นี่คือภาพรวมของประชาคมโลกที่เริ่มทยอยสั่งจองยารักษาโควิดชนิดเม็ดอย่างโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จาก Merck และแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) จาก Pfizer อีกหนึ่งทางเลือกในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิดที่แพร่ระบาดมานานเกือบ 2 ปีแล้ว
โดยสหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกที่รับรองการใช้ยารักษาโควิดชนิดเม็ดอย่างโมลนูพิราเวียร์ ที่มีประสิทธิภาพ (ป้องกันอาการรุนแรง) ในขั้นทดลองล่าสุดอยู่ที่ 50% พร้อมสั่งจองยาเม็ดชนิดนี้แล้ว 480,000 คอร์ส ก่อนที่จะสั่งจองแพ็กซ์โลวิดอีก 250,000 คอร์ส ที่มีประสิทธิภาพ (ป้องกันอาการรุนแรง) ในขั้นทดลองล่าสุดอยู่ที่ 89%
ขณะที่ไทยก็เป็นหนึ่งประเทศในแถบเอเชียที่อยู่ในระหว่างหารือเพื่อจัดซื้อจัดหายากับทั้งสองบริษัท เบื้องต้นคาดการณ์ว่าไทยจะสั่งจองโมลนูพิราเวียร์จาก Merck จำนวน 200,000 คอร์ส และประมาณการขึ้นทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และใช้ในประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 ถึงต้นปี 2022 โดยล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบอนุมัติงบกลางให้กรมการแพทย์ จำนวน 5 ร้อยล้านบาท ใช้สำหรับจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- เทียบประสิทธิภาพยาเม็ดรักษาโควิดของ Merck vs. Pfizer
- ‘โมลนูพิราเวียร์’ ยาต้านโควิดชนิดเม็ด ความหวังใหม่ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาล-เสียชีวิตจากโควิด
- โควิด-19 กลายพันธ์ุสายพันธ์ุต่างๆ มีชื่อเรียกใหม่ว่าอย่างไร
- สำรวจราคาวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก โดสละเท่าไร
- ผลข้างเคียงวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก อาการเป็นอย่างไรบ้าง
- เช็กประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ล่าสุด
อ้างอิง: