นอกจาก 12 ปีจะเป็นเวลาที่วนครบ 1 รอบนักษัตร จากปีชวดไปจบที่ปีกุนแล้ว 12 ปียังเป็นเวลาที่ ไปป์-รัฐภูมิ ตู้จินดา ได้รับทุนไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่มัธยมหกจนจบปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์หรือ ComSci ซึ่งเขาได้ทำธีสิสวิจัยนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์หลายชิ้นจนต่อยอดเป็นสตาร์ทอัพ และถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ซื้อไปในราคาแสนแพง!
ทุกวันนี้ไปป์ทำงานเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของรัฐบาล ได้นำความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งแนวคิดที่ได้จากการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศอย่างเต็มความสามารถ
02:00
“Hi, this is Rattapoom Tuchinda here for the นักเรียนนอก podcast. Back in the days I went to MIT for Undergrad and Master Degree and USC for PhD. MIT is in Cambridge and USC is in Los Angeles. Cambridge is about history, romantic Victorian buildings and cold weather while Los Angeles is about sea, sun, sand. Each has its own uniqueness and I wholly recommend you visit both places if you have a chance. I hope you enjoy my stories in both places in the podcast and feel free to connect to me via Facebook if you have any question, cheers.”
“สวัสดีครับ นี่คือรัฐภูมิ ตู้จินดา และนี่คือรายการ นักเรียนนอก พอดแคสต์ ก่อนนี้ผมได้ไปเรียนระดับปริญญาตรีกับโทที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมลรัฐแมสซาชูเซตต์ หรือ MIT และเรียนปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย หรือ USC มหาวิทยาลัย MIT อยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ ส่วน USC อยู่ที่ลอสแองเจลิส เมืองเคมบริดจ์นั้นโดดเด่นด้านประวัติศาสตร์ อาคารสไตล์วิคตอเรียที่ดูโรแมนติก และอากาศอันหนาวเย็น ส่วนจุดเด่นของเมืองลอสแองเจลิสคือทะเล แสงอาทิตย์ และหาดทราย ทั้งสองแห่งต่างก็มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณลองไปเที่ยวที่เมืองทั้งสองดูสักครั้งถ้ามีโอกาส หวังว่าคุณจะสนุกไปกับเรื่องราวของผมในพอดแคสต์รายการนี้ และถ้าใครมีคำถามก็ติดต่อผมมาได้ทางเฟซบุ๊กครับ”
02.30
“มันเหมือนต้องทิ้งชีวิต ทิ้งเพื่อนไปเลยนะ”
“ก็ไม่ขนาดนั้นครับ พี่สาวผมก็ได้ทุนเหมือนกัน”
- เด็กอายุ 17 ก็ไม่ได้คิดอะไรลึกซึ้งนัก ไปป์เห็นว่าพี่สาวได้ทุนไปเรียนต่อต่างประเทศก็แฮปปี้ดี จึงตัดสินใจไป เพราะคิดว่าน่าจะสนุกกว่าอยู่เมืองไทย
- แต่ด้วยความที่มหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกาไม่เชื่อมั่นในระบบการศึกษาของไทย ทำให้ไปป์ต้องไปเรียนซ้ำชั้นที่นู่น 1 ปี เพื่อวัดระดับการศึกษา
- MIT ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลกด้านวิศวกรรม
- เป็นแหล่งรวมคนเก่งของโลกไว้ คนที่สอบเข้าไปต่างก็เป็นที่ 1 ของโรงเรียนมัธยมของตัวเอง
- มีการจำกัดปริมาณนักเรียนของแต่ละทวีป
- ด้วยความที่เด็กเก่งมาสอบเยอะ ทำให้ MIT ไม่ได้ดูแค่เกรด แต่ดูมิติอื่นๆ ของชีวิตนักเรียนประกอบการรับสมัครด้วย ว่ามีคุณสมบัติอื่นๆ นอกจากเรียนเก่งหรือเปล่า
- รับนักเรียนจากศักยภาพที่จะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีในอนาคต
- ทำให้มีธุรกิจเลี้ยงดูเด็กให้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้
- ที่ MIT มีสาขาที่ฮอตฮิตมากคือ Course Six ที่ประกอบด้วย Computer Science และ Electrical Engineering
- ไปป์เข้าไปเรียนสาขา Electrical Engineering ก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนไปเรียน Computer Science
05:45
“สาขา ComSci คือเรียนวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์คิด หรือที่เรารู้จักกันในนาม AI ไม่ใช่เรียนประกอบคอม”
- คนที่นั่นก็มีช่วยเหลือเรื่องการเรียนกันดี โดยเฉพาะกับผู้หญิง ที่จะมีผู้ชายไปช่วยทำงานเยอะ
- แต่มันจะมีพวกเหนือมนุษย์ ก็ต้องปล่อยเค้าไป
06:42
“ตอนเรียนจบไปป์สอบได้คะแนนระดับท็อป 15”
- ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนเก่ง อัจฉริยะ แต่เป็นคนขยันมากกว่า
- เข้ามาเรียนที่นี่ต้องเลือก เรียน นอน หรือเพื่อน 2 จาก 3 อย่างนี้ ก็เลือกเรียนกับนอน เพราะต้องนอน 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่งั้นจะไม่ฟังก์ชั่น
- แบ่งเวลาด้วยการเน้นนอนกับเรียน แต่ก็มีไปกินข้าวกับเพื่อนบ้าง แต่เรียนกับนอนเป็นหลัก
- เป็นคนนิสัยการเรียนไม่ดี
- ครูสอนไม่ดีก็ไม่ไปเรียน อ่านหนังสืออยู่หอแทน
- ซึ่งก็ลำบาก เพราะสมัยนั้นข้อมูลหายาก ไม่มีอินเทอร์เน็ตแพร่หลายเหมือนปัจจุบัน
08:27
“แล้วบรรยากาศการเรียนการสอนที่ MIT เป็นยังไงบ้าง”
- วิชานึงมี 12 หน่วยกิต แปลว่าต้องใช้เวลา 12 ชั่วโมง เป็นเล็กเชอร์ 4 ชั่วโมง ทำการบ้าน 8 ชั่วโมง
- การบ้านเลยออกแบบให้ต้องทำตามเวลาที่กะเกณฑ์ไว้
09:00
“มีคนบอกว่าการเรียนการสอนที่นี่เหมือนเปิดวาล์วก๊อกดับเพลิงกรอกปากน่ะ มีปัญญาเอาไปเท่าไหร่ก็เท่านั้น”
- มีเรียนๆ ไปแล้วสติแตกเหมือนกัน
- ช่วงปี 2-3 จะซึมๆ เศร้าๆ เพราะสู้พวกเหนือมนุษย์ไม่ได้ แต่พอทำใจได้ ก็หาย
- เป้าหมายในการเรียนคือต้องเรียนให้จบปริญญาเอก ตามทุนที่ได้มา ก็ต้องประคองเกรดให้ดีพอจะเข้าเรียน ป.เอก
- พอเข้าปริญญาเอก ก็ย้ายมหาวิทยาลัยไปเรียนที่ USC (University of Southern California) เมืองลอสแองเจลิส
- เรียน ComSci เหมือนเดิม
10:34
“การเรียนปริญญาเอกต่างกับการเรียนปริญญาตรีและโทยังไงบ้าง”
- การเรียน ป.เอกคือการผลักดันมนุษยชาติไปข้างหน้า
- ต้องล้มเหลวบ่อยมาก
- เรียน ป.เอกมันคือการเรียนรู้การแก้ปัญหา ซึ่งถ้าเจอทางแก้ก็จบ ไม่เจอทางแก้ก็ไม่จบ
11:25
“ที่ไปทำคือโปรแกรมทำนายราคาตั๋วเครื่องบินที่อเมริกา ซึ่งต่อมากลายเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ จน Microsoft ซื้อไปในราคาหลายล้านเหรียญ”
- แต่ตัวที่ทำเป็นปริญญาเอกจริงๆ คือ การทำ Big data โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อเชื่อมข้อมูล
- งานนี้ทำเสร็จก็มีคนมาซื้อไปอีกเหมือนกัน
- จบปริญญาเอกก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรเหมือนกัน
- แต่ต้องกลับไทย ด้วยเงื่อนไขทุน
- ซึ่งก็เลือกเรียนอะไรที่ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือ แต่พึ่งพาสมอง ทำให้ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่อิงเครื่องมือ
- Big data ในไทยทำได้ยาก เพราะทั้งภาครัฐเอกชนต่างก็เก็บข้อมูลเงียบ ไม่แบ่งเป็นสาธารณะ
13:53
“มีคนบอกว่าจะจบเอกต้องเอาใจ advisor บอกเลยว่าไม่จริง”
- Advisor มีทั้งดีและไม่ดี สิ่งที่เราควรทำคือสืบข้อมูล
- พอรู้ว่าอาจารย์คนไหนโหดก็ไปบอกทางมหาวิทยาลัย ขอไม่เรียนกับคนนี้
- แต่ละคนต้องมีกลยุทธในการเรียน เราก็ต้องหากลยุทธของเรา
16:07
“ประสบการณ์ชีวิตระหว่างการเรียนมีอะไรบ้างรึเปล่า”
- ก็มีเรื่องความรัก
- ก่อนไปเรียนมีแฟนอยู่แล้ว ตอนแรกก็คิดว่าน่าจะคบกันได้ สิบกว่าปี
- ปรากฏว่า 4 ปีก็เลิก
- จากนั้นคนที่คบกันก็ไปเจอในห้องแชตทุกคน
- แฟนคนต่อมาเป็นลูกครึ่งไทย-เวียดนาม อาศัยอยู่ที่แอลเอ
- เป็นเหตุผลที่ทำให้ย้ายมาเรียนแอลเอ
- ความรักในระหว่างเรียนมันทั้งช่วยและทั้งฉุด
- เรื่องบวกคือมันดีกับใจ
- เรื่องลบคือมันอาจกระทบการเรียนได้
- โดนอาจารย์ด่าว่าจิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
- แต่ตอนเรียนปริญญาเอกไม่ต้องเข้าเรียนอยู่แล้ว มันไม่ต้องเก่ง แต่ต้องอึด
- มองย้อนกลับไปก็ยังอยากมีแฟนเหมือนเดิม มีก็ดีแล้ว จะได้ไม่ต้องเฉา
18:25
“ให้แนะนำคนที่ต้องจากแฟนไปเรียนต่างประเทศหน่อย – ‘เลิกเหอะ’ (หัวเราะ)”
- คือถ้าช่วงสั้นแค่ 1-2 ปีก็พอคบกันได้
- แต่ถ้าช่วงยาวเราต้องการคนแชร์ประสบการณ์ในปัจจุบันร่วมกันมากกว่า
19:40
“มันจะเป็นเรื่องวิเศษถ้าคนที่เราคบอยู่เค้ายังเป็นที่ต้องการของเราอยู่”
19:58
“ขอถามถึงเมืองที่ไปเรียนหน่อย”
- เคมบริดจ์เป็นเมืองเก่า ดูเก๋า หนาว โรแมนติก เหมาะกับคนมีแฟน
- ส่วนลอสแองเจลิสจะร้อนกว่า แต่ไม่เหนียวตัวเหมือนเมืองไทย
- เป็นเมืองที่เหมาะจะมีครอบครัว เพราะอาหารอร่อย ใกล้ทะเล กิจกรรมเยอะ
- เคยไปกระโดดร่ม ทั้งที่กลัวความสูง เพราะเครียดกลัวไม่จบ
- ก็ช็อกตัวเองไป หายกลัวไปเลย
- แต่แอลเอก็เป็นเมืองใหญ่ มหาวิทยาลัย USC ก็เป็นจุดตัดของสองแก๊ง มีคนตายทุกปี
- จบเอกก็กลับบ้าน อยากกลับมาหาพ่อแม่
- ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของเมืองไทยเป็นระยะ
- คัลเจอร์ช็อกตอนไปเมืองนอกเนี่ยไม่เท่าไหร่ แต่ตอนกลับไทยเนี่ย ช็อก
- เพราะคิดแบบคนอเมริกันไปเยอะ คือให้น้ำหนักความถูกต้องมากกว่าความเกรงใจ มองว่าทุกคนมีเกียรติเท่ากัน
24:55
“ถ้าย้อนกลับไปได้จะบอกน้องไปป์อายุ 17 ว่ายังไง”
- ตอบเล่นๆ คืออยากให้ซื้อ Bitcoin
- ตอบซีเรียสคือเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เลยอยากบอกเด็ก 17 ทุกวันนี้มากกว่า
- สมัยก่อนไม่มีข้อมูลอะไรเท่าทุกวันนี้ แต่กลับเป็นว่าทุกวันนี้เราไม่อาจรู้ได้ว่าข้อมูลที่เห็นเนี่ยจริงหรือเปล่า
- ฉะนั้น เด็กทุกวันนี้ควรวางกลยุทธชีวิต ขอคำปรึกษาคนมีประสบการณ์
- หลักคือต้องฟังคำปรึกษาจากคนที่เราอยากเป็น
- คนไทยพัฒนาช้ากว่าโลก แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาส คนเรามีศักยภาพพอกัน
- วิธีนึงคือเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมอื่นๆ
- เด็กไทยถ้าเห็นแต่ของเดิมๆ ก็จะคิดแต่อะไรเดิมๆ น่าเสียดาย
28:18
“ชีวิตคนมันมีอุปสรรค แต่เราต้องมีวิธีปลุกปลอบใจตัวเอง”
“แล้ววิธีของไปป์คืออะไร”
“ไม่บอก (หัวเราะ)”
Credits
The Host ธัชนนท์ จารุพัชนี
The Guest รัฐภูมิ ตู้จินดา
Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข
Episode Producers นทธัญ แสงไชย
อธิษฐาน กาญจนพงศ์
ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor นทธัญ แสงไชย
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director กริณ ลีราภิรมย์
Graphic Designer เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล
Photographer อธิษฐาน กาญจนพงศ์
Music Westonemusic.com
พูดคุนแลกเปลี่ยนแนวคิดกับ ดร.ไปป์-รัฐภูมิ ตู้จินดา ได้ ที่แฟนเพจ Rattapoom Tuchinda