×

กลยุทธ์เต้าเสียบปลั๊กไฟ ปั้น Omise เป็นสตาร์ทอัพพันล้าน ใหญ่ที่สุดของไทย

16.05.2019
  • LOADING...

อะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของ Omise (โอมิเซะ) สตาร์ทอัพสัญชาติไทย ที่แรกเริ่มตั้งใจจะทำอีคอมเมิร์ซ แต่กลับเห็นช่องว่างทางธุรกิจจนเกิดเป็นบริการ Payment Gateway ที่เข้ามาตอบโจทย์ทั้งกลุ่มลูกค้าและผู้ประกอบการ

 

ปัจจุบัน Omise กลายเป็น Payment Gateway ที่น่าจับตามองมากที่สุดในเอเชีย สามารถระดมทุนในซีรีส์ B ได้สูงถึง 580 ล้านบาท และกำลังขยายธุรกิจไปยังหลายประเทศทั่วโลก

 

เคน นครินทร์ คุยกับ ดอน-อิศราดร หะริณสุต ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Omise ในรายการ The Secret Sauce

 


 

the secret sauce

 

กลยุทธ์เต้าเสียบปลั๊กไฟ

Omise เริ่มต้นในปี 2014 ด้วยเงินทุน 10 ล้านบาท ตอนแรกพวกเขาตั้งใจทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ แต่เมื่อทำไปได้สักพักกลับมองเห็นจุดอ่อนเรื่องการจ่ายเงินที่มีความยุ่งยาก เสียเวลา ต้องกรอกข้อมูลหลายขั้นตอน หลายครั้งเกิดปัญหาติดขัด ทำให้ลูกค้าหงุดหงิดจนตัดสินใจไม่ซื้อ ธุรกิจเองก็เสียโอกาสในการขาย บวกกับเวลานั้น Payment Gateway ในประเทศไทยยังมีไม่กี่แห่ง ไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทั้งหมด คุณดอนเห็นปัญหาตรงนี้ เขาจึงตัดสินใจเปลี่ยนจากอีคอมเมิร์ซแล้วมุ่งทำ Payment Gateway แทนในที่สุด

 

คุณดอนยังอธิบายเสริมด้วยว่าอีคอมเมิร์ซมากมายที่มีอยู่ในตลาดเปรียบเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า และ Omise เปรียบเป็นเต้าเสียบปลั๊กไฟ ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ เตารีด ตู้เย็น ทุกเจ้าต้องมาเสียบไฟโดยใช้ Payment Gateway กับเขาทั้งหมด สิ่งนี้จึงเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้ Omise มีอัตราการเติบโตที่แข็งแรง และสามารถดึงความสนใจจากนักลงทุนได้อย่างดีเยี่ยมนั่นเอง

 

2. Positioning & Branding ชัดเจน

Omise เรียกตัวเองว่าเป็น ‘พรีเมียมแบรนด์’ คล้ายกับแบรนด์รถยนต์ที่มีหลายเกรด ถ้าคุณอยากได้รถหรู คุณก็ต้องยอมจ่ายเงินสูง ความเป็นพรีเมียมของ Omise คือพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าที่ราคาถูกที่สุด แต่เป็นเจ้าที่ให้บริการดีที่สุด โดยมี Service Level สูงถึง 99.999% แทบไม่มีดาวน์ไทม์เลย

 

นอกจากนี้ Omise ยังสามารถรองรับธุรกรรมปริมาณมากๆ ที่เข้ามาพร้อมกันได้ทีเดียว ยกตัวอย่าง ค่ายมือถือที่คนต้องมาจ่ายค่าโทรศัพท์กันช่วงสิ้นเดือน Omise ก็พร้อมรองรับส่วนนั้น

 

อีกเรื่องที่ Omise ให้ความสำคัญคือประสบการณ์ของผู้ใช้ ถ้าร้านค้าใดมาใช้บริการ ลูกค้าจะสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ด้วยการกดไม่กี่ครั้งเท่านั้น ทำให้ Omise ไม่ใช่แค่เครื่องมือที่ทำให้ร้านค้าเกิดการขายได้ครบวงจร แต่ยังมีส่วนช่วยให้ยอดขายของพวกเขาดีขึ้นอีกด้วย

 

โดยเบื้องหลังวิธีสร้างสรรค์แบรนด์พรีเมียมของ Omise อยู่ที่ทีมคุณภาพและการคัดเลือกพาร์ตเนอร์ระดับพรีเมียมทั้งหมด เป็นความตั้งใจที่ทำเช่นนี้ตั้งแต่วันแรก เพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน 

 

the secret sauce

the secret sauce

the secret sauce

 

3. พัฒนาเทคโนโลยีแบบ Cutting Edge

พูดถึงเรื่องการทรานส์ฟอร์มองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ Omise พยายามลดงานที่เป็นรูทีน ใช้เทคโนโลยีทำให้งานรูทีนรันไปโดยอัตโนมัติมากขึ้น เมื่อสามารถลดงานรูทีนได้แล้ว Omise จึงหันมาทุ่มเทพลังให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย (Cutting Edge) สร้าง Killing Feature มาตอบโจทย์ลูกค้า

 

สำหรับองค์กรที่อยากสร้างนวัตกรรมแบบ Cutting Edge ต้องไม่กลัวความล้มเหลว พร้อมก้าวออกมาทำในสิ่งที่คนอื่นคิดว่ามันจะไม่เวิร์ก ค่อยๆ หาวิธีไปจนเจอทางที่ถูกต้อง Omise ไม่ใช่ Payment Gateway เจ้าแรกของโลก แต่ไม่หยุดที่จะทำให้ดีขึ้น มีเป้าหมายใหญ่อยู่เสมอ

 

4. พูดให้น้อยลง ฟังให้มากขึ้น

เคล็ดลับความสำเร็จข้อสุดท้าย สังเกตจากตลอดเวลาที่สัมภาษณ์เกือบ 1 ชั่วโมง คุณดอนมักให้ความสำคัญกับการฟัง ฟังทั้งพนักงานของตัวเองและกลุ่มลูกค้า พร้อมนำปัญหาหรืออุปสรรคมาปรับปรุงให้ธุรกิจดีขึ้นอยู่เสมอ

 

the secret sauce

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

The Guest อิศราดร หะริณสุต

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising