×

องค์การอนามัยโลกประกาศให้ โรคติดเกม เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง

19.06.2018
  • LOADING...

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 มิ.ย.) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่คู่มือวินิจฉัยและจัดประเภทของโรคระหว่างประเทศ (The International Classification of Diseases) ฉบับปรับปรุง 2018 หรือรู้จักกันดีในชื่อ ‘ICD-11’ โดยระบุให้ โรคติดเกม (Gaming Disorder) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่งที่ต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขในทางการแพทย์

 

 

ICD-11 ระบุว่า พฤติกรรมการติดเกม จะเข้าข่ายกลายเป็นความผิดปกติทางจิตได้จะต้องประกอบไปด้วย 3 ลักษณะอาการดังนี้ บุคคลนั้นไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเกมได้ การเล่มเกมถูกตั้งไว้ให้เป็นกิจกรรมหลักในแต่ละวัน โดยไม่สนใจสิ่งอื่นรอบๆ ตัว ซึ่งอาจรวมไปถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน รวมถึงบุคคลนั้นยังคงเดินหน้าที่จะเล่นเกมต่อไป แม้จะเริ่มมีผลกระทบด้านลบต่อตนเองก็ตาม

 

โดยพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย นอกจากนี้โรคติดเกมดังกล่าว อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติดต่างๆ ติดกัญชา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาเฟอีนหรือนิโคตินร่วมด้วย ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการของโรคมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

 

คำนิยามดังกล่าวขององค์การอนามัยโลกไม่ได้ต้องการที่จะสื่อว่า การเล่นเกมจะนำไปสู่การมีลักษณะอาการทางจิตเสมอไป การเล่นเกมเป็นเพียงคุณสมบัติข้อหนึ่งที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพทางจิตของผู้เล่น หากบุคคลนั้นเสพติดเกมมากจนเกินพอดี และส่งผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินชีวิต ครอบครัว สังคม การศึกษาและหน้าที่การงานอย่างมีนัยสำคัญ

 

ตัวแทนขององค์การอนามัยโลกเผยว่า 2 ใน 3 ของผู้เล่นเกมทั้งหมดทั่วโลกต่างเผชิญกับหนึ่งในลักษณะอาการต่างๆ ข้างต้น ในขณะที่ Dr. Mark Griffiths อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Nottingham Trent University ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมมานานกว่า 30 ปีระบุว่า โรคติดเกมดังกล่าวสร้างผลกระทบด้านลบน้อยกว่า 1% ของผู้เล่นเกมทั้งหมดทั่วโลก และมีจำนวนไม่น้อยที่มักจะแสดงอาการคล้ายคลึงกับโรคชนิดอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคสองบุคลิก รวมถึงโรคบกพร่องทางการสื่อสารและอารมณ์ เป็นต้น

 

นอกจากนี้ Bruce Lee ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสุขภาพ ประจำ Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health เปิดเผยว่า การเล่นเกมมีส่วนช่วยในการลดความตึงเครียด เพิ่มพูนทักษะในการแก้ไขปัญหาและฝึกประสาทสัมผัสความสัมพันธ์ระหว่างนิ้วมือและดวงตา ซึ่งมีเทคโนโลยีจำนวนมาก อาทิ VR ที่ระยะหลังเข้ามามีบทบาทในกระบวนการบำบัดสุขภาพจิตเป็นอย่างมาก

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising