×

‘ฟ้าทะลายโจร’ สมุนไพรไทยโลกสะเทือน แม้ไม่หยุด แต่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโควิด-19 [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
22.12.2020
  • LOADING...
‘ฟ้าทะลายโจร’ สมุนไพรไทยโลกสะเทือน แม้ไม่หยุด แต่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโควิด-19 [Advertorial]

ดูเหมือนว่าโลกเราจะคุ้นเคยกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 มากขึ้น โดยเฉพาะผลลัพธ์ดีขึ้นตามลำดับต่อการพัฒนาวัคซีน และเป็นโชคดีของประเทศไทยเมื่องานวิจัยสมุนไพรพื้นถิ่นอย่าง ‘ฟ้าทะลายโจร’ มีการค้นพบสารบางชนิดที่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของไวรัสในกลุ่มผู้ติดเชื้อได้ และถึงแม้จะไม่ใช่ตัวยารักษาโดยตรง แต่นั่นก็ดีเหลือเกินแล้วเมื่อเทียบกับเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาลอัดฉีดเข้าสู่แล็บวิจัยจากบริษัทผู้ผลิตยาชั้นนำของโลกที่ทุ่มทุนพัฒนาอย่างที่เป็นอยู่

 

เผยสรรพคุณหลักสารสกัดฟ้าทะลายโจร

จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีสาร ‘Andrographolide’ (แอนโดรแกรฟโฟไลด์) ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อสู้กับไวรัส ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ลดการแบ่งตัวของไวรัสภายในเซลล์ ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส ช่วยลดไข้ โดยเป็นหนึ่งในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (บัญชียาจากสมุนไพร) ใช้บรรเทาอาการไข้หวัด เจ็บคอ รักษาอาการท้องเสีย ไม่ติดเชื้อ สามารถใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้สูงอายุ แต่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยหากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วันแล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์

 

ข่าวร้ายระบบทางเดินหายใจ หนาวนี้ฝุ่นกลับมาผสมโรง 

การมาของเชื้อโควิด-19 ตอกย้ำความสำคัญระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ จนสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ ความน่ากังวลใจที่มากขึ้นล่าสุด นั่นคือปัจจัยเสริมอันเป็นข่าวร้ายต่อระบบทางเดินหายใจ ยิ่งเมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าประเทศไทยได้เริ่มต้นเข้าสู่ ‘ฤดูหนาว’ แล้วตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2563 อย่างเป็นทางการ และอย่างที่รู้กันดีว่าลมหนาวย่างเข้ามาเมื่อไร นั่นหมายถึงประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาหมอกควันและฝุ่นพิษที่เป็นของคู่กัน เนื่องจากความกดอากาศสูงมักแผ่ปกคลุม ทำให้อากาศจมตัว เป็นฝาชีปิดกั้นไม่ให้ฝุ่นระบายออกไป โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 ที่สามารถเข้าถึงระบบทางเดินหายใจของคนเราได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสมากนัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องดูแลเอาใจใส่สุขภาพกันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสวมใส่หน้ากากอนามัยถูกชนิด และการรับประทานยาอย่างเหมาะสม เมื่อมีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 

 

 

 

สารสกัดฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีสาร ‘แอนโดรแกรฟโฟไลด์’ ไม่น้อยกว่า 20 มิลลิกรัมเท่านั้น เพื่อการฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ 

อย่างที่บอกไปเป็นอะไรที่ค่อนข้างชัวร์ถึงสรรพคุณของฟ้าทะลายโจร ถึงขนาดยับยั้งการเติบโตของเชื้อโควิด-19 ให้กับผู้ติดเชื้อได้ ดังนั้นประสิทธิผลต่อการบรรเทาอาการอันเกิดจากโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ที่มีอาการทั่วไป เช่น อาการหวัด เจ็บคอ น้ำมูกไหลได้ทันที อย่างไรก็ตาม ปริมาณความเข้มข้นจากสาร ‘แอนโดรแกรฟโฟไลด์’ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักต่อการบรรเทาอาการ เนื่องจากตามปกติแล้วการรับประทานยาที่เป็นสมุนไพร ร่างกายคนเราต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ โดยแพทย์แนะนำว่าควรรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรเข้มข้นขนาด 20 มิลลิกรัมต่อแคปซูล เพื่อให้ได้รับสารสำคัญแอนโดรแกรฟโฟไลด์ประมาณ 80 มิลลิกรัมต่อวัน จึงถือเป็นปริมาณที่เหมาะสม    

 

สารสกัดฟ้าทะลายโจร ‘แอนดร็อกซิล’ การันตีคุณภาพเข้มข้น ไม่ทำให้ง่วง

ขณะที่ผู้คนต่างให้ความสนใจกับคุณประโยชน์ของสาร ‘แอนโดรแกรฟโฟไลด์’ กันมากขึ้น แต่อย่างที่เน้นย้ำไปแล้วว่าปริมาณการสกัดต้องมีความเข้มข้นพอเหมาะ แต่หลายคนยังคงเข้าใจผิด มโนเอาเองว่าทุกแบรนด์จะมีความเข้มข้นของสารแอนโดรแกรฟโฟไลด์เท่ากัน นั่นจึงเป็นเหตุให้บางครั้งการบรรเทาอาการไม่เกิดประสิทธิผลเท่าที่ควร แต่สำหรับสารสกัดฟ้าทะลายโจรของ ‘แอนดร็อกซิล’ การันตีมาตรฐานด้วยการมอบความเข้มข้นสูงสุดของสารแอนโดรแกรฟโฟไลด์ถึง 20 มิลลิกรัมในการบรรจุแต่ละแคปซูล ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสามารถช่วยลดจำนวนการรับประทานลง และยังไม่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการง่วงซึมอีกด้วย

 

นี่คือความมหัศจรรย์ของสมุนไพรไทยที่คนไทยได้รับประโยชน์ไปแบบเต็มๆ จากสรรพคุณการบรรเทาอาการของโรคตามที่กล่าวมาข้างต้น สำคัญไปกว่านั้นคือความเป็นตัวยาคุณภาพที่ทุกคนต่างเข้าถึงในราคาจับต้องได้ 


*หมายเหตุ ใบอนุญาตโฆษณาเลขที่ ฆท. 40627/2563
บริษัท แก้วมังกรเภสัช จำกัด ผู้ได้รับอนุญาตให้โฆษณายาชื่อแอนดร็อกซิล (G 492/61)

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising