×

ฟังเสียงผู้ประกอบการท่องเที่ยว อยากได้อะไรจากภาครัฐ

11.11.2020
  • LOADING...
การท่องเที่ยว

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘การท่องเที่ยว’ คือ ‘เส้นเลือดหลัก’ ที่หล่อเลี้ยงประเทศ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่กำลังได้รับผลกระทบหลายอย่างจากการระบาดของโรคโควิด-19 เห็นได้จากตัวเลขที่ลดลงเป็นอย่างมากเพื่อเทียบกับปี 2562

 

ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระบุว่า ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2563 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาประเทศไทย 6.69 ล้านคน ลดลง 22.77 ล้านคน หรือ 77.29% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีรายได้เท่ากับ 3.32 แสนล้านบาท ลดลง 1.10 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 76.77% 

 

ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 เบื้องต้นมีจำนวนผู้เดินทางทั้งสิ้น 52.71 ล้านคน-ครั้ง ลดลง 63.57 ล้านคน-ครั้ง หรือ 54.67% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมีเม็ดเงินที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว 3.23 แสนล้านบาท ลดลง 4.74 แสนล้านบาทหรือ 59.46%

 

ในภาพรวมช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 การท่องเที่ยวของไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวม 6.55 แสนล้านบาท รายได้ท่องเที่ยวทั้งหมดลดลง 1.57 ล้านล้านบาท หรือ 70.57% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

 

ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดล งจึงมีเสียงเรียกร้องให้เกิดการ ‘เปิดประเทศ’ หรืออนุญาตให้นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้แล้ว โดย ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า คำว่าเปิดประเทศนั้น อยากให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า หมายถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ โดยอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องการควบคุมโรคระบาดของกระทรวงสาธารณสุข

 

ล่าสุดรัฐก็ได้ผ่อนคลายด้วยการอนุญาตวีซ่าประเภทพิเศษ หรือ Special Tourist Visa (STV) วีซ่าระยะยาวที่ภาครัฐจะออกให้เป็นกรณีพิเศษแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่ง ททท. คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประมาณ 1,200 คนต่อเดือน และสร้างรายได้ประมาณ 1 พันล้านบาทต่อเดือน 

 

“เรายังไม่อยากให้ใช้คำว่าเปิดประเทศ เพราะอาจทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ประเทศไทยเปิดตอนรับนักท่องเที่ยวแล้วอย่างที่เคยเป็นมา และอาจทำให้คนไทยในประเทศเกิดความตระหนก”

 

หลังจากเปิดให้นักท่องเที่ยวประเภท STV เข้ามาได้แล้วตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ตัวเลข ณ วันที่ 5 กันยายน มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยแล้วกว่า 1,500 คน ซึ่งนักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องกักตัวก่อน 14 วัน สำหรับกรณีที่มีการเสนอให้ลดวันกักตัวเหลือ 10 วันนั้น มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ทั้งหมดต้องประเมินสถานการณ์ก่อน 

 

อย่างไรก็ตาม แม้ไทยจะได้เปรียบในเรื่องการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้ แต่ในมุมของ ศุภลักษณ์ อัมพุช ซึ่งได้ออกมาพูดในฐานะการเป็นผู้บริหาร Café Del Mar คลับบีชระดับโลกที่ตั้งอยู่บนหาดกมลา จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นธุรกิจส่วนตัวว่า รัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังมากขึ้น

 

ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนเรื่องเรือยอชต์ ซึ่งภูเก็ตเป็นทำเลที่เหมาะสมเป็นอย่างมาก สำหรับสร้างอู่ต่อเรือและบริการที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง BOI สามารถเข้ามาสนับสนุนได้ อีกทั้งกลุ่มเรือยอชต์ถือเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ โดยมีสถิติพบว่า เรือยอชต์ 1 ลำที่เข้ามาในไทย ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1-2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีกกลุ่มที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือเรือสำราญ ซึ่งวันนี้ไทยยังขาดท่าเรือที่รองรับกลุ่มนี้

 

ศุภลักษณ์ มองอีกว่า ยังมีเรื่องเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่รัฐควรเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง ซึ่งเหล่านี้จะเป็นแม่เหล็กที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้ 

 

ล่าสุด เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวภูเก็ต Café Del Mar ได้จับมือกับ ททท. และภาคธุรกิจต่างๆ จัดงาน Café Del Mar Phuket Charity Festival ในระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 บีชปาร์ตี้การกุศลสุดเอ็กซ์คลูซีฟริมชายหาดกมลา ร่วมด้วยกิจกรรมความสนุกสนานมากมาย โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบทุนสร้างห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลฉลอง จังหวัดภูเก็ต

 

ขณะเดียวกัน พสุ ลิปตพัลลภ กรรมการบริหาร บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจโรมแรมในเครือได้จัดการเรื่องหลักๆ อยู่ 2 เรื่องคือ บริการต้นทุนการเงิน และจัดการทรัพยากรบุคคล แม้ล่าสุดธุรกิจท่องเที่ยวจะได้ซอฟต์โลนมาเสริมสภาพคล่องธุรกิจ แต่ก็อาจไม่เพียงพอ 

 

“แม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือ แต่ก็ไม่อาจทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ระยะยาวอย่างไรก็ต้องมีรายได้เข้ามาอย่างเดียว ตอนนี้ทุกคนต่างบริหารต้นทุนเต็มที่ เหลืออยู่ว่าเมื่อไรรายได้จะกลับเข้ามา ซึ่งหากไม่เปิดประเทศก็เป็นไปได้ยากมาก”

 

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising