ทำไมการบอกว่าอะไรดีหรือไม่ดีจึงยาก แล้วเราควรเลือกทางไหนดี?
Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนคุยเรื่อง Trolley Problem หรือปัญหารถราง การทดลองทางความคิดเชิงปรัชญา ที่มีสถานการณ์สมมติว่า หากเราเป็นคนขับรถรางแล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคน 5 คนอยู่บนราง แต่เราสามารถสับรางเพื่อเปลี่ยนไปอีกเส้นทาง แต่จะทับคน 1 คนแทน เราจะเลือกทางไหน?
จากสถานการณ์สมมตินี้นำมาสู่คำถามสำคัญทางปรัชญาว่า สรุปแล้วความดีคืออะไร เรามีมาตรวัดความดีที่เป็นสากลไหม การกระทำหนึ่งๆ ดีเพราะตัวการกระทำ หรือดีเพราะผลลัพธ์กันแน่ แล้วในชีวิตจริงล่ะ หลักการไหนถึงจะเป็นทางเลือกที่ดีและถูกต้อง?
ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
อ้างอิง:
- ประเด็นเรื่องโครงการเติมคนดีให้สังคม อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ‘รด. ร้องโครงการเติมคนดี 1 ล้านคนให้สังคม ทำไม่ได้ต้องซ้ำชั้น ถามทำด้วยใจหรือบังคับ’ (https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_9407493)
- ใครสนใจปรัชญาจริยศาสตร์ (Ethics) ขั้นพื้นฐาน ผมแนะนำหนังสือภาษาไทย 3 เล่ม คือ
- ‘ความยุติธรรม’ โดย ไมเคิล แซนเดล แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล สำนักพิมพ์ซอลท์ (https://salt.co.th/product/justice/)
- ‘ปรัชญาทั่วไป’ โดย โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/25620)
- ‘จริยศาสตร์ภาคปฏิบัติ’ (Practical Ethics) โดย ปีเตอร์ ซิงเกอร์ แปลโดย เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ สำนักพิมพ์คบไฟ(https://www.chulabook.com/history-religion-culture-politics-government/174539)
- อ่านข้อถกเถียงและการประยุกต์ใช้แนวคิด ‘Trolley Problem’ ทั้งในทางปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ และประสาทวิทยาศาสตร์ ได้จาก
- ‘Trolley problem #1: การเสียสละเพื่อส่วนรวมเป็นเรื่องที่ถูกต้องทางจริยธรรมเสมอไปหรือไม่?’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.the101.world/hard-choices-ep-1/)
- ‘ความเหลื่อมล้ำที่ไม่เหมาะสม ความหงุดหงิดที่ชอบธรรม’ โดย ตะวัน มานะกุล (https://www.matichonweekly.com/column/article_746374)
- ‘สมองเราเป็นอย่างไร เมื่อต้องตัดสินใจเชิงจริยธรรม’ โดย ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ (https://www.the101.world/brainbug-ep-7-trolley-problem/)
- ‘จะปล่อยให้คนเดียวตายหรือว่าห้าคนตายดี’ โดย ณัฐวุฒิ เผ่าทวี https://thaipublica.org/2015/04/nattavudh-14/)
- ข้อถกเถียงของ ฟิลิปปา ฟุต ที่พูดถึงในอีพีนี้มาจากบทความ ‘The Problem of Abortion and the Doctrine of the Double Effect’ (https://philpapers.org/archive/footpo-2.pdf)
- เข้าไปเล่น Moral Machine ได้ที่ https://www.moralmachine.net/ และอ่านข้อถกเถียงเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ใน ‘Should a self-driving car kill the baby or the grandma? Depends on where you’re from’ (https://www.technologyreview.com/2018/10/24/139313/a-global-ethics-study-aims-to-help-ai-solve-the-self-driving-trolley-problem/)
ติดตาม Shortcut ปรัชญา ในช่องทางอื่นๆ
Credits
The Host ภาคิน นิมมานนรวงศ์, รัฐโรจน์ จิตรพนา
Show Producer นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์, พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล
Video Editor เสาวภา โตสวาท
Videographer ศักดิภัท ประพัทธวรคุณ, ธนกร ศักดิ์มณีกุล, พนาธร ไชยกุล
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Graphic Designer พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์
Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Channel Team Lead สิทธิโชติ สุภาวรรณ์
Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน
Social Video Creator พฤกษา แซ่เต็ง
Proofreader พิชชาภรณ์ วรบุตร
Webmaster สุรกิจ วงศ์สุวรรณ
Social Media Admins สุทธกิตติ์ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วนัชพร ดวงนิล, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, ธัญฐรัตน์ โกมลวัฒน์, มนัสชนก แก้วพรหม
Archive Team