×
SCB Omnibus Fund 2024

พลิกวิกฤตเป็นโอกาส…RMF และ SSF

05.12.2021
  • LOADING...
RMF SSF

ภาพรวมตลาดเงินและตลาดทุนยังคงความผันผวนอย่างต่อเนื่อง และที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน บรรยากาศการลงทุนยังคงได้รับผลกระทบจากภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ และพัฒนาการของโควิด ในขณะที่การประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนก็ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย

มาดูกันว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เริ่มจากตัวเลขเศรษฐกิจในฝั่งสหรัฐฯ และยุโรปที่ยังแสดงอัตราการขยายตัวที่ดี และฝั่งเอเชียก็เริ่มเห็นการฟื้นตัวอันเนื่องมาจากการคลายล็อกดาวน์และเปิดประเทศ แต่ที่แย่และส่งผลเชิงลบหนักๆ ก็คือตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงอยู่ในทิศทางชะลอตัวต่อจากปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า และการระบาดของโควิดในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเลข PMI ของจีนเดือนกันยายน-พฤศจิกายนต่ำกว่า 50 จุด

ท้ายสุดในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ได้มีการพบการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ (Omicron) ที่แอฟริกาใต้ ได้สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนทั่วโลก และส่งผลกระทบเชิงลบไปทุกประเทศทั่วโลก สาเหตุที่กังวลต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนก็เพราะว่า มีอัตราการแพร่เชื้อได้เร็ว แต่อัตราการตายยังไม่แน่ชัด ซึ่งยังคงต้องรอการตรวจสอบอีกราว 1 เดือน ซึ่งเป็นความไม่แน่นอนที่ทำให้นักลงทุนวิตกกังวล และน่าจะส่งผลเชิงลบไปอีกระยะเวลาหนึ่ง 

สำหรับตลาดเงิน US 10Y Yield ปรับตัวขึ้นจากต้นเดือนที่ 1.53% ไปทำจุดสูงสุดที่ 1.68% ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ความผันผวนดังกล่าวเกิดจากการคาดการณ์ว่า Fed อาจลด QE และขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่คาดไว้ จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยคาดการณ์ก่อนหน้าที่มองว่า Fed จะลด QE ให้เสร็จสิ้นภายในกลางปีหน้า ก็อาจจะเร่งเร็วขึ้นให้อยู่ภายในต้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งหมายความว่าโอกาสที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งหลังของปีหน้ามีความเป็นไปได้สูงมาก

อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนก็มีผลทำให้ Yield ปรับตัวลงมาอีก แต่โดยมุมมองที่กล่าวมาช่วงต้น ก็ยังทำให้ภาพการลด QE และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะเร็วกว่าคาดการณ์ก็ยังเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางการลงทุนระยะยาวในตราสารหนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นมาตลอดเดือนก็ปรับตัวลงแรง (-10%) อันเป็นผลมาจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน ขณะที่อุปทานน้ำมันยังคงทยอยออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องจากทั้งฝั่ง OPEC+ และ Non-OPEC

มุมมองการลงทุนในเดือนธันวาคม ข่าวการแพร่ระบาดของโควิดในยุโรปและโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่เข้ามาได้ส่งผลกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐานลงมาในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ WHO แถลงว่ายังต้องใช้เวลาอีก 2-3 สัปดาห์เพื่อที่จะประเมินความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์ไม่ร้ายแรง และจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ได้เร่งตัวสูงขึ้นอย่างมีนัย ก็จะทำให้หลายประเทศใหญ่ทั่วโลกไม่ต้องกลับไป Full Lockdown หรือปิดประเทศ ดังนั้นเศรษฐกิจโลกก็น่าจะยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อในปีหน้า

ขณะที่อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (Real Yield: อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง ที่ผู้ลงทุนจะได้รับจากการถือพันธบัตรโดยหักอัตราเงินเฟ้อ) ยังคงทรงตัวอยู่ระดับต่ำแถว -1% ถึง -0.9% ซึ่งเป็นตัวสนับสนุนการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้น มากกว่าสินทรัพย์ปลอดภัยหรือความเสี่ยงต่ำ สำหรับตราสารหนี้ แนวโน้มไม่ค่อยน่าสนใจเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะยังทรงตัวระดับสูงไปในปีนี้และต้นปีหน้า ทำให้ทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกจะค่อยๆ เข้มงวดขึ้น ส่งผลต่อแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกที่จะทยอยปรับตัวสูงขึ้น กดดันราคาพันธบัตรรัฐบาล อย่างไรก็ตามในบรรดากลุ่มตราสารหนี้ที่น่าสนใจคือตราสารหนี้เอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม High Yield จากวัฏจักรเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในช่วงการขยายตัว ส่งผลให้ความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระต่ำ 

สำหรับคำแนะนำการลงทุนในช่วงเวลาแบบนี้ ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ย และ Real Yield ที่ติดลบ ประกอบกับการที่ตลาดทุนหรือตลาดหุ้นปรับตัวลดลงจากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้การลงทุนในหุ้นไทยดูมีความน่าสนใจกว่าสินทรัพย์ปลอดภัยอื่นๆ และในช่วงท้ายปีแบบนี้ ก็ต้องแนะนำให้พิจารณาการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี RMF/SSF เพราะอย่างน้อยที่สุดยังเป็นการลงทุนระยะยาว ที่ยังคงได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษี เพื่อให้ข้ามผ่านช่วงรอความชัดเจนจากสถานการณ์นี้ 

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising