×

สุขภาพแข็งแรงยกออฟฟิศกับโครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality [Advertorial]

14.06.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 MINS READ

 

  • โดยปกติแล้วมนุษย์ออฟฟิศใช้เวลาไปกับการทำงานประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน หรือประมาณ 2,000 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งหมายความว่าเราใช้เวลาชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการทำงานแทบทั้งสิ้น และพฤติกรรมการทำงานในแต่ละวันก็เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • โครงการ ‘Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality’ จึงถือกำเนิดขึ้นจากความเข้าใจและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ซึ่งจะทำให้พนักงานทุกคนรู้ถึงลักษณะการดำเนินชีวิตและความเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ พร้อมคำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น ซึ่งองค์กรสามารถนำผลสำรวจไปพัฒนากลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลได้ในอนาคต

 

การทำงานถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพราะโดยปกติแล้วมนุษย์ออฟฟิศนั้นใช้เวลาไปกับการทำงานประมาณ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน หรือประมาณ 2,000 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งหมายความว่าเราใช้เวลาชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการทำงานแทบทั้งสิ้น

 

พฤติกรรมการทำงานในแต่ละวันก็เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ว่าจะด้วยสภาพการทำงานที่รีบเร่ง การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนต่อเนื่องวันละหลายชั่วโมง การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และไม่ตรงเวลา รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจนทำให้ร่างกายต้องแบกรับความเครียดโดยไม่รู้ตัว ทำให้มนุษย์ออฟฟิศหลายคนต้องเผชิญกับโรคต่างๆ มากมาย เช่น

 

  • โรคคอมพิวเตอร์วิชันซินโดรม ซึ่งเกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีหน้าจอสว่างมากเกินไป หรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้เป็นเวลานาน
  • โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ซึ่งเกิดจากการนั่งทำงานหรือนั่งก้มหน้าทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • โรคไมเกรน หรือปวดหัวข้างเดียว ซึ่งเกิดจากการนอนดึกและไม่รับประทานอาหารในมื้อเช้า
  • โรคกรดไหลย้อน ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และรับประทานอาหารมันหรือรสจัด
  • โรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเกิดจากการทำงานในอิริยาบถเดิมๆ ซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มอักเสบ
  • โรคสมาธิสั้น ซึ่งเกิดจากความเครียดและความกดดันจากการทำงาน

 

ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เอไอเอมุ่งมั่นจะแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ด้วยความเข้าใจในความสำคัญของบุคลากรผู้เป็นฟันเฟืองสำคัญขององค์กร ไม่เฉพาะชาวเอไอเอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงองค์กรอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งเอไอเอต้องการส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัย และสร้างสังคมสุขภาพดีไปด้วยกัน

 

 

Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality โครงการจากเอไอเอเพื่อมนุษย์ออฟฟิศทุกคน

โครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality เกิดขึ้นเพื่อสำรวจสุขภาพของพนักงานในองค์กรต่างๆ ในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจะทำให้องค์กรมีความเข้าใจที่ดีขึ้นในเรื่องของความเสี่ยงต่างๆ ด้านสุขภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อพนักงานและประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนช่วยให้องค์กรสามารถวางกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานได้อย่างเหมาะสม

 

ทั้งนี้เอไอเอได้ดำเนินโครงการนี้แล้วในประเทศออสเตรเลีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2560 และจะเริ่มดำเนินโครงการในประเทศไทยในปี 2561 นี้

 

โดยวิธีการสำรวจด้านสุขภาพที่เอไอเอใช้ในโครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality นั้น บริษัทได้ศึกษาจากประสบการณ์กว่า 4 ปีของโครงการต้นแบบ Britain’s Healthiest Workplace by UK Vitality และร่วมมือกับแรนด์ยุโรป (RAND Europe) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยด้านสุขภาพ และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ประมวลผลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้

 

นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในแต่ละประเทศในการพัฒนาแบบสอบถาม วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้องค์กรที่เข้าร่วมโครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality จะได้รับรายงานผลสุขภาพขององค์กร รวมถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในขณะเดียวกัน พนักงานที่ร่วมตอบแบบสำรวจทุกคนก็จะได้รับผลรายงานสุขภาพของตนเอง ซึ่งจะทำให้พนักงานมีความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น  

 

 

แบบสอบถามของโครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality จะครอบคลุมสุขลักษณะรอบด้าน ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งองค์กรและพนักงานจะได้รับรายงานบ่งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ ‘อายุสุขภาพแบบเอไอเอ ไวทัลลิตี้’ ทันทีหลังจากการประเมินเสร็จสิ้น ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้ถึงลักษณะการดำเนินชีวิตหลักและความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพ พร้อมคำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น

 

ก่อนที่ข้อมูลสุขภาพขององค์กรและสุขภาพของพนักงานจะถูกสรุปและจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยขององค์กรอื่น พร้อมแนวทางในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่พนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น

 

เอาล่ะ หากไม่อยากให้กิจวัตรประจำวันแบบผิดๆ ที่เกิดจากการทำงานลุกลามบานปลายไปจนถึงโรคร้ายในอนาคตแล้ว ตอนนี้ก็คงต้องเริ่มปรับปรุงพฤติกรรมกันแล้ว โดยสามารถอ่านรายละเอียดและเข้าร่วมโครงการ Thailand’s Healthiest Workplace by AIA Vitality ได้ที่นี่  (ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ) สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 มิถุนายน 2561

 

มาทำความเข้าใจสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีไปด้วยกันเถอะ!

 

อ้างอิง:

 

 

FYI
  • รู้หรือไม่ว่า 42% ของคนไทยมีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน หรือเป็นโรคอ้วนแล้ว
  • 5 ชั่วโมงต่อวัน คือเวลาเฉลี่ยในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของคนไทย และ 6.3 ชั่วโมงต่อคืน คืออัตรานอนเฉลี่ยที่ทำให้คนไทยมีภาวะขาดการนอนหลับสูงที่สุดในภูมิภาคด้วย
  • ผลการสำรวจจากดัชนีเอไอเอ เฮลธ์ตี้ ลิฟวิ่ง อินเด็กซ์ ปี 2561 ในประเทศไทย รายงานว่าคนไทย 82% พึงพอใจในสุขภาพของตน ซึ่งลดลงจากปี 2559 ที่ระดับความพึงพอใจในสุขภาพอยู่ที่ 86%
  • แม้ระดับความพึงพอใจในสุขภาพของคนไทยจะลดน้อยลง แต่คนไทยมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่คำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามใช้เวลาในการออกกำลังกายโดยเฉลี่ย 4.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2559
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X