×

UOB ผุดภารกิจช่วย SME ไทยรอดจาก Disruption และ Go Digital อย่างมีประสิทธิภาพ [Advertorial]

07.12.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • คาดการณ์กันว่ามูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของทั้งภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตขึ้น 300% เป็น 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 ซึ่งถ้าผู้ประกอบการ SME พลาดโอกาสนี้ก็จะถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย และขาดลู่ทางปรับตัวสู้กับสตาร์ทอัพ หรือบริษัทเทคฯ จากต่างชาติ
  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ผุดโปรเจกต์พิเศษ นำเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) มาเริ่มโครงการ Smart Business Transformation เพื่อช่วยผู้ประกอบการ SME ปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล พร้อมด้วยองค์ความรู้ ทักษะต่างๆ ที่จำเป็น แล้วจับคู่กับสตาร์ทอัพ Tech Solution ที่เหมาะสม
  • ผลลัพธ์คือ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและปรับตัวโกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันฝั่งสตาร์ทอัพผู้พัฒนาเทคโนโลยีก็จะมีเคสการใช้งานจริงที่ต่อยอดโปรดักต์ของตนออกไปในวงกว้าง ด้านยูโอบีนอกจากจะได้การสร้างแบรนดิ้ง ยังพร้อมจะสนับสนุน SME ในการขยายกิจการไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียอีกด้วย

กล่าวกันว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการระดับกลางและขนาดย่อมอย่าง SME ‘กลัวที่สุด’ ในโลกการทำธุรกิจ ณ วันนี้คือ การถูก Disruption โดยเฉพาะการเข้ามาของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่พร้อมจะแย่งลูกค้าของตนไปอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ครอบคลุมและทั่วถึงกว่า

 

ครั้นจะปรับตัวสู่โลกดิจิทัลก็ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ต้องใช้เครื่องมือไหนถึงจะช่วยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน กังวลว่าค่าใช้จ่ายจะสูง และไม่รู้ว่าบุคลากรในบริษัทจะพร้อมปรับตัวแค่ไหน ยิ่งในกรณีที่ SME ไทยเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน GDP ประเทศ ตัวเลขผู้ประกอบการ SME ไทยกว่า 2 ล้านรายที่เปิดเผยโดย UOB ก็จะพลอยได้รับผลกระทบถ้วนหน้า และขาดโอกาสปรับตัวไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลของทั้งภูมิภาคอาเซียนที่ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 จะมีมูลค่าเติบโตอีกกว่า 300% เป็น 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 ที่จะถึงนี้ ถือเป็นการสูญเสียโอกาสที่น่าเสียดายสุดๆ

 

จากปัญหาทั้งหมดจึงทำให้ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ผุดโปรเจกต์พิเศษ นำเดอะ ฟินแล็บ (The FinLab) โครงการบ่มเพาะนวัตกรรม และสตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค (FinTech) มาต่อยอดสู่โครงการ Smart Business Transformation ติดอาวุธองค์ความรู้การทำธุรกิจในโลกดิจิทัลให้ผู้ประกอบการ SME ไทย และจับคู่พาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่เหมาะสมให้กับพวกเขา เพื่อโกดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยไทยจะเป็นประเทศที่ 2 ต่อจากสิงคโปร์ ประเทศแม่ของ UOB ที่ได้รันโครงการนี้เนื่องจากรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการผลักดันสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอย่างมาก

 

Smart Business Transformation คืออะไร จะช่วยผู้ประกอบการ SME ไทยด้วยวิธีไหน?

Smart Business Transformation เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของธนาคารยูโอบีและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการได้เข้าคอร์สอบรมทักษะและองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนทรานส์ฟอร์มกิจการของตนเองเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะเลือกผู้ประกอบการระดับกลางและขนาดย่อมจำนวน 15 ราย เข้าร่วมโครงการนี้

 

เกณฑ์การคัดเลือก SME ที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะต้องมีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 25-1,000 ล้านบาท พร้อมปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มองหาโอกาสเติบโตขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาค เนื่องจากจุดแข็งของธนาคารยูโอบีคือมีสาขาครอบคลุมทั้งเอเชีย ที่สำคัญ ตัวเจ้าของกิจการจะต้องเข้าร่วมคอร์สอบรมระยะเวลา 3 เดือนด้วยตัวเอง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการที่จะปรับองค์กรสู่ดิจิทัล

 

ประโยชน์ที่เหล่าผู้ประกอบการ SME จะได้รับจากโครงการนี้คือ ได้เข้าร่วมโปรแกรมเสริมความรู้ ฟูมฟักทักษะที่จำเป็นให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ว่าจะทรานส์ฟอร์มธุรกิจของตัวเองให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีไหน ซึ่งเดอะ ฟินแล็บจะเป็นผู้ช่วยออกแบบคอร์สการเรียนรู้ พร้อมทั้งจัดหาเมนทอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ โดยไม่ต้องไปคลำหาทางปรับตัวตามลำพัง

 

 

ถามว่าทำไมยูโอบีถึงได้มอบหมายให้เดอะ ฟินแล็บมารับหน้าที่เป็นผู้ดูแลโปรเจกต์นี้ ก็เพราะว่าเดอะ ฟินแล็บมีพันธมิตรบริษัทเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพมากกว่า 1,000 ราย ในกว่า 48 ประเทศ จำแนกเป็นผู้ให้บริการด้านโซลูชันของ SME 19%, ผู้ให้บริการด้านธุรกรรมบนมือถือ 12%, ผู้ให้บริการด้านกู้ยืม 5%, ผู้ให้บริการด้านวิเคราะห์ข้อมูล 4% และบริษัทเทคฯ อื่นๆ อีก 43%

 

ด้วยจำนวนบริษัทเทคฯ 1,000 รายที่เป็นพันธมิตรของเดอะ ฟินแล็บและยูโอบีนี้เองที่จะช่วยให้เมนทอร์และผู้ประกอบการ SME มีตัวเลือกจับคู่ที่ดีที่สุดในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เกื้อกูลกันและกัน และนำจุดแข็งที่แต่ละฝ่ายมีมาเติมส่วนที่ขาดหายไปของกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เมื่อ Tech Solution ที่เหล่าพาร์ตเนอร์เดอะ ฟินแล็บคิดค้นขึ้นมาถูกนำไปใช้งานให้เกิดผลจริง บริษัทของพวกเขาก็จะสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง และมีอายุยืนยาวกว่าเดิม ในขณะเดียวกัน เหล่า SME ไทยก็จะได้ประโยชน์จากการมีเครื่องมือปรับเปลี่ยนองค์กรที่ตอบโจทย์ธุรกิจของตัวเองได้ดีและลงตัวที่สุด แล้วเมื่อเกิด Success Case ที่ต่อยอดได้จริง ก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินระดมทุนจากรัฐบาลในการขยายกิจการไปในตัว

 

เจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Channels & Digitalisation ธนาคารยูโอบี กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ไม่จำเป็นที่ผู้ประกอบการ SME ที่จะเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ต้องเป็นลูกค้าของยูโอบีทุกราย แต่ในกรณีที่มี SME ให้ความสนใจอยากเข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation เป็นจำนวนมาก ลูกค้าของยูโอบีก็จะได้รับสิทธิ์พิจารณาเป็นอันดับแรก

 

“เรามองว่านี่เป็นโอกาสในการหาโซลูชันให้กับลูกค้า กลุ่ม SME ไทย โดยดึงเอาความแข็งแกร่งระดับภูมิภาคของยูโอบี รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตร Ecosystem ของสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการ SME

 

“ผมมองโครงการนี้เป็นคอมมิตเมนต์ระยะยาวที่ยูโอบีตั้งใจจะดำเนินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ผมมองว่ามันคือการดึงจุดแข็งของยูโอบีในการเชื่อมต่อ 2 โลกเข้าหากัน ทั้งโลกของเทคโนโลยี (สตาร์ทอัพ) และโลกธุรกิจ (SME) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลักดันเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 โดยจะเริ่มต้น Big Launch ในช่วงเดือนมกราคมนี้”

 

ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อผู้ประกอบการ SME หรือแม้แต่สตาร์ทอัพเทคโนโลยีปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้จริงและมีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อพวกเขาเหล่านั้นเริ่มมองหาโอกาสขยับขยายกิจการ หรือแม้แต่ต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อจ้างบุคลากรเพิ่ม ยูโอบีก็จะเป็นเพื่อนคู่คิดให้กับพวกเขา

 

Success Case ที่เกิดขึ้นจริง เมื่อบริษัทขายน้ำมะพร้าวในสิงคโปร์โกดิจิทัลได้ด้วยแชตบอต

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ยูโอบีเริ่มดำเนินโครงการ Smart Business Transformation หนึ่งในตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโครงการคือ การที่เดอะ ฟินแล็บได้จับคู่ให้กับ SME ผู้ประกอบการธุรกิจจัดจำหน่ายน้ำมะพร้าว CocoLoco และ Jumper Ai สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแชตบอตสำหรับ SME โคจรมารู้จักกันและทำงานร่วมกันเพื่อโกดิจิทัล

 

 

CocoLoco เป็นธุรกิจนำเข้ามะพร้าวจากราชบุรี เพื่อแปรรูปเป็นน้ำมะพร้าวในบรรจุภัณฑ์ของตัวเอง แล้วจัดส่งตามโรงแรมหรือภัตตาคารต่างๆ ในสิงคโปร์ ซึ่งหลังจากที่ เคลวิน เหงียน ได้เข้ามารับช่วงต่อจากผู้เป็นพ่อได้เพียง 6 ปี เขาก็พบว่า ปัญหาสำคัญของธุรกิจครอบครัวคือระบบจัดการต่างๆ ในองค์กรค่อนข้างล้าหลัง ทำให้เกิดความคิดอยากปรับตัวเข้าสู่โลกออนไลน์ เพื่อมองหาลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

 

เคลวินจึงพา CocoLoco มาเข้าร่วมโครงการทรานส์ฟอร์มธุรกิจกับเดอะ ฟินแล็บ ท้ายที่สุด เมนทอร์จึงจับคู่พวกเขาเข้ากับ Jumper Ai สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแชตบอต และแพลตฟอร์มเปิดที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME สามารถทำการค้าบนโซเชียลมีเดียได้อย่างครบวงจร คอยช่วยรับคำสั่งซื้อและให้ข้อมูลเบื้องต้นกับลูกค้าบนช่องทางไลน์หรือเฟซบุ๊ก

 

ผลลัพธ์ที่ได้หลัง CocoLoco จบจากการเข้าเรียรู้ในคอร์สของเดอะ ฟินแล็บคือ มีการเติบโตด้านรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 5 เท่า และมีสินค้าจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 รายการ จากเดิมที่มีแค่นำ้มะพร้าวเป็นสินค้าชูโรง

 

 

นอกจากกรณีของ CocoLoco x Jumper Ai ที่เกิดขึ้นภายใต้การจับคู่โดยเดอะ ฟินแล็บแล้ว ยังมีกรณีของ EU Holidays เอเจนซีสัญชาติสิงคโปร์ผู้ให้บริการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่ได้จับมือกับ Novocall สตาร์ทอัพผู้พัฒนาบริการโทรกลับเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมและเก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่ละรายที่เข้ายังหน้าเว็บไซต์ เพื่อวิเคราะห์ออกมาเป็นการให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา

 

ปัญหาของ EU Holidays ที่ทำให้ต้องเดินหน้าเข้ามาหาโครงการ Smart Business Transformation ก็เพราะเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล ไม่เช่นนั้นจะถูกเอเจนซีผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์อย่าง Expedia หรือ Treveloka ดิสรัปต์ ประกอบกับได้รับคำแนะนำจากการท่องเที่ยวสิงคโปร์ให้เข้าร่วมโครงการ

 

การทำงานระหว่าง EU Holidays และ Novocall คือเมื่อมีลูกค้าติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก Novocall จะเป็นบริการโทร.กลับ เพื่อให้พนักงานติดต่อไปยังลูกค้าแต่ละคน เพื่อให้ข้อมูลการท่องเที่ยวต่างๆ ที่ลูกค้าแต่ละคนสนใจ

 

 

นี่เป็นเพียง 2 ตัวอย่างกรณีศึกษาในโครงการทรานส์ฟอร์มธุรกิจภายใต้เดอะ ฟินแล็บโดยยูโอบี ซึ่งเมื่อเข้ามาในประเทศไทยแล้วจะน่าสนใจอย่างไร เราคงต้องติดตามกันต่อในเร็วๆ นี้

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising