×

‘McKinsey’ เปิด 3 เทรนด์ทำงานใหม่ยุค Post COVID แนะธุรกิจต้อง Reconstruction Process เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

27.11.2022
  • LOADING...

McKinsey ระบุ หลังสถานการณ์โควิดเป็นปัจจัยเร่งให้เกิด 3 เทรนด์ทำงานใหม่ที่เร็วขึ้น แนะนำธุรกิจ Reconstruction Process เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น อีกทั้งองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหา Talent War ขาดแคลนบุคลากรกลุ่ม Digital กับ Technology

 

นพมาศ ศิวะกฤษณ์กุล Managing Partner บริษัท McKinsey & Company (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 ในหัวข้อ ‘THE FUTURE OF WORK อนาคตการทำงาน ทำอย่างไรให้เวิร์ก’ ว่า ภายหลังเกิดสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด ส่งผลให้เกิดเทรนด์ 3 เรื่องที่เร่งขึ้นในโลกการทำงานในยุคปัจจุบัน ได้แก่

 

  1. Remote Work
  2. Online Delivery
  3. Automation ที่มาเร็วขึ้นจากปัจจัยความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นได้สร้างความท้าทายด้านการบริหารบุคลากรของในแต่ละองค์กร เพราะแต่ละองค์กรต่างมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้าน Digital กับ Technology มากขึ้น จากเดิมที่มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการอยู่แล้ว ส่งผลให้เกิดสถานการณ์การแย่งตัวบุคลากรที่มีความสามารถ หรือ Talent War ในกลุ่ม ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นกับทั่วโลก​

 

อีกทั้งหลังการแพร่ระบาดของโควิดยังพบว่าองค์กรทั่วโลกมีความต้องการบุคลากรกลุ่มที่ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Social and Emotional Skills) เพิ่มขึ้นมากที่สุดด้วย

 

ขณะที่เทรนด์การทำงานขององค์กรจากนี้ไปจะมีรูปแบบ Hybrid โดยจะมีทั้ง Remote Work หรือ Work from Home ซึ่งถือว่ามีข้อดีในการทำงานที่ค่อนข้างมาก จึงสามารถใช้ทำงานควบคู่ไปกับการทำงานที่ออฟฟิศ อย่างไรก็ตาม องค์กรควรมีการ Reconstruction Process โดยออกแบบการทำงานแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลออกมาดีกว่าเดิม โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงานด้วย

 

สำหรับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรให้ดีขึ้นสามารถสร้างได้ โดย CEO ขององค์กรต้องมีความเชื่อและให้ความสำคัญเช่นเดียวกับตัวเลขในงบการเงินที่มีการวัดผลได้ และต้องมีแอ็กชันหรือการลงมือทำให้เห็นจริง เพื่อให้พนักงานมีความเชื่อว่าสามารถใช้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรได้

 

ขณะที่ผลวิจัยจากการสำรวจทั่วโลกช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของการทำงานทั่วโลก พบว่า มีคนเกิน 40% เกิดภาวะ Burnout ซึ่งพบในกลุ่มผู้หญิงมากที่สุด หรือมีสัดส่วนถึง 42% ส่วนผู้ชายมีสัดส่วน 35% ของผลสำรวจ ขณะเดียวกัน พบว่ามีคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต (Mental Health) เพิ่มขึ้น 3 เท่า และเป็นสาเหตุให้มีปัญหา Attrition ทำให้คนกลุ่มนี้ถึง 50% พร้อมจะออกจากงานแบบไม่มีงานทำ เพราะองค์กรให้สิทธิประโยชน์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของบุคลากร เช่น เน้นการเพิ่มเงินโบนัสในขณะที่ตัวบุคลากรต้องการได้รับการที่บริษัทให้ความสำคัญใส่ใจในเรื่องอื่นๆ เช่น การฝึกอบรม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising