×

กลุ่มราษฎร ปักธง เตรียมรวบรวมหมื่นชื่อ-ยื่นสภา ขอยกเลิก ม.112 เริ่มนับหนึ่ง #ม็อบ31ตุลา ที่แยกราชประสงค์

24.10.2021
  • LOADING...
assembly-311064

วันนี้ (24 ตุลาคม) กลุ่มราษฎรแถลงข่าวในชื่อ ‘ราษฎรประสงค์ ยกเลิก 112’ ที่บริเวณหน้าลานศาลฎีกา โดยมีแกนนำกลุ่มราษฎร เช่น มายด์-ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, สมยศ พฤกษาเกษมสุข และ ลูกนัท-ธนัตถ์ ธนากิจอำนวย มาร่วมกันแถลง

 

ใจความสำคัญของการแถลงวันนี้คือการอ่านแถลงการณ์ที่ระบุว่าเป็นการชี้ถึงปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำนวน 10 ข้อ ดังนี้

 

  1. มาตรา 112 ใครแจ้งความก็ได้ เนื่องจาก มาตรา 1 12 อยู่ในหมวดความนั่นคงแห่งรัฐ ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเป็นผู้กล่าวโทษในคดีได้ และนำไปสู่การฟ้องกลั่นแกล้งกัน

 

  1. มาตรา 112 มีอัตราโทษสูง เนื่องจาก มาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุกไว้ที่ 3 ถึง 15 ปี ซึ่งเป็นอัตราโทษเดียวกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา และมีโทษสูงสุดสูงกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทบุอคลธรรมดาหลายเท่า

 

  1. มาตรา 112 ไม่มีชอบเขตชัดเจน เนื่องจาก มาตรา 112 ได้รวมทั้งการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย เข้ามาเป็นความผิดในมาตราเดียวกัน ทำให้ยากต่อการตีความขอบเขต

 

  1. มาตรา 112 ไม่คุ้มครองการติชมโดยสุจริต เนื่องจาก มาตรา 112 ไม่มีการคุ้มครองการแสดงความคิดเห็นที่เป็นการติซมสุจริต หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งโดยหลักแล้วต้องได้รับการคุ้มครอง

 

  1. มาตรา 112 มีการบังคับใช้อย่างความกว้างขวาง เนื่องจากมาตรา 112 มีบทบัญญัติที่ไม่ได้ให้ขอบเขตที่ชัดเจน ทำให้เกิดการตีความบังคับใช้อย่างกว้างขวาง

 

  1. มาตรา 112 ทำให้เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ เนื่องจาก มาตรา 12 อยู่ในหมวดความมั่นคงแห่งรัฐ ทำให้กระบนการยุติธรรมไม่กล้าปกป้องสิทธิผู้ต้องหา เช่น การให้สิทธิ์ในการประกันตัว

 

  1. มาตรา 112 ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้ เนื่องจาก จำเลยคดีมาตรา 112 จำบวนมากจะไม่ได้ประกันตัวในระหว่างการพิจารณาแล้ว การแสวงหาพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมักเป็นไปได้ยาก และนำไปสู่ภาวะจำยอมรับสารภาพ

 

  1. มาตรา 112 มีโทษหนักเบาตามสถานการณ์การเมือง เนื่องจากมาตรา 112 เป็น ‘คดีนโยบาย’ ที่แปรผันตามผู้มีอำนาจรัฐ ซึ่งชัดต่อหลักการปกครองด้วยกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม

 

  1. มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสังคม เนื่องจาก ปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้มาตรา 112 ได้นำไปสู่บรรยากาศการแห่งความกลัวในการใช้เสริภาพในการแสดงออก

 

  1. มาตรา 112 สร้างผลกระทบต่อสถาบันฯ เนื่องจากปัญหาของตัวบทและการบังคับใช้มาตรา 112 จึงส่งผลให้การวิพากษ์วิจารณ์หรือการติชมโดยสุจวิตต่อสถาบันทำไม่ได้ หรือตรวจสอบไม่ได้

 

“ภาคประชาชนในนามกลุ่มราษฎร จึงมีความประสงค์ในการเชิญชวนประชาชนให้มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์และขับเคลื่อนให้มีการยกเลิกมาตรา 112 เพื่อสร้างบรรทัดฐานสิทธิเสรีภาพตาม หลักประชาธิปไตยสากล โดยทางกลุ่มราษฎรจะใช้สิทธิตามรัฐรรมนูญ ทำกิจกรรมเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือการลงลายมือชื่อของสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอร่างกฎหมายยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อสภา” ส่วนหนึ่งของแถลงการระบุ

 

ปนัสยา กล่าวทิ้งท้ายว่า ในวันที่ 31 ตุลาคม 2564 ที่แยกประสงค์ จะเป็นวันเริ่มต้นก้าวแรกของการรณรงค์เพื่อยกเลิก มาตรา 112 และกฎหมายหมิ่นประมาทอื่นๆ ที่มีโทษจำคุก จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันที่แยกราชประสงค์และเข้าชื่อยกเลิกมาตราดังกล่าว

 

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

assembly-311064

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising