×

ปภ. รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 33 จังหวัด ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเร่งระบายน้ำ

โดย THE STANDARD TEAM
21.10.2022
  • LOADING...

วานนี้ (20 ตุลาคม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ในช่วงวันที่ 16-20 ตุลาคม 2565 ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด 14 อำเภอ 38 ตำบล 172 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,898 ครัวเรือน

 

ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 5 จังหวัด รวม 11 อำเภอ 22 ตำบล 95 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,048 ครัวเรือน ส่วนผลกระทบจากฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ยังมีสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 28 จังหวัด 139 อำเภอ 818 ตำบล 5,381 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 400,731 ครัวเรือน

 

ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ภาพรวมมีแนวโน้มระดับน้ำลดลง ส่วนภาคกลางระดับน้ำยังคงทรงตัวในบางจังหวัด ทั้งนี้ ปภ. ได้ประสานจังหวัดดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และเร่งระบายน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ภัย

 

  1. ภูเก็ต น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง รวม 1 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง

 

  1. กระบี่ น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลเกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา รวม 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. สตูล น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมะนัง, อำเภอควนกาหลง, อำเภอละงู, อำเภอทุ่งหว้า, อำเภอท่าแพ และอำเภอเมืองสตูล รวม 15 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,918 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

  1. สงขลา น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอรัตภูมิ รวม 3 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 98 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ตรัง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง และอำเภอสิเกา รวม 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 31 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

สำหรับผลกระทบจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย รวมถึงความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน 

 

ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ตลอดจนมีการระบายน้ำจากเขื่อนลงแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง โดยช่วงวันที่ 28 กันยายน – 20 ตุลาคม เกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 59 จังหวัด 333 อำเภอ 1,673 ตำบล 10,271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 480,787 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 6 ราย 

 

ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในพื้นที่รวม 28 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์, ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, หนองบัวลำภู, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, นครปฐม, นครนายก, สระบุรี, ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 139 อำเภอ 818 ตำบล 5,381 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 400,731 ครัวเรือน แยกเป็น 

 

  1. พิษณุโลก น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม รวม 16 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,980 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม, อำเภอบึงนาราง, อำเภอเมืองพิจิตร, อำเภอตะพานหิน, อำเภอโพทะเล, อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอบางมูลนาก รวม 21 ตำบล 256 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,017 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. นครสวรรค์ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพยุหะคีรี, อำเภอโกรกพระ, อำเภอเมืองนครสวรรค์, อำเภอท่าตะโก, อำเภอเก้าเลี้ยว, อำเภอลาดยาว และอำเภอชุมแสง รวม 34 ตำบล 180 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,201 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น, อำเภอชนบท, อำเภอน้ำพอง, อำเภอโคกโพธิ์ไชย, อำเภอบ้านไผ่ และอำเภอแวงใหญ่ รวม 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. มหาสารคาม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม, อำเภอกันทรวิชัย, อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอเชียงยืน รวม 46 ตำบล 529 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,201 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. กาฬสินธุ์ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอร่องคำ, อำเภอฆ้องชัย, อำเภอกมลาไสย, อำเภอกุฉินารายณ์, อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ และอำเภอยางตลาด รวม 24 ตำบล 181 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,311 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ร้อยเอ็ด น้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพนทราย, อำเภอจังหาร, อำเภอเชียงขวัญ, อำเภอโพธิ์ชัย, อำเภอพนมไพร, อำเภอเสลภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภอหนองฮี, อำเภอทุ่งเขาหลวง และอำเภอสุวรรณภูมิ รวม 31 ตำบล 140 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,844 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. ยโสธร น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอค้อวัง, อำเภอคำเขื่อนแก้ว, อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 24 ตำบล 141 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 24 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย, อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง รวม 11 ตำบล 28 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,195 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสตึก, อำเภอคูเมือง และอำเภอลำปลายมาศ รวม 19 ตำบล 114 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,415 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. สุรินทร์ น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชุมพลบุรี, อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี รวม 20 ตำบล 91 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,246 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ, อำเภอกันทรารมย์, อำเภอราษีไศล, อำเภอยางชุมน้อย, และอำเภอศิลาลาด รวม 31 ตำบล 238 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,983 ครัวเรือน อพยพประชาชน 913 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 35 จุด มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ระดับน้ำลดลง

 

  1. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี, อำเภอวารินชำราบ, อำเภอสว่างวีระวงศ์, อำเภอตาลสุม, อำเภอดอนมดแดง, อำเภอสำโรง, อำเภอพิบูลมังสาหาร, อำเภอเขื่องใน และอำเภอสิรินธร รวม 35 ตำบล 260 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,631 ครัวเรือน อพยพประชาชน 281 ชุมชน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 107 จุด ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. หนองบัวลำภู น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสัง และอำเภอศรีบุญเรือง รวม 17 ตำบล 211 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 132 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. อุทัยธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุทัยธานี และอำเภอหนองขาหย่าง รวม 13 ตำบล 60 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,195 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท, อำเภอวัดสิงห์, อำเภอมโนรมย์, อำเภอสรรพยา, อำเภอหนองมะโมง, อำเภอหันคา, อำเภอเนินขาม และอำเภอสรรคบุรี รวม 39 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10,933 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. สิงห์บุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภออินทร์บุรี, อำเภอเมืองสิงห์บุรี, อำเภอท่าช้าง, อำเภอพรหมบุรี, อำเภอบางระจัน และอำเภอค่ายบางระจัน รวม 24 ตำบล 145 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,575 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ, อำเภอป่าโมก, อำเภอไชโย, อำเภอเมืองอ่างทอง, อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา รวม 46 ตำบล 252 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,423 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. พระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา, อำเภอผักไห่, อำเภอบางบาล, อำเภอบางไทร, อำเภอบางปะอิน, อำเภอพระนครศรีอยุธยา, อำเภอบางปะหัน, อำเภอท่าเรือ, อำเภอนครหลวง, อำเภอมหาราช, อำเภออุทัย, อำเภอวังน้อย, อำเภอภาชี, อำเภอบ้านแพรก และอำเภอบางซ้าย รวม 160 ตำบล 1,047 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 78,073 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 62 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,619 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. นนทบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากเกร็ด, อำเภอเมืองนนทบุรี, อำเภอบางใหญ่, อำเภอบางกรวย และอำเภอบางบัวทอง รวม 42 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 110,056 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ลพบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี และอำเภอบ้านหมี่ รวม 14 ตำบล 63 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,848 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. สุพรรณบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง รวม 43 ตำบล 271 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 26,105 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว

 

  1. นครปฐม น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครปฐม, อำเภอกำแพงแสน, อำเภอดอนตูม และอำเภอพุทธมณฑล รวม 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 323 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง

 

  1. นครนายก น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอองครักษ์ รวม 110 ตำบล 94 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,572 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง 

 

  1. สระบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองโดน, อำเภอบ้านหมอ, อำเภอเสาไห้ และอำเภอดอนพุด รวม 21 ตำบล 110 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5,359 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี, อำเภอเมืองปราจีนบุรี, อำเภอประจันตคาม, อำเภอศรีมหาโพธิ, อำเภอบ้านสร้าง และอำเภอศรีมโหสถ รวม 21 ตำบล 125 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 12,980 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

 

  1. ฉะเชิงเทรา น้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม, อำเภอราชสาส์น, อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และอำเภอคลองเขื่อน รวม 15 ตำบล 98 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,370 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising