×

ลองใช้ ‘Samsung Galaxy Watch3’ สมาร์ทวอทช์ผู้ช่วยด้านสุขภาพ ที่จะทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น แถมวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้ด้วย [Advertorial]

24.05.2021
  • LOADING...
Samsung Galaxy Watch 3

HIGHLIGHTS

  • Samsung Galaxy Watch3 สมาร์ทวอทช์ที่ใช้เทคโนโลยีแสง LED บริเวณฝาหลังของตัวเรือนกับรังสีอินฟาเรดที่มีความยาวคลื่นแสงต่างกันมาวัดค่า SpO2 ในกระแสเลือดของเรา (Blood Oxygen)
  • หากปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ตรวจวัดได้นั้นมีค่าต่ำกว่า 95% ลงไป ผู้สวมก็อาจจะ ‘มีแนวโน้ม’ ต่อการพบความผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และความสามารถในการหายใจ ณ ตอนนั้นๆ (ทั้งนี้ผลการวัดข้อมูลโดยสมาร์ทวอทช์อัจฉริยะไม่ถือเป็นข้อมูลวินิจฉัยทางการแพทย์แบบ 100%)
  • สำหรับ Samsung Galaxy Watch3 เป็นสมาร์ทวอทช์อัจฉริยะในแบรนด์ Samsung ที่เปิดตัวออกมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว จุดเด่นคือ ความเก่งของฟีเจอร์ด้านสุขภาพที่ใส่มาให้ในตัวเรือนแบบจัดเต็ม พร้อมโปรแกรมออกกำลังกายที่ครบเครื่องสุดๆ และดีไซน์ที่เน้นความหรูหราเหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์

พักหลังๆ มานี้เราเริ่มเห็นหลายๆ คนกำลังให้ความสนใจสมาร์ทวอทช์ที่มีฟีเจอร์ ‘วัดระดับค่าออกซิเจนในเลือด’ ตามกระแสความนิยมที่มีต่ออุปกรณ์วัดออกซิเจนในเลือดแบบสวมหรือหนีบปลายนิ้วมือ 

 

ซึ่งทั้งหมดก็เกิดมาจากกระแสการแชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์ และข้อมูลในเชิงสุขภาพที่ว่า หากปริมาณออกซิเจนในเลือดที่ตรวจวัดได้นั้นมีค่าต่ำกว่า 95% ลงไป ผู้สวมก็อาจจะ ‘มีแนวโน้ม’ ต่อการพบความผิดปกติบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และความสามารถในการหายใจ ณ ตอนนั้นๆ ได้

 

แม้ข้อมูลที่วัดได้จากอุปกรณ์วัดหรือสมาร์ทวอทช์จะไม่สามารถยืนยันผลได้แบบแม่นยำ 100% หรือใช้เป็นข้อมูลผลตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ได้ครบถ้วนทุกกระบวนการ 

 

แต่เราก็อยากแนะนำให้คุณได้รู้จักกับทางเลือกสมาร์ทวอทช์อัจฉริยะที่มีฟีเจอร์รองรับการใช้งานด้านนี้โดยเฉพาะ เผื่อว่าคุณกำลังมองหาสมาร์ทวอทช์สักเรือนมาใช้ในช่วงนี้ โดยที่เนื้อหาในบทความนี้จะเน้นไปที่ฟีเจอร์การวัดออกซิเจนในเลือด SpO2 เป็นหลัก

 

Samsung Galaxy Watch 3

 

‘Galaxy Watch3’ กับความเก่งของการวัดออกซิเจนในเลือด SpO2

ตัวนาฬิกา Galaxy Watch3 จะใช้เทคโนโลยีแสง LED บริเวณฝาหลังของตัวเรือนกับรังสีอินฟาเรดที่มีความยาวคลื่นแสงต่างกันมาวัดค่า SpO2 ในกระแสเลือดของเรา (Blood Oxygen)

 

จินตนาการง่ายๆ ว่าวิธีการนี้จะอาศัยวิธีการตรวจจับ ‘เลือดที่ขาดออกซิเจน’ ซึ่งคุณลักษณะของเลือดที่ขาดออกซิเจนนั้นจะดูดซึมแสงได้น้อย นั่นจึงทำให้มันปล่อยให้แสงลอดผ่านทะลุเข้าไปได้มากกว่า 

 

ต่างจาก ‘เลือดที่มีค่าออกซิเจนสูง’ ซึ่งจะดูดซึมรังสีอินฟาเรดได้มากกว่า นั่นจึงทำให้ตัวระบบและสมาร์ทวอทช์อัจฉริยะ Galaxy Watch3 สามารถตรวจวัดประเมินค่าระดับออกซิเจนในเลือดออกมาได้นั่นเอง

 

วิธีการเปิดใช้งานก็สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเปิดแอปพลิเคชัน Samsung Health ขึ้นมา แล้วเลื่อนไปที่ Blood Oxygen Measurement (ใครหาไม่เจอ อาจจะต้องอัปเดตซอฟต์แวร์ตัวสมาร์ทวอทช์ให้เป็นเวอร์ชันใหม่ล่าสุดก่อน) 

 

Samsung Galaxy Watch 3

วิธีการใช้งานการวัดค่าออกซิเจนในเลือดจะมีคำแนะนำบอกแบบละเอียดทีละขั้นตอนเลย

 

จากนั้นตัวระบบจะแนะนำวิธีการวัดค่าออกซิเจนในเลือดสำหรับมือใหม่ เริ่มตั้งแต่การวางข้อศอกชันไว้บนโต๊ะ แล้วหันตัวเรือนนาฬิกาเข้าใกล้กับอกข้างซ้ายหรือบริเวณหัวใจของเรา

 

ปรับสายนาฬิกาให้แน่นและกระชับเข้ากับข้อมือ โดยขยับตัวเรือน Galaxy Watch3 ให้ร่นลงมาจากบริเวณข้อมือประมาณ 2 นิ้วมือทาบ จากนั้นค้างไว้ในท่าดังกล่าวประมาณ 30 วินาที (ไม่ต้องนับเอง เพราะตัวนาฬิกาจะมีเส้นรอบวงหมุนโชว์ให้เห็นเพื่อความง่ายในการใช้งานมากที่สุด)

 

จากตัวอย่างที่เราสาธิตก็จะเห็นผลลัพธ์ว่า ตัวสมาร์ทวอทช์ Galaxy Watch3 สามารถอ่านค่าออกซิเจนในเลือดของผู้เขียนได้สูงสุดที่ระดับ 100% และวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ที่ 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการวัดและแสดงผลแบบเรียลไทม์เลยบนกราฟิกที่เป็นมิตรกับการอ่านหรือทำความเข้าใจ ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เรียกได้ว่าง่ายและสะดวกในการใช้สุดๆ

 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี ตามที่เราได้เกริ่นไปในตอนต้น คือ การวัดค่าออกซิเจนในเลือดด้วย Galaxy Watch3 หรือแม้แต่สมาร์ทวอทช์แบรนด์อื่นๆ ณ วันนี้ยังไม่สามารถใช้เป็นผลการตรวจในเชิงทางการแพทย์ หรือข้อมูลการวินิจฉัยที่สิ้นสุดได้ ดังนั้นวิธีการใช้งานมันเราจึงแนะนำให้คุณใช้เป็น ‘ตัวช่วยในการอัปเดตข้อมูลด้านสุขภาพดีกว่า’ และหากคุณรู้สึกไม่สบาย หายใจไม่เป็นปกติ ก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำแบบ 100%

 

Samsung Galaxy Watch 3

 

รู้จักฟีเจอร์อื่นๆ Galaxy Watch3 สมาร์ทวอทช์ผู้ช่วยด้านสุขภาพจาก Samsung ให้มากขึ้น

นอกเหนือจากฟีเจอร์ Blood Oxygen Measurement บน Samsung Health ตัวนาฬิกาสมาร์ทวอทช์ Galaxy Watch3 ยังมีฟีเจอร์ด้านสุขภาพอีกมากมายที่ช่วยให้เราสามารถทราบหรือบันทึกข้อมูลสุขภาพของตัวเองในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องข้อมูลอัตราการเต้นหัวใจ, การวัดระดับความเครียด, การตรวจวัดคุณภาพการนอน (ตัวนาฬิกาจะตรวจวัดแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องกดเปิดด้วยตัวเอง), การตรวจจับการล้มแบบอัตโนมัติกรณีเกิดอุบัติเหตุกับเรา (ส่วนการวัดค่า ECG หรือความดันเลือด (Blood Pressure) ยังไม่รองรับการใช้งานในไทย)

 

การเตือนและจับเวลาการล้างมือ, การวัดข้อมูลรอบเดือน, จำนวนการก้าวเดิน, ข้อมูลแคลอรีที่เบิร์นในแต่ละวัน, ซึ่งมาพร้อมฟังก์ชันการออกกำลังกายที่ครบครัน เช่น โปรแกรมออกกำลังกายที่บ้านมากกว่า 120 แบบ, Vo2Max* วัดความฟิตร่างกายในขณะวิ่ง และ Real Time Running Form Analysis วิเคราะห์ท่าทางการวิ่งที่ถูกต้องแบบเรียลไทม์ 

 

(หมายเหตุ: Vo2Max* จะวัดค่าได้ก็ต่อเมื่อใช้กับการออกกำลังกายโหมด Running โดยผู้ใช้ต้องวิ่งต่อเนื่อง 20 นาทีบนพื้นราบที่มีสัญญาณ GPS และมีการเต้นหัวใจอยู่ที่ 70-90% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด)

 

Samsung Galaxy Watch 3

 

มีฟีเจอร์สุดเก๋สามัญประจำสมาร์ทวอทช์ที่ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น ลดเวลาในการหาของหายอย่าง ‘Find Phone’ ที่เราสามารถใช้ค้นหาอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่เราจับคู่ด้วยได้ กรณีเกิดหลงลืมหรือไม่แน่ใจว่าไปวางทิ้งไว้ที่ไหน ซึ่งตัวอุปกรณ์ปลายทางหรือสมาร์ทโฟนก็จะสั่นและส่งเสียงเตือนเมื่อคำสั่งจากตัว Galaxy Watch3 ถูกส่งออกไป

  

สำหรับ Galaxy Watch3 เป็นสมาร์ทวอทช์อัจฉริยะในแบรนด์ Samsung ที่เปิดตัวออกมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว จุดเด่นคือดีไซน์ที่ถูกออกแบบมาให้ดูหรูหรา เข้ากับข้อมือของเราแบบสุดๆ มาพร้อมหนังแท้คุณภาพดีที่ช่วยให้ระบายเหงื่อได้ดีขณะสวมใส่ แถมมันยังถูกเพิ่มฟีเจอร์การใช้งานด้านสุขภาพตามที่เราได้กล่าวไปในตอนต้นให้รอบด้าน และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดผู้บริโภคในช่วงนี้

 

Samsung Galaxy Watch 3

สายหนังที่แถมมาให้กับตัวเรือน ช่วยขับความหรู ดูดีออกมาจากตัวเรือนได้อีกหลายเท่าตัว

 

ตัวเรือนมีมาให้เลือกด้วยกันถึง 2 ขนาด คือ หน้าปัดแบบ 41 มม. และหน้าปัดแบบ 45 มม. และมีให้เลือกทั้งโมเดลที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth หรือ LTE (รองรับการเชื่อมต่อซิมแบบ eSim) สนนราคาเริ่มต้นที่ 12,900 บาท (เช็กราคาและส่วนลดเพิ่มเติมจากตัวแทนจำหน่ายอีกที) สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ Samsung Experience Store, samsung.com และร้านค้าที่ร่วมรายการ

 

โดยโมเดลที่เรานำมาลองใช้งานก็คือ Galaxy Watch3 LTE ขนาด 41 มม. สี Silver (จริงๆ มีสี Mystic Bronze ออกโทนชมพูให้เลือกด้วย) มาพร้อมกับสายหนังแท้สีดำ ตัวหน้าปัดจอสมาร์ทวอทช์ใช้จอแบบ Super AMOLED ขนาด 1.2 นิ้ว ความละเอียด 360 x 360 (Resolution) แสดงผลได้ถึง 16 ล้านสี

 

บริเวณขอบหน้าปัดตัวเรือนสมาร์ทวอทช์มี ‘ขอบตัวเรือนที่สามารถหมุนได้’ เพื่อใช้งานเลื่อนหมุนการแสดงผลบนจอ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในเชิงดีไซน์และความโดดเด้งของ Galaxy Watch มานานนม เพียงแต่จุดสังเกตที่เรามีก็คือ ตัวหน้าปัดที่ 41 มม. อาจจะทำให้ความรู้สึกของการจิ้มไอคอนต่างๆ บนตัวเรือน และขอบที่นูนขึ้นมานั้นกวนใจอยู่บ้างในบางครั้ง (แนะนำว่าถ้าผู้ใช้งานผู้ชายอาจจะลองขยับไปจับตัวเรือนขนาด 45 มม. ก่อน แล้วลองเปรียบเทียบว่าชอบไซส์ไหนมากกว่า)

 

ระบบปฏิบัติการใช้ Tizen (แว่วมาว่าในอนาคตอาจจะปรับเป็น Android ในโมเดลต่อๆ ไปของ Galaxy Watch Series) รองรับ NFC และการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.0 หน่วยประมวลผล 1.15GHz ซีพียูแบบ Dual-Core ขนาดรอมอยู่ที่ 8 GB (ใช้งานได้จริงๆ ที่ 4.3 GB) 

 

ทำงานคู่กับเซ็นเซอร์จำนวนมาก (วัดความเร่ง (Accelerometer), วัดความดันอากาศ (Barometer), ไจโรสเซ็นเซอร์ วัดแรงเฉื่อยตามแกนหมุน สำหรับวัดอัตราความเคลื่อนไหว (Gyro Sensor), เซ็นเซอร์วัดแสง (Light Sensor) และเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Optical Heart Rate Sensor))

 

Samsung Galaxy Watch 3

 

ขนาดแบตเตอรี่อยู่ที่ 247 mAh โดยสามารถใช้งานเฉลี่ยที่ 43 ชั่วโมง และสามารถใช้งานในโหมดประหยัดแบตเตอรี่ได้สูงสุดที่ 120 ชั่วโมง แต่จากประสบการณ์การใช้งานส่วนตัว เราก็รู้สึกอุ่นใจกว่าที่จะชาร์จมันแบบวันต่อวันอยู่ดี (ออกนอกบ้านมา เกิดแบตเตอรี่หมดกลางทางก็ไม่สามารถใช้อุปกรณ์ชาร์จอื่นได้เลย ต้องใช้สายชาร์จแถบแม่เหล็ก หรือ Wireless Charge ที่รองรับเท่านั้น (ในกล่องไม่แถมอะแดปเตอร์ชาร์จมาให้))

 

โดยรวมถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์ Device ในระบบปฏิบัติการ Android อยู่แล้ว เรามองว่า Galaxy Watch3 คือทางเลือกสมาร์ทวอทช์ที่ดีและตอบโจทย์มากๆ เรือนหนึ่ง (เน้นในเชิงไลฟ์สไตล์ที่รอบด้าน ครอบคลุมทุกฟังก์ชันการใช้งาน ไม่ได้เน้นออกกำลังกายแบบจัดๆ หรือแอดเวนเจอร์บุกป่าฝ่าดงลุยฝนไตรกีฬาเป็นหลักขนาดนั้น) โดยเฉพาะถ้าคุณใช้สมาร์ทโฟนของ Samsung อยู่แล้ว การปรับตั้งค่าต่างๆ และระบบนิเวศของการใช้งานก็จะยิ่งง่าย สมบูรณ์แบบมากขึ้น (ตั้งค่าผ่าน Galaxy Wearable ได้ทันทีด้วยตัวเอง)


แต่หากคุณใช้งานสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการค่ายคู่แข่ง iOS แล้วอยากลองย้ายมาเล่น Galaxy Watch3 นี้ดูด้วยเหตุผลด้านดีไซน์ ฯลฯ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นเราแนะนำให้คุณลองไปจับของจริงดูก่อน จะได้รู้ว่าเราถูกจริตกับตัวเรือนและอินเตอร์เฟซแบบนี้จริงๆ หรือเปล่า (ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ samsung.com)

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising