×

คู่มือรับมือโควิด-19 รวมข้อมูลและวิธีปฏิบัติตัวท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่

17.04.2021
  • LOADING...
คู่มือรับมือโควิด-19

เดือนเมษายน 2564 ประเทศไทยพบตัวเลขผู้ติดโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นมาอีก เรียกได้ว่าเป็นการระบาดระลอกใหม่ ที่พบตัวเลขสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จากคุณสมบัติการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัส กระทั่งเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 เมษายน 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. แถลงข่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการกำหนด ‘พื้นที่ควบคุม’ ใหม่ 2 ระดับ รวมถึงการออกกฎห้ามจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ กำหนดเวลาเปิด-ปิด ของร้านอาหาร ผับ บาร์ ใหม่อีกครั้งตามแต่พื้นที่ควบคุม ด้วยความหวังว่า การควบคุมแบบไม่ล็อกดาวน์ ไม่เคอร์ฟิว ในครั้งนี้จะสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ในฐานะที่ความหวังของการฉีดวัคซีนยังต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการรู้จักวิธีการดูแลป้องกันตัวเอง ทั้งป้องกันไม่ให้ติดโรค และป้องกันไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่น THE STANDARD POP รวบรวมข้อมูลพื้นฐานมาให้ทำความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อให้คุณปลอดภัยท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่ในปีนี้ 

 

อย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ 

 

อ่านต่อบทความ ‘ไม่ล็อกดาวน์ ไม่เคอร์ฟิว แต่ยกระดับมาตรการเข้มพื้นที่สีแดง 18 จังหวัด ร้านอาหาร-ห้างปิดเวลา 21.00 น. ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน’ ได้ที่ https://thestandard.co/not-lock-down-do-not-curfew-raise-the-level-of-18-provinces-red-area/ 

 

 

ฉันติดหรือยังนะ ข้อแนะนำในการดูแลตัวเอง เมื่อผู้ติดเชื้อในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/am-i-infected-coronavirus/ 

 

 

ตาแดง มีผื่น น้ำมูกไหล อาการใหม่ของผู้ติดโควิด-19

  • ไวรัสที่ตรวจพบจากการระบาดตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวพันกับสายพันธุ์อังกฤษ หรือเรียกว่า B.1.1.7 
  • ไวรัสในครั้งนี้มีคุณลักษณะหลักคือ ‘ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ แต่ตรวจพบเชื้อจำนวนมาก ทำให้สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็ว’
  • ผู้ติดเชื้อในรอบนี้พบว่าแสดงอาการน้อยมาก จากเดิมที่ทางกระทรวงได้ให้คำแนะนำว่าผู้ติดเชื้อจะมีอาการ ‘ไข้ ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส’ ในรอบนี้พบอาการเพิ่มเติมคือ ‘มีอาการตาแดงนิดหน่อย น้ำมูกไหล บางรายไม่มีไข้ และมีผื่นขึ้น’

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/coronavirus-new-symptoms/ 

 

 

ผื่นโควิด-19 ต่างจากภูมิแพ้อย่างไร รู้จักผื่นทั้ง 6 ประเภท และผื่นขึ้นแค่ไหนถึงควรไปพบแพทย์

  • จากการเกิดผื่นทั้งหมด 6 ลักษณะ มีผื่นเฉพาะชนิดลมพิษ ผื่นแดงตามตัว และผื่นบริเวณนิ้วเท้า ที่พบมากที่สุดในกรณีของผู้ติดโควิด-19
  • ความแตกต่างคือ อาการลมพิษที่เกิดจากการติดโควิด-19 นั้น มักจะมีอาการทางระบบทางเดินหายใจตามมา ในขณะที่ COVID TOEs หรือผื่นขึ้นบริเวณนิ้วเท้า สามารถเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีอาการทางเดินหายใจ
  • สุดท้าย ทางที่ดีที่สุดคือเช็กให้แน่ชัดว่าคุณได้เดินทางไปอยู่ในจุดเสี่ยงหรือไม่ ผื่นอาการตามร่างกายเกิดขึ้นแตกต่างจากโรคประจำตัวหรือไม่ และหากผื่นตามมาด้วยอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจควรพบแพทย์ทันที 

 

อ่านต่อบทความได้ที่: https://thestandard.co/covid-19-and-skin-rashes/  

 

 

ตาแดงแบบไหนคืออาการแพ้ และแบบไหนคือสาเหตุจากการติดโควิด-19

  • หากคุณมีอาการตาแดง (มักเป็นสองข้าง) มีน้ำตา และคัน (อาการคันเด่น) นี่คืออาการของตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้
  • หากคุณมีอาการตาแดง (ข้างเดียวหรือสองข้าง) ไม่มีน้ำตาหรือมีเล็กน้อย มีขี้ตา ไม่คันเลย แต่มีไข้ และ/หรืออาการจากระบบทางเดินหายใจอื่นๆ นี่อาจจะเป็นอาการของตาแดงจากการติดโควิด-19 

 

หมายเหตุ: เราสามารถวินิจฉัยโรคโควิด-19 ได้จากการตรวจตาเพียงอย่างเดียว ทางที่ดีควรพิจารณาตามไทม์ไลน์ว่าได้เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือไม่ 

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/how-to-check-for-red-eye-symptoms/ 

 

 

ทำอย่างไรเมื่อทราบผลว่าติดโควิด-19

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/what-to-do-when-infect-coronavirus/  

 

 

COVID-19 Fact: รักษาในโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel สามารถเคลมประกันโควิด-19 ได้เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/covid-19-fact-field-hospital-and-hospitel/ 

 

 

โควิด-19 กับหญิงตั้งครรภ์ และข้อมูลที่คุณแม่ต้องศึกษา 

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/coronavirus-and-pregnant-women/ 

 

 

อยู่บ้าน Work from Home อย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19 

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/how-to-work-from-home-and-safe-from-covid-19/ 

 

 

วิธีการนับวัน ‘การกักตัว 14 วัน’ นับอย่างไร และเมื่อไรจะครบกำหนด

  • หลักการคือ ‘ผู้ป่วย’ แยกตัว 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการหรือตรวจพบเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ‘ผู้สัมผัสใกล้ชิด’ กักตัว 14 วัน หลังจากเจอผู้ป่วยวันสุดท้าย เพื่อสังเกตอาการ
  • คำอธิบายชาร์ต: เมื่อ A เริ่มมีอาการป่วย A วันที่เริ่มมีอาการจะนับว่าเป็นวันที่ 0 และจะเริ่มนับวันที่ 1 ในวันถัดไปต่อจนครบ 14 วัน ในกรณีนี้ A ตรวจพบเชื้อ และแยกไปรักษาที่โรงพยาบาลในวันที่ 3 
  • กรณีของ D: B, C และ D อยู่บ้านเดียวกัน นับจากวันที่ A ตรวจพบเชื้อ D แยกกักตัวจากคนอื่น เท่ากับว่า D สามารถเริ่มนับวันที่ 1 ได้เลยหลังจากวันที่ A ตรวจพบเชื้อ เท่ากับ 14 วันของ D สิ้นสุดลงในวันที่ 17
  • กรณีของ B และ C ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน เริ่มนับวันแรกหลังจากที่ A ตรวจพบเชื้อเช่นกัน แต่ต่อมา B ตรวจพบเชื้อในวันที่ 7 เท่ากับว่า B และ C เริ่มนับวันกักตัวใหม่ และเมื่อ B แยกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล เท่ากับว่าวันกักตัวของ B และ C จะจบลงเท่ากันคือตรงกับวันที่ 21

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/how-and-when-to-count-the-days-14-day-quarantine/ 

 

 

‘ไม่ล็อกดาวน์ ไม่เคอร์ฟิว’ เราใช้ชีวิตข้างนอกบ้านอย่างไรได้บ้าง

 

ประกาศ 16 เมษายน 2564 

 

อ่านต่อบทความได้ที่ https://thestandard.co/how-to-live-with-no-lockdown-and-curfew/ 

 

 

เบอร์ฉุกเฉินที่ควรรู้ รับมือโควิด-19

 

อัปเดตวันที่ 16 เมษายน 2564  

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising