×

สารพันการเดินทางของคนกรุง ที่ครบครันด้วยปัญหาและราคาที่ไม่ตอบโจทย์ชีวิต

โดย THE STANDARD TEAM
02.12.2022
  • LOADING...
สารพันการเดินทางของคนกรุง

วันนี้ (2 ธันวาคม) ทีม THE STANDARD ลงพื้นที่ตั้งแต่บริเวณหมอชิต ห้าแยกลาดพร้าว สะพานตากสิน เพื่อสำรวจระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบที่ให้บริการประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งรถไฟฟ้า BTS, รถแท็กซี่, รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง, รถจักรยานยนต์แพลตฟอร์ม, รถสองแถว และเรือโดยสารข้ามฟาก

 

ทำไมวันนี้ทีม THE STANDARD ถึงได้หยิบยกประเด็น ‘การขนส่งมวลชน’ ขึ้นมาพูดถึง นั่นก็เพราะในแต่ละวันกิจวัตรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และต้องยอมรับว่าพรากเอาเวลาและความสุขไปได้มากเป็นลำดับต้นๆ นั่นก็คือการเดินทาง ไม่ว่าจะปัญหารถติดที่คนไทยครองแชมป์ หรือสถิติการใช้เวลาของคนไทยบนท้องถนนที่ถูกเฉลี่ยมาแล้วว่ามากเกินความจำเป็นจะถูกนำมาพูดถึงเสมอ แต่ความจริงแล้วปัญหาเรื่องการเดินทางยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายหัวข้อที่ต้องการทางออก

 

‘รถไฟฟ้า BTS’ ประกาศเตรียมปรับราคาค่าโดยสารสำหรับเส้นทางสัมปทาน 24 สถานี จากราคา 16-44 บาท เป็น 17-47 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป เรื่องนี้เป็นข่าวใหญ่ในวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะแน่นอนว่าคนอีกมากมายที่ใช้บริการระบบขนส่งดังกล่าว จำเป็นต้องวางแผนการเดินทางใหม่ คำนวณความคุ้มค่าเพราะราคาที่ขยับขึ้นมีผลต่อค่าครองชีพของพวกเขาวันต่อวัน

 

ต่อมาทางกรุงเทพมหานคร (กทม.)โดย วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ได้ออกมาขอให้ทางบริษัท ขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ชะลอการปรับค่าโดยสารออกไปก่อน โดยขอให้บริษัทฯ คำนึงถึงความเดือดร้อนและภาระของประชาชนโดยรวม และขอให้ชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอปรับค่าโดยสารที่เรียกเก็บ

 

ย้อนไปเมื่อปี 2564 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับการใช้บริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า

 

เรื่องสำคัญที่สุดที่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการขนส่งมวลชนมีความต้องการ คือราคาค่าโดยสารขนส่งมวลชนทุกระบบรวมกันต้องไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ หรือ 33 บาทต่อวัน มีร้อยละ 47.1 อันดับที่สอง คือความสะดวกในการเข้าถึงสถานีและเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนได้ไม่ติดขัด ร้อยละ 43.1 และอันดับที่สาม คือการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทุกสายเพื่อลดค่าแรกเข้าเหลือครั้งเดียว ร้อยละ 41.6

 

อย่างไรก็ตาม ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ต่างก็มีปัญหาที่หลากหลายและแอบซ้ำซาก ไม่ว่าจะเป็นรถแท็กซี่ที่ยังมีเรื่องคงค้าง เช่น การเลือกรับผู้โดยสาร มิเตอร์ไม่ได้มาตรฐาน คนขับมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อผู้โดยสาร รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างกับปัญหาการตกลงราคาค่าโดยสารที่เป็นไปตามความพึงพอใจของคนขับ การละเมิดกฎจราจรที่ทำให้คนซ้อนต้องเสี่ยงภัย และเรื่องของวินเจ้าถิ่นที่มีผลอย่างมากกับรถจักรยานยนต์แพลตฟอร์ม

 

จากผลสำรวจก่อนหน้านี้ยังมีการพูดถึงประเภทของขนส่งมวลชนที่ถูกใช้ โดยรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) ใช้มากที่สุด ร้อยละ 68 อันดับที่สอง คือรถไฟฟ้า ร้อยละ 45.5 อันดับที่สาม คือรถจักรยานยนต์รับจ้าง ส่วนความถี่ในการใช้บริการคือ 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 23, อันดับที่สอง 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 22.5 และอันดับที่สาม คือใช้ทุกวัน

 

สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง สารพันการเดินทางของคนกรุง

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising