สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายงานผลสำรวจล่าสุด พบว่ามีประชากรวัยทำงานเกือบ 1.5 ล้านคนที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ‘ฮิกิโกโมริ’ (Hikikomori) หรือกลุ่ม ‘ผู้แยกตัวจากสังคม’ ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่แบบเก็บตัวอยู่ในบ้านหรือในห้องพักเพียงลำพังโดยแทบไม่ออกไปไหน ยกเว้นซื้ออาหารหรือสิ่งของจำเป็น
การสำรวจดังกล่าวถือเป็นการสำรวจอย่างเป็นทางการครั้งแรกเกี่ยวกับความแพร่หลายของปรากฏการณ์ฮิกิโกโมริที่ส่งผลกระทบต่อสังคมญี่ปุ่นในวงกว้าง ตั้งแต่กลุ่มวัยรุ่นไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
โดยกลุ่มประชากรที่ทำการสำรวจครั้งนี้มีอายุตั้งแต่ 15-64 ปี ซึ่งพบว่ามีราว 2% หรือประมาณ 1.46 ล้านคน ที่แยกตัวออกจากสังคมในระดับหนึ่ง ขณะที่ส่วนใหญ่ระบุเหตุผลที่เลือกใช้ชีวิตแบบเก็บตัวเพราะลาออกจากงาน และกว่า 1 ใน 5 ระบุว่าเป็นเพราะการระบาดรุนแรงของโควิดในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับเหตุผลในการถอนตัวจากสังคมของกลุ่มฮิกิโกโมรินั้นมีหลายปัจจัย ตั้งแต่การว่างงานไปจนถึงภาวะซึมเศร้า หรือการถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนหรือที่ทำงาน ซึ่งในบางรายที่มีภาวะเก็บตัวอย่างรุนแรงจะแทบไม่ออกไปจากที่พักเลย
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้ถือเป็นข้อมูลใหม่ ทำให้ไม่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในอดีตว่ามีประชากรที่อยู่ในกลุ่มฮิกิโกโมริเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากแค่ไหน
อ้างอิง: