×

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) แพทย์ความงามผู้เข้าถึงใจคนไข้ดั่งนักจิตเวช

25.04.2025
  • LOADING...
Prae Thirada aesthetic-doctor

ความสุขจากการดูแลรักษาความเจ็บป่วยและฟื้นฟูสุขภาพของเพื่อนมนุษย์คือความทรงจำอันงดงามที่ประทับอยู่ในใจ หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170) ตั้งแต่วันแรกที่เธอสวมชุดกาวน์ แต่เมื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ในฐานะแพทย์ด้านความงามอย่างเต็มตัว เธอได้พบโลกอีกใบที่เปี่ยมด้วยความหมายและความสวยงามไปอีกแบบ

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

หมอแพรค้นพบว่า การดูแลด้านความงามนั้นเป็นการเดินทางที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนยิ่งกว่า เป็นการตอบสนองความปรารถนาที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความต้องการที่จะดูดีขึ้น  และการทำความเข้าใจความรู้สึก ความคาดหวังของคนไข้แต่ละรายนั้น ก็ไม่ต่างจากการทำงานของแพทย์จิตเวชที่ต้องเข้าถึงเบื้องลึกของจิตใจ เพื่อเติมเต็มสิ่งที่คนไข้มองหา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การได้ช่วยให้ทุกคนที่เข้ามานั้นสวยและดูดีที่สุดในแบบฉบับของตนเอง เช่นเดียวกับแนวคิดอันเป็นหัวใจของ Romrawin อย่าง ‘For the Better You’

เบื้องหลังรอยยิ้มแห่งความสุขและความมั่นใจบนใบหน้าของคนไข้นั้น หมอแพรต้องเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใดบ้าง ค้นพบเรื่องราวและแรงบันดาลใจของเธอได้ใน Passion Calling x Romrawin with Dr.Prae Thirada

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

พอมาทำด้านความงาม หมอแพรรู้สึกว่าแตกต่างจากการเป็นแพทย์ทั่วไปมากไหม 

 

หมอแพร: ถ้าการรักษาโรคส่วนใหญ่ เวลาเจอคนไข้ที่ป่วยมาแล้วเราก็ดูแลเขา ทำให้เขาดีขึ้น อาจจะมีข้อคำแนะนำต่างๆ ที่ทำอย่างไรให้โรคมันไม่หนักขึ้น หรือไม่เป็นมากขึ้น แต่สำหรับความงามบางคนไม่ได้มาด้วยการที่มีโรคมาแล้ว เขาจะมาด้วยความที่เขาจะดีกว่าเดิมได้อย่างไร จะสวยกว่าเดิมได้อย่างไร มันก็เป็นสิ่งที่เราก็ต้องค้นหา แล้วก็ต้องคุยกัน เป็นเรื่องของการ Consult ค่อนข้างเยอะมากๆ ว่าเรามีความต้องการตรงกันไหม คนไข้อาจจะอยากสวยแบบหนึ่ง แต่หมอก็มองว่าแบบนี้อาจจะเหมาะกว่า ซึ่งมันก็ต้องเป็นการจูนกันมากกว่า เพราะฉะนั้นการทำงานก็เลยแตกต่างกันค่ะ

 

เราต้องเข้าไปในใจคนไข้เยอะพอสมควร

 

หมอแพร: ใช่ เราต้องเข้าใจจิตใจเขาว่าสิ่งที่เขากังวลมันคืออะไร ไม่เหมือนการรักษาโรคเนอะ โรคก็คือป่วยมาแล้ว เรื่องของ Aesthetic เป็นเรื่องที่ได้เรียนรู้อีกในหลายๆ มิติ การทำงานกับคนไข้เนี่ย มันไม่ใช่แค่ว่าเดินมา แล้วเราก็จิ้มๆ กลับบ้าน หรือว่าจ่ายยากลับบ้าน มันเป็นการดูแลระยะยาว

 

จะว่าไปเหมือนหมอด้านสุขภาพจิตเลย 

หมอแพร: ใช่ค่ะ มีคนไข้เคยพูดว่า หมอเป็นคนที่ทำให้เขามีความสุขกับการที่เขาดูดีขึ้น เพื่อนรอบข้างชม ทำอะไรมา สวยขึ้นเนอะ หมอเป็นเหมือนหมอจิตเวชคนหนึ่งของพี่เลยอะไรอย่างนี้ เราก็รู้สึกว่า เออ เราไม่ได้เรียนจิตเวชนะ แต่เราก็สามารถทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้นในอีกมิติหนึ่งได้

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

รู้สึกอย่างไรที่ได้ยินคนไข้พูดแบบนั้น

 

หมอแพร: รู้สึกดีใจนะ รู้สึกว่าต่อให้เราไม่ได้เป็นหมอผ่าตัดหรือปั๊มหัวใจคนไข้ขึ้นมา  แต่ว่าเราก็เป็นการดูแลคนไข้ในอีกแบบหนึ่ง ก็มีความภูมิใจในสิ่งที่เราทำอยู่ เราทำให้เขามีความสุข มันคือสิ่งที่สวยงามของโลกใบนี้ เพราะคนที่อยู่ร่วมกัน แล้วช่วยกันให้แต่ละคนมีความสุขได้ มันก็เป็นสิ่งที่ดี 

 

มีเคสไหนที่หมอแพรรู้สึกประทับใจไม่มีวันลืมเลยบ้างไหม

 

หมอแพร: จริงๆ ก็เป็นเคสนี้แหละ ที่เขาพูดถึงเรื่องจิตเวช เพราะเราก่อนหน้านั้นก็ไม่เคยคิดนะ ว่าเราเป็นหมอที่จะดูแลทางด้านดูแลจิตใจขนาดนั้น คือเราแค่มาแล้วก็ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ แต่ว่าสุดท้ายมันกลายเป็นว่า มันอาจจะเติมเต็มอะไรบางอย่างในชีวิตเขาก็ได้ บางคนอาจจะมีปมในใจบางอย่าง ที่รู้สึกว่าอันนี้มันเป็นปัญหาเขามากเลย แต่พอเราแก้ได้มันกลายเป็นว่า เขารู้สึกขอบคุณที่ทำให้เขามาถึงจุดนี้ได้ 

 

เมื่อครู่เป็นเคสที่ประทับใจ มีเคสไหนที่รู้สึกท้าท้ายที่สุดบ้างไหม 

 

หมอแพร: มันก็จะมียาก 2 อย่าง ยากอย่างแรกก็คือ ยากจากการเปลี่ยน เปลี่ยนความต้องการจากเดิมที่เขามาด้วยโจทย์ที่ยากมาก เช่น การอยากสวยแบบโมเดลคนหนึ่งในเกาหลีอะไรอย่างนี้ ซึ่งอันนั้นน่ะ ยาก ยากตั้งแต่การ Consult แล้ว ต้องคุยให้รู้เรื่องก่อนว่าหมอไม่สามารถทำได้ อะไรที่หมอทำได้หมอก็จะ Commit ว่าเราทำได้ แต่อะไรที่ทำไม่ได้ เราก็ต้องยอมรับตรงๆ ว่าเราอาจจะทำได้แค่นี้ ซึ่งเขาโอเคไหม 

ความต้องการในเรื่องของความสวยเนี่ยมันไม่มีขีดจำกัด สวยของคนไข้กับสวยของหมอก็ไม่เหมือนกัน คนไข้จะชอบถามว่า จะดีขึ้นได้กี่เปอร์เซ็นต์ คำว่าเปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่ตอบไม่ได้เลย เพราะว่าเปอร์เซ็นต์คนไม่เท่ากัน 

อันที่ 2 ก็คือถ้าเป็นคนไข้ที่มีความผิดปกติในการคาดหวังอยู่แล้ว ที่เป็นกลุ่ม Body Dysmorphic มันก็เป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง ซึ่งอันนี้เราก็ต้องพยายามดูให้ออกว่าเขาเป็นคนกลุ่มนั้นหรือเปล่า ถ้าเป็นคนกลุ่มนี้ แปลว่าเขาจะไม่มีความพอใจในความสวย เราทำให้สวยแหละ คนอื่นมองว่าสวยแหละ แต่ว่าคนไข้อาจจะบอกไม่ ไม่พอใจ ไม่สวย กลุ่มนี้หมอก็จะหลีกเลี่ยง ก็จะแนะนำว่า อาจจะไปหาหมอท่านอื่น หรือว่าลอง Consult หลายๆ ที่ดูก่อน ก็จะปลอดภัยกับทุกๆ ฝ่ายมากกว่า

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

อย่างที่หมอแพรบอกว่า สวยเรากับสวยเขาก็ไม่เหมือนกัน อยากรู้ว่านิยามความสวยในแบบของหมอแพรคือแบบไหน

 

หมอแพร: ถ้าความสวยในมุมเรา ที่คิดว่าสวยแล้วคือ ภายในเราต้องสวยด้วยทัศนคติในการใช้ชีวิตแต่ละวัน  เพราะว่ามิติความสุขในชีวิตมันไม่ใช่แค่ความสวยจากหน้าตา มันรวมทั้งครอบครัว  การออกกำลังกาย การที่ได้มีเวลาไปใช้ชีวิต ทำในสิ่งที่เราอยากทำ เราก็จะรู้สึกว่าเรามีความเติมเต็มในชีวิตที่เราเกิดมาหนึ่งชีวิตละ 

ส่วนความสวยในรูปแบบภายนอกเนี่ย เราก็เติมเต็มในจุดที่มันพร่องไป ดูแลให้มันไม่ไปเกินอายุเรา แล้วที่สำคัญก็ต้องมีความสุขในทุกๆ วันด้วย

 

อย่าไปโฟกัสที่ภายนอกอย่างเดียว 

 

หมอแพร: ใช่ ฉันอยากจะมีปากแบบคนนั้นหรือว่าตาต้องเป็นแบบนั้น แต่บางทีรวมกันมันก็ไม่สวยนะ หรือแม้แต่หน้าแบบสวยมาก แบบอาจจะเหมือนถอดแบบมาจากนางแบบเลย แต่ว่าในใจเรามันไม่มีความสุข บางคนมองก็จะรู้ว่า เรามีความทุกข์อะไรบางอย่าง ต่อให้หน้าสวย แต่ว่าเราไม่อยากคุยด้วยเพราะรู้สึกว่าไม่สดใส  

 

เชื่อว่ามีกรณีคนไข้ที่ยังไม่เคยได้ทำหัตถการอะไรมาก่อนแล้วมีความกลัว กังวลกับทุกสิ่งมากเป็นพิเศษ หมอแพรรับมือกับคนไข้ประเภทนี้อย่างไร 

 

หมอแพร: ก็คงต้องคุยก่อนว่าจุดที่ทำให้เขาเดินมาในคลินิกเนี่ยคืออะไร สมมติร่องนี้มีเป็น 10 ปีแล้ว อะไรที่มันทำให้เขาต้องเดินมาทำ คือเหมือนอาจจะหาแรงจูงใจของเขาก่อน แล้วหาว่าเครื่องมืออะไรที่จะตอบเขาได้ 

 

ก็จะมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งที่ทำทุกอย่างได้เลย เปิดใจกันหมด จะทำ จะฉีด จะเครื่องอะไรได้หมด กับอีกกลุ่มหนึ่งก็คือยังไม่เคยทำอะไรมาเลย ขอแบบเริ่มต้นเล็กๆ ก่อน หมอก็เข้าใจค่ะ เพราะว่าทุกคนมันไม่ได้เดินมา แล้วก็แบบอยากจะโดนเข็มอะไรอย่างนี้ 

จริงๆ หมอก็จะคุยกับคนไข้อยู่แล้วว่า สิ่งสำคัญของการที่ดูแลหน้าให้ดีในระยะยาว มันไม่ใช่การฉีดอย่างเดียว เพราะว่ามันคือเหมือนแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วยซ้ำ แต่ต้นเหตุคือ คุณนอนดีไหม ออกกำลังกายสม่ำเสมอไหม เรื่องของความเครียดพวกนี้ก็มีผล เรื่องของ Aging เกิดจากสิ่งเหล่านั้นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ก็เป็นเรื่อง 6 เสาหลักของ Lifestyle Medicine ในยุคนี้

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

เพราะฉะนั้นถ้าเขาอยากให้หน้าดูดีขึ้นแล้วระยะยาวไม่เสื่อมโทรมลงเร็ว มิติอื่นเขาก็ดูด้วย แต่ว่าวันนี้หมอจะช่วยมิติที่เราทำได้เลย ผลบางอย่างมันอาจจะเห็นเลย บางอย่างก็อาจจะต้องรอหน่อย และการบำรุงเนี่ย สำคัญมากๆ นะคะในทุกๆ วัน หมอจะมีตัวช่วยในแง่ที่ว่าเรามาทำเป็นครั้งคราว เพราะบางอย่างบำรุงทำไม่ได้ เดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องเยอะแยะมากมาย ที่ช่วยยกชั้นลึกด้วย ชั้นตื้นด้วย การเติมเต็มบางอย่าง หรือการกระตุ้นพวกคอลลาเจน อิลาสตินต่างๆ  

 

บางคนก็มาแบบพี่ไม่อยากทำอะไรเยอะ ไม่อยากให้คนเห็นเปลี่ยนอะไรเยอะ แต่อยากแค่ดูดีขึ้น ก็เริ่มจากการทำเครื่องก่อนค่ะ แต่สุดท้ายก็คือครบทุกอย่างที่คลินิกมีแล้วเขาก็แฮปปี้มาก แล้วก็บอกว่า  ไม่รู้มาไกลกันได้ขนาดนี้ จากจุดเริ่มต้นคือไม่ได้อยากทำอะไรมาก 

 

ก็สนุกดี รู้สึกมีความสุขกับการที่เราได้เห็นเขาสวยขึ้นในทุกๆ ครั้งที่เจอกัน  มันก็เหมือนฮีลใจเราด้วย เพราะเราก็อยากให้เขาดูดี เขาก็มาบอกเราว่า  ขอบคุณนะที่เราทำให้เขาดูดีขึ้น ก็มีความสุขไปด้วยกันค่ะ

 

โดยส่วนตัวแล้ว หมอแพรชอบทำดูแลตัวเองอย่างไรเป็นพิเศษ

หมอแพร: หมอเป็นคนชอบบำรุงอยู่แล้ว แต่สิ่งที่บำรุงทำไม่ได้ก็คือหัตถการบางอย่าง เช่น กลุ่มยกกระชับ เราก็ใช้เครื่องอย่างน้อยก็ประมาณ 6-8 เดือนครั้ง หรือหนึ่งปีครั้ง ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องของการเติมเต็มบางอย่าง เช่น Hyaluronic Acid  หรือว่าเป็นกลุ่ม Biostimulator ที่ช่วยในเรื่องของการกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิว พออายุเยอะขึ้น มันก็ทำให้คอลลาเจนกับอีลาสตินมันเสื่อมตามกาลเวลาอยู่แล้ว เราก็อาจจะใส่กลุ่มพวกนี้เพื่อไปเสริมทำให้ผิวมันแน่นด้วยตัวเองได้บ้าง 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

เชื่อว่าจริงๆ พอหมอดูแลตัวเองออกมาได้ดี มันก็สะท้อนออกมาเป็นความมั่นใจให้กับคนไข้ 

หมอแพร: ใช่แล้ว ส่วนใหญ่คนไข้มา Consult ก็คืออยากได้หน้าแบบหมอ  เราก็มั่นใจในการตอบเขาได้ว่า เราเป็นอย่างนี้ได้เพราะอะไร เราดูแลอย่างไรมาบ้าง 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

จากประสบการณ์ 15 ปี ในแวดวงการแพทย์และความงาม หมอแพรได้เรียนรู้อะไรบ้าง

หมอแพร: แพทย์ด้านความงามเนี่ย มันเป็นอะไรที่เรารู้สึกว่ามีอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเรื่องความรู้ การอัปเดตเทคโนโลยี ยาหรือเครื่องมือต่างๆ มันก็ทำให้เราได้พัฒนาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา งานประชุมคือเยอะมากจริงๆ เพราะเราจะต้องรู้ว่าแต่ละอย่างมันเหมาะกับใคร แล้วมันมีข้อห้ามอะไรไหม อะไรที่มันปลอดภัย หรือไม่ปลอดภัยกับคนไข้ประเภทไหน แล้วก็ต้องวินิจฉัยคนไข้ให้ถูกต้องในแง่ที่ว่าเราจะใช้อะไรในการรักษาเขา คนนี้ใช้อันนี้ได้ไหม แล้วไปใช้อันนั้นได้ไหม หรือใช้ร่วมกันแล้วมันจะเป็นอย่างไร แล้วมันมีข้อควรระวังในคนไข้แต่ละกลุ่มโรคไหม  ซึ่งอันนี้ก็ต้องเป็นสิ่งที่เราก็ต้องเรียนรู้นะคะ

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

ได้ความรู้จากการพัฒนาไปเรื่อยๆ แล้วก็ได้ในเรื่องการสื่อสาร ทำให้เราได้พัฒนาเรื่องคนมากขึ้น และที่สำคัญก็คือได้ในเรื่องของความสุข เราเห็นผลลัพธ์แล้วคนไข้แฮปปี้

 

‘For the Better You’ ในแบบฉบับของหมอแพรคืออะไร 

 

หมอแพร: เราเป็นเราแบบนี้แหละ แต่ว่าเราดูดีขึ้นในทุกๆ วัน ในทุกๆ เดือน ในทุกๆ ปี คนเห็นหน้าเราก็อาจจะทักว่าเจอกันทีไรก็ยังเหมือนเดิมเลยนะ ไม่แก่ลงเลย หรือว่าดูดีขึ้นในทุกๆ ครั้ง แล้วก็ที่สำคัญคือ จากภายในด้วยค่ะ

 

อยากฝากอะไรถึงคนที่ไม่เคยมั่นใจในความสวยตัวเอง

 

หมอแพร: ถ้าคนไม่เคยมั่นใจในความสวย อย่างแรกก็คงต้องเดินมาคุยกันก่อนว่า ความไม่มั่นใจของเขามันคือจุดไหน หมออาจจะช่วยปรับแก้แค่บางจุดที่จะทำให้เขาดูดีขึ้น แน่นอนว่าความมั่นใจของแต่ละคนมันไม่พอดี หมอว่าทำตรงนี้แล้วสวย แต่เขาอาจจะรู้สึกว่ามันยังไม่พอ ก็อาจจะต้องค่อยๆ ลองทำดู และแก้กันไปแต่ว่าไม่มีอะไรที่แก้ไม่ได้ ทุกอย่างมันแก้ได้หมด 

 

คนไข้จะถามอย่างนี้เยอะมากว่า หมอเห็นหน้าพี่แล้วหมอคิดว่าพี่ต้องทำอะไร ก็เป็นโจทย์ที่แบบเราจะดีไซน์อย่างไรดีเนอะ ให้มันดูดีขึ้น มันเป็นอาร์ตเหมือนกันนะคะ น่าสนุก แต่ท้าทายเพราะว่าไม่รู้ว่าถูกใจหรือเปล่า 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

อยากฝากอะไรถึงคนเขาที่อยากเริ่มเข้าวงการคลินิก

หมอแพร: ปัจจุบันคลินิกความงามก็มีเยอะนะคะ หรือว่าสถาบันต่างๆ มากมาย ที่ดูแลเรื่องความสวยงาม ก็ต้องเลือกสถานที่ที่มีมาตรฐาน ยามีมาตรฐาน  คุณหมอเป็นคุณหมอจริงๆ ที่ทำการรักษาให้ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ มันคือความปลอดภัยของตัวคนไข้เอง แล้วก็มีมาตรฐานในการดูแลรักษาหลังจากนั้นให้เหมาะสม

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

การเข้าวงการไม่ได้แปลว่าคุณต้องเข้ามาฉีดอย่างเดียว แต่มันจะเป็นการชะลออายุผิวของเขา อาจจะเป็นเครื่องมือก่อนก็ได้นะคะ ทำไม่บ่อยก็ได้ ถ้าอายุยังไม่เยอะ เราไม่ต้องทำเยอะ แต่ทำเรื่อยๆ เป็นการ Maintain ก็ต้องบอกว่าเด็กยุคนี้ก็โชคดีที่มีเครื่องมือเยอะ ที่จะตอบสนองทั้งเจ็บมาก เจ็บน้อย หรือเอาไม่เจ็บ ก็แนะนำว่าถ้าอยากจะเข้า ก็ลองเริ่มเข้าดูค่ะ มันไม่มีอะไรน่ากลัว แล้วก็ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราเป็นคนเลือก หมอมีหน้าที่แค่แนะนำ เหมือนวินิจฉัยให้ แนะทางเลือกในการรักษา แต่คนไข้จะเป็นคนเลือกเองค่ะ 

 

หมอแพร-พญ.ธิรดา จิตตการ (ว.30170)

 

Romrawin Clinic

Open: ตรวจเวลาทำการได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Address: ตรวจสอบสาขาได้ทางเว็บไซต์ Romrawin Clinic

Tel: 08 0153 9000, 08 0154 9000

Website: https://www.romrawin.com

Instagram: https://www.instagram.com/romrawinclinic

Facebook: https://www.facebook.com/RomrawinClinic

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising