จากการวิจัยของ มิเชล ลอร์บา ในฐานะนักจิตวิทยาเด็ก พบว่า ‘ความมานะอุตสาหะ’ เป็นทักษะด้านอารมณ์อันดับหนึ่งที่ทำให้เด็กที่มีแรงจูงใจสูงแตกต่างจากคนที่ยอมแพ้ง่ายๆ อันที่จริงการศึกษาได้สนับสนุนว่าทักษะนี้ถือเป็นเครื่องทำนายความสำเร็จที่แข็งแกร่งยิ่งกว่าการมี IQ สูงเสียอีก
เด็กที่มีความมานะอุตสาหะจะไม่ยอมแพ้เมื่อเผชิญกับความพ่ายแพ้ พวกเขาเชื่อว่าความพยายามของพวกเขาจะได้ผล ดังนั้นพวกเขาจึงมีแรงจูงใจที่จะทำงานหนักและทำสิ่งที่เริ่มต้นให้สำเร็จ แม้ว่าจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นก็ตาม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- LinkedIn เปิดโผ 20 ทักษะในการทำงานที่องค์กรตามหากันมากที่สุด พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์ที่ได้ใบประกาศฯ
- เปิดโผ 10 อาชีพ รายได้งาม ความเครียดต่ำ ส่วนมากไม่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนและไม่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้า
- ไม่ใช่นิสัย แต่มันคือวิถี! วิทยาศาสตร์ชี้ คนขี้เกียจมีแนวโน้มจะเป็นคนฉลาด ประสบความสำเร็จสูง และเป็นลูกจ้างที่ดีกว่า
ด้วยเหตุนี้บอร์บาจึงแนะนำวิธีที่จะกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความมานะอุตสาหะ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับปัจจัยที่จะทำให้ความมานะอุตสาหะหายไป ทั้งความเหนื่อยล้าโดยให้เข้านอนเป็นเวลา, ความวิตกกังวลซึ่งไม่ควรกดกันลูกมากเกินไป, ปลูกฝังกรอบความคิดในการพยายามเพื่อให้เกิดความสำเร็จ และการเรียนรู้ความคาดหวังที่ไม่ตรงกับความสามารถ
พ่อแม่สอนว่าความผิดพลาดคือโอกาสในการเติบโต แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ก็ตาม ยอมรับข้อผิดพลาดและบอกพวกเขาว่า “ไม่เป็นไร สิ่งสำคัญคือคุณได้พยายามแล้ว” ขณะเดียวกันความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าสามารถทำลายความมานะอุตสาหะ ดังนั้นเมื่อทำเรื่องอะไรสำเร็จก็ตาม แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ก็ควรให้คำชม
อีกเรื่องที่จำเป็นคือฝึกเด็กๆ ให้จดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่วอกแวก โดยสามารถฝึกได้จากการจับเวลาไว้บนโต๊ะ แล้วตั้งเวลาให้เหมาะสม โดยปรับให้เข้ากับช่วงความสนใจของเด็ก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาโฟกัสเรื่องต่างๆ ได้ดีขึ้น
นักจิตวิทยาแห่งสแตนฟอร์ดระบุว่า เมื่อเด็กๆ ได้รับการยกย่องในความเฉลียวฉลาด พวกเขามักจะไม่อดทน แต่เมื่อได้รับคำชมสำหรับความพยายามของพวกเขา พวกเขาจะมีแรงจูงใจมากขึ้นและทำงานหนักขึ้น
นอกจากนี้พ่อแม่ควรสอนให้เด็กๆ เลือกคำพูดเชิงบวกสำหรับพูดกับตัวเองในช่วงที่ต้องเจอความยากลำบาก และท้ายนี้พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกๆ แก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองโดยที่เราไม่ควรเข้าไปแก้ไขให้
อ้างอิง: