×

POP TIP: วิธีแก้ไขอาการของ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD: Seasonal Affective Disorder)

18.12.2022
  • LOADING...

ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นลง หลายคนจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะตกอยู่ในภาวะของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD: Seasonal Affective Disorder) โดยจะมีความเชื่อมโยงกับระดับแสงที่เปลี่ยนไป เช่น แสงแดดจากดวงอาทิตย์ ความสว่างในเวลากลางวัน ซึ่งโรคนี้จะมีระดับความรุนแรงที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ไม่ต้องกังวลเกินไปหากคุณกำลังเผชิญกับอาการนี้อยู่ เพราะมันจะเกิดขึ้นและหายไปตามฤดูกาล จุดสังเกตของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลคือ อารมณ์ไม่ดี เบื่อในกิจกรรมที่ตัวเองเคยสนใจ รู้สึกขี้หงุดหงิดง่าย อดทนไม่เก่ง รู้สึกผิด หรือรู้สึกไร้ค่า เฉื่อยชา และรู้สึกง่วงนอนบ่อยในตอนกลางวัน

 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะกล่าวถึงการวินิจฉัยว่ามันเป็นไปได้ยากที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้อยู่หรือไม่ แต่การประเมินในทางจิตวิทยาจะดูจากอารมณ์ พฤติกรรม การรับประทานอาหาร และการเปลี่ยนแปลงทางความคิดบางอย่าง ยิ่งช่วงนี้อากาศเย็นลง การพิจารณาอาการตามรูปแบบในฤดูหนาวก็จะเห็นชัดเจนขึ้น เช่น เมื่อเมลาโทนินเพิ่มขึ้น (เพราะอากาศเย็นชวนง่วง ไม่มีแดด) คนจึงเหนื่อยและอยากนอน ฤดูหนาวทำให้การผลิตเซโรโทนินลดลง ทำให้คนรู้สึกหดหู่ใจ มีความต้องการจะอยู่บนเตียงและนอนหลับ ทำให้การติดต่อทางสังคมลดลง เกิดความอยากกินคาร์โบไฮเดรต ทำให้กินมากเกินไป และน้ำหนักเพิ่ม เกิดความเหนื่อยล้าในเวลากลางวัน ส่งผลต่อการทำงานและครอบครัวได้ สำหรับวิธีแก้ไขให้อาการนี้ดีขึ้นทำได้ง่ายๆ ดังนี้ 

 

 

Pop Tip: ภาวะของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD: Seasonal Affective Disorder) จะมีความเชื่อมโยงกับระดับแสงที่เปลี่ยนไป ยิ่งในฤดูหนาวยิ่งทำให้คนเหนื่อย หดหู่ อยากนอน รู้สึกเศร้ามากขึ้น วิธีแก้คือการปรับตัวให้เข้าถึงแสง เช่น นั่งใกล้หน้าต่างที่มีแสงแดด ไปเดินเล่นสูดอากาศบริสุทธิ์ ทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะช่วยให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

 

ภาพ: Shutterstock

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising