และยุบเลิกบริษัทเดิม สุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม แม้ในช่วงการศึกษาความเป็นไปได้

จากสารสนเทศที่ TRUE และ DTAC แจ้งต่อ ตลท. ทั้งสองบริษัทกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการรวมกิจการเข้าด้วยกันโดยวิธีการควบบริษัท หรือ Amalgamation ซึ่งหมายถึงการถ่ายโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และกิจการทั้งหมดของทั้งสองบริษัทไปอยู่ในบริษัทใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ จากนั้นยุบเลิกบริษัทเดิมทั้งสอง โดยบริษัทใหม่จะเข้าจดทะเบียนใน ตลท. แทน

 

วิธีการควบบริษัท หรือ Amalgamation นั้น นับเป็นวิธีควบรวมกิจการที่เข้มข้นที่สุด เนื่องจากจะต้องควบรวมทุกมิติของกิจการเข้าด้วยกันเป็นบริษัทใหม่ ดังนั้นในระหว่างการตรวจสอบกิจการซึ่งกันและกัน (Due Diligence) จึงสุ่มเสี่ยงว่าอาจเกิดพฤติกรรมที่เข้าข่ายการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับราคาและเงื่อนไขการให้บริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแผนการลงทุน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจก่อผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้บริโภคและการแข่งขัน ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดการควบรวมกิจการอาจไม่บรรลุผลสำเร็จก็ตาม

 

ด้วยเหตุผลทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้น พวกเราจึงเรียกร้องให้ กสทช. และ กขค. ไม่รีรออีกต่อไปในการใช้อำนาจตามกฎหมาย ทำหน้าที่ตรวจสอบและกำกับการควบรวมครั้งนี้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน อันเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งสอง

 

  1. กุศล เลี้ยวสกุล คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  2. กนกนัย ถาวรพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. กรรณิการ์ ดวงเนตร คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  4. เกรียงไกร เตชกานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. จักรกฤช เจียวิริยบุญญา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  6. ผศ.ดร.จารุประภา รักพงษ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  7. จงรักษ์ หงษ์งาม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  8. เฉลิมพงษ์ คงเจริญ คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  9. ชญานี​ ชวะโน​ทย์​ คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  10. ชนินทร์ มีโภคี คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  11. รศ.ดร. ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  12. ชลิตา ชยุตรากรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี
  13. ชโลทร แก่นสันติสุขมงคล คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  14. ชานนทร์ เตชะสุนทรวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  15. ฐิตินันท์ เต็งอำนวย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  16. ณัฎฐา เปาวิมาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  17. ณัฐพล พจนาประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  18. ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  19. ไตรสรณ์ ถิรชีวานนท์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  20. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  21. ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  22. ผศ.ดร.ธิติมา พลับพลึง สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มทร. รัตนโกสินทร์
  23. ธีรวุฒิ ศรีพินิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  24. รศ.ดร.ธีระวัฒน์ เจริญราษฎร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย)
  25. ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  26. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  27. ธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  28. นนท์ นุชหมอน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  29. รศ.ดร.นพพล วิทย์วรพงศ์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  30. นภนต์ ภุมมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  31. นิวาน ผลพันธิน สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  32. แบ๊งค์ งามอรุณโชติ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  33. บุญยเกียรติ วรรณศิริ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  34. ปฐมวัตร จันทรศัพท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  35. รศ.ดร.ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  36. ศ.ดร.ปราณี ทินกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  37. ปพิชญา แซ่ลิ่ม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  38. ปิติพัฒน์ นิตยกมลพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  39. ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  40. ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  41. รศ.ดร.พรชัย วิสุทธิศักดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  42. พรเทพ เบญญาอภิกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  43. พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์
  44. พราวพรรณ​ ประทุมชาติ School of Business and Economics University of Wisconsin-Superior
  45. พลอย ธรรมาภิรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  46. พลอยแก้ว โปราณานนท์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  47. พัชร์​ นิยม​ศิลป​ คณะนิติศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​
  48. พิชญ์ จงวัฒนากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  49. พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  50. ภารวี มณีจักร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  51. ภคนัช สุทเธนทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  52. ภาวิน ศิริประภานุกูล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  53. มนตรี ชำนาญโรจน์ กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  54. ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  55. รพีภัทร มานะสุนทร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  56. รุ่งนภา โอภาสปัญญาสาร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  57. วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  58. วรลักษณ์ หิมะกลัส คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  59. รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  60. วัชรพล นาควัชระ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  61. วิโรจน์ ณ ระนอง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  62. วิษณุ อรรถวานิช คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  63. วิมลรัตน์​ ศรีรัตนกูล คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  64. วิศาล บุปผเวส คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (อดีต)
  65. วีระวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  66. ศิวาพร ฟองทอง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  67. เสาวลักษณ์ ด้วงอิน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  68. เสาวรัจ รัตนคำฟู สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  69. โสมรัศมิ์ ขันทรัตน์ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์
  70. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​สงขลา​นครินทร์​
  71. สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  72. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  73. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์
  74. สลิลธร ทองมีนสุข สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
  75. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  76. สุกำพล จง​วิไล​เกษม​ คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัย​สงขลา​นครินทร์​
  77. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  78. สุพงษ์ พละศักดิ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  79. สุพรรณิกา ลือชารัศมี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  80. สุวรรณา คุณดิลกณัฐวสา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  81. อภิชาต ดะลุณเพธย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  82. อภิชาต​ สถิต​นิรา​มัย คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​
  83. อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  84. สิร นุกูลกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  85. อิสร์กุล อุณหเกตุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  86. อิสริยา บุญญะศิริ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising