×

กูลิโกะ สบช่องคนไทยรักสุขภาพ เปิดตัวนมอัลมอนด์แบรนด์ ‘อัลมอนด์ โคกะ’ เจาะตลาดที่กำลังทะยานสู่มูลค่า 3 พันล้านบาท

15.03.2023
  • LOADING...
กูลิโกะ อัลมอนด์ โคกะ

การที่คนไทยรักสุขภาพ ให้ความสำคัญกับการบริโภคนม Plant-based เพิ่มขึ้น ทำให้ ‘กูลิโกะ’ มองเห็นช่องวางในตลาด กลายเป็นที่มาของการเปิดตัวนมอัลมอนด์ภายใต้แบรนด์ ‘อัลมอนด์ โคกะ’ ซึ่งไทยเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่มีการวางขาย

 

แบรนด์ดังกล่าวไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่วางขายในแดนซามูไรได้ 8 ปีแล้ว โดยเกิดขึ้นหลังจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่วางจำหน่ายเพื่อเจาะตลาดสุขภาพ เช่น Pocky Wholesome บิสกิตแท่งผสมโฮลวีต, Sunao ไอศกรีมไม่เติมน้ำตาลทราย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

กูลิโกะอ้างว่า อัลมอนด์ โคกะ ไต่ขึ้นเบอร์ 1 ในญี่ปุ่นภายใน 1 ปี ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งกว่า 90% ต่อมาจึงขยายการจัดจำหน่ายไปยังจีนและไต้หวันเมื่อปี 2021 จนขึ้นเบอร์ 1 ได้เช่นเดียวกัน

 

สำหรับการเข้าสู่ไทยนั้นเกิดจากการมองเห็นกระแสสุขภาพที่คนส่วนใหญ่หันมาบริโภคนมอัลมอนด์ หรือนม Plant-based ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นเครื่องดื่มนมทางเลือก ส่งผลให้ตลาดนมอัลมอนด์ในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง

 

โดยตลาดนมซีเรียล (ไม่รวมนมถั่วเหลือง) ปี 2022 มีมูลค่ากว่า 960 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตไปสู่มูลค่า 3 พันล้านบาท ในปี 2026 อ้างอิงจาก Nielsen และ Euromonitor

 

“เราต้องการเจาะกลุ่มคนทั่วไปทุกเพศทุกวัย กลุ่มคนที่รักสุขภาพ ผู้ที่แพ้นมวัว และแพ้น้ำตาลแล็กโทสที่มีอยู่ในนมวัว” เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย กูลิโกะ จำกัด กล่าว

 

เบื้องต้นการทำตลาดพร้อมกันถึง 3 รสชาติ ได้แก่ สูตรออริจินัล สูตรไม่เติมน้ำตาล สูตรรสช็อกโกแลต ในขนาด 180 มิลลิลิตร มีราคาขายปลีกกล่องละ 25 บาท และจะเพิ่มขนาด 1 ลิตรภายในสิ้นปีนี้

 

เพื่อสร้างการรับรู้กูลิโกะได้ตั้ง ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่ มาเป็นพรีเซนเตอร์ เพราะมองว่าเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพและความงาม

 

“ภายใน 1 ปีเราต้องการติดท็อป 3 ของตลาดนมอัลมอนด์ ก่อนจะขยับขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในปีถัดไป”

 

ปัจจุบันแบรนด์กูลิโกะมี 3 กลุ่มสินค้าหลักในตลาดของไทย ประกอบด้วยกลุ่มขนม เช่น ป๊อกกี้, โคลลอน, เพรทซ์ กลุ่มไอศกรีม เช่น พาลิตเต้, ไจแอนท์ โคน และกลุ่มเพื่อสุขภาพ เช่น ซูนาโอะ, อัลมอนด์ โคกะ

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising