×

ที่ปรึกษาด้านสื่อสาร ศบค. ชี้แจงปมสัญญาซื้อ Moderna ไม่ล่าช้า ยังเป็นไปตามแผน ต้องเจรจาต่อรองไม่ให้ไทยเสียเปรียบ

โดย THE STANDARD TEAM
03.07.2021
  • LOADING...
moderna

วันนี้ (3 กรกฎาคม) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้เผยแพร่สรุปย่อคำแถลงของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ผ่านทาง Facebook เกี่ยวกับประเด็นวัคซีนโควิดโดยระบุว่า 

 

Moderna 

  • กุมภาพันธ์ 2564 ประเทศไทย โดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ติดต่อ Moderna โดยต้องจัดซื้อผ่านผู้แทนรัฐบาล คือ อภ. เท่านั้น โดยให้บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งเป็นนโยบายของ Moderna กับทั่วโลก 

 

  • ยอดเจรจาขอจัดสรร 5 ล้านโดส ซึ่งตอนแรกมีการต่อรองว่าจะได้ต้นปี 2565 แต่ต่อมา อภ. ต่อรองได้เป็น Q4 ได้ 4 ล้าน และที่เหลือต้นปีหน้าอีก 1 ล้าน 

 

  • เนื่องจาก Moderna เป็นวัคซีนทางเลือก รัฐไม่ได้จัดซื้อ จึงจำเป็นต้องนำเงินของเอกชนให้ อภ. ไปจ่ายล่วงหน้า (มัดจำ) แต่ที่ใช้เวลาคือการรวบรวมคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ ซึ่งยอดไม่แน่นอน ต้องให้กลับไปเคลียร์กันจนยอดนิ่งก่อนถึงจะทำการ ‘เซ็นสัญญา’ กันได้ 

 

  • การตรวจสอบสัญญาต่างๆ เงื่อนไข ข้อยกเว้นการรับผิดและอื่นๆ ที่ผู้อำนวยการ อภ. ชี้แจงว่า เพิ่งได้รับมาจากทางบริษัทเมื่อวานนี้ และได้ส่งไปที่สำนักอัยการสูงสุดทันทีเพื่อให้พิจารณา ซึ่งตามกำหนดการเดิมก็คือคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนสิงหาคม ไม่ได้ล่าช้าไปกว่าแผนเดิมเลย และวัคซีนก็จะมา Q4 ไม่ได้มาตอนนี้ 

 

Pfizer

ส่วนกรณี Pfizer รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า รัฐบาลจะเป็นผู้จัดซื้อโดยตรง ซึ่งก็ได้สั่งซื้อไป 20 ล้านโดสตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 แล้ว โดยมีการลงนามข้อตกลงไม่เปิดเผยข้อมูล (Confidential Disclosure Agreement) (ซึ่งบริษัทวัคซีนทุกแห่งก็ต้องมีแบบนี้ ทำให้รายละเอียดเรื่องการส่งมอบเปิดเผยได้ค่อนข้างน้อย) และลงนามข้อตกลงแบบผูกพันทางกฎหมาย (Binding Term Sheet) (ซึ่งอาจจะเรียกง่ายๆ ว่าใบจองก็ได้) ไปเมื่อเดือนที่แล้ว ก็เหลือแต่ ‘สัญญาซื้อ’ ที่ยังไม่ได้เซ็น ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขอย่างรอบคอบเช่นเดียวกับ Moderna ไม่ให้ไทยเสียเปรียบมากเกินไป ซึ่งทางสำนักอัยการสูงสุดได้ตรวจสอบแล้ว และจะเสนอเข้า ครม. ให้อนุมัติในวันอังคารนี้ ถึงจะดำเนินการ ‘เซ็นสัญญาสั่งซื้อ’ ได้ ซึ่งเดิมของ Pfizer นั้น ได้รับคำตอบว่าจะได้รับประมาณจะส่งให้ได้ Q3 แต่ล่าสุดได้รับแจ้งว่า Pfizer ขอเลื่อนไปเป็น Q4 เหมือนกัน ซึ่งก็คงกำลังต่อรองกันอย่างเต็มที่เหมือนกันว่าจะได้เร็วกว่านี้หรือไม่ หรือได้มาได้บางส่วนก่อนหรือไม่

 

การจัดหาวัคซีนและยาเพิ่มเติม

ผู้อำนวยการ อภ. ชี้แจงว่า ไทยยังได้ติดต่อเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนหลายๆ บริษัท โดยเฉพาะวัคซีนเทคโนโลยีใหม่ที่ทำจาก Protein Subunit ที่ตอนนี้ถือว่าดีที่สุด ประสิทธิภาพดีกับเชื้อกลายพันธุ์และผลข้างเคียงน้อย (เช่น Novavax) แต่ก็เป็นที่ต้องการของทุกประเทศทั่วโลกเช่นกัน 

 

นอกจากนั้นก็ยังจะติดตามและสั่งจองยา (โดยเฉพาะ Molnupiravir ยาตัวใหม่ของเยอรมนีที่ผลการทดลองดีมาก) ติดตามและรายงานอย่างต่อเนื่องตลอดมาทั้งองค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข และ ศบค. 

 

สรุป

คำกล่าวที่ว่า รัฐ ‘ไม่ยอมเซ็นสัญญา’ จึงไม่น่าจะเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง แต่เรา ‘ยังไม่ได้เซ็นสัญญา’ เพราะอยู่ในกระบวนการตรวจสอบเอกสารและการเจรจาต่อรองไม่ให้เราเสียเปรียบมากที่สุด และการรวบรวมเงินค่าวัคซีน (กรณี Moderna) ซึ่งมาจากการลงทะเบียนของโรงพยาบาลเอกชนที่ให้ประชาชนลงทะเบียน ซึ่งต้องใช้เวลาแน่นอน และความรอบคอบนี้ก็ไม่ได้ทำให้การจัดส่งนั้นล่าช้าออกไปแต่อย่างใด 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising