×

อวกาศ

6 มกราคม 2024

นักดาราศาสตร์เผยสีที่แท้จริงของดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนเป็นครั้งแรก

นักดาราศาสตร์พบว่าดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน สองดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์ของระบบสุริยะ มีสีคล้ายกันกว่าภาพถ่ายที่เราคุ้นเคย   ในปัจจุบันภาพถ่ายที่คมชัดสุดของดาวเคราะห์ทั้งสองมาจากกล้องถ่ายภาพของยาน Voyager 2 ซึ่งเป็นภารกิจเดียวที่เดินทางไปบินผ่านทั้งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนในระยะใกล้ โดยภาพที่เผยแพร่แสดงให้เห็นดาวยูเรนัสมีสีฟ้าออกเขียวเล็กน้อย ส่...
3 มกราคม 2024

โลกโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี 2024

วันนี้ (3 มกราคม) เวลา 07.38 น. โลกโคจรเข้าสู่จุด Perihelion หรือจุดใกล้สุดของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ในรอบปี 2024 ด้วยระยะห่างประมาณ 147,100,632 กิโลเมตร ระหว่างแกนกลางของโลกและดวงอาทิตย์   เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเฉกเช่นวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะ ทำให้ในหนึ่งคาบการโคจรจะมีช่วงที่โลกเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ซึ่งมักเกิดในช่วงต้นเด...
23 ธันวาคม 2023

นักบินอวกาศจีนออกปฏิบัติภารกิจซ่อมแผงโซลาร์เซลล์บนสถานีอวกาศได้สำเร็จ

สองนักบินอวกาศจีนของภารกิจเสินโจว-17 ประสบความสำเร็จในการซ่อมบำรุงแผงโซลาร์เซลล์นอกสถานีอวกาศเทียนกง เมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา   การซ่อมบำรุงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติภารกิจภายนอกยาน หรือ EVA โดยมีทังหงโป ผู้บัญชาการภารกิจ และถังเซิ่งเจี๋ย เป็นสองนักบินอวกาศที่ออกไปนอกยาน ในขณะที่เจียงซินหลินคอยให้การสนับสนุนจากภายในสถานีอว...
4 ธันวาคม 2023

กล้องเจมส์ เว็บบ์ พบโมเลกุลการเกิดดาวเคราะห์หินในบริเวณสภาพแวดล้อมรุนแรงของทางช้างเผือก

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ได้ตรวจพบโมเลกุลสำคัญสำหรับการกำเนิดดาวเคราะห์หิน ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมปั่นป่วนรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก   นักดาราศาสตร์จากนานาประเทศได้ใช้กล้องเจมส์ เว็บบ์ ศึกษาบริเวณจานกำเนิดดาวเคราะห์ 15 แห่ง ภายในเนบิวลาล็อบสเตอร์ หรือวัตถุ NGC 6357 ซึ่งเป็นเนบิวลาที่อยู่ห่างจากโลกไปราว 5,500 ปีแส...
281123 วันดาวเคราะห์แดง
28 พฤศจิกายน 2023

28 พฤศจิกายน – วันดาวเคราะห์แดง

ทุกวันที่ 28 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันดาวเคราะห์แดง (Red Planet Day) หรือวันรำลึกการปล่อยยานอวกาศ Mariner 4 ไปยังดาวอังคารโดย NASA ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 1964 ซึ่งเป็นยานลำแรกที่เดินทางไปถึงดาวอังคาร และปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์   ยานลำนี้ใช้เวลาเกือบ 8 เดือนเต็มในการเดินทางไปถึงดาวอังคาร และท้ายที่สุดได้ทำการบินผ่านดาวอังคาร...
18 พฤศจิกายน 2023

นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์ขนาดคล้ายโลกที่อยู่ใกล้สุด จากข้อมูลใหม่โดยกล้องฮับเบิล

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเพื่อศึกษาขนาดของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ LTT 1445Ac อย่างแม่นยำ ก่อนพบว่าเป็นดาวเคราะห์ขนาดคล้ายโลกที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะที่สุด   ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวตรวจพบครั้งแรกในปี 2022 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ TESS ซึ่งมีภารกิจในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบผ่านกระบวนการเคลื่อนตัดผ่านหน้า หรือการ Transit ที่นั...
Jupiter
10 พฤศจิกายน 2023

NASA เปิดภาพดาวพฤหัสบดีสีแปลกตา ในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลตจากกล้องฮับเบิล

NASA เปิดภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีโทนสีพาสเทล จากการบันทึกภาพโดยอุปกรณ์บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ในช่วงที่ดาวอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในปี 2023 เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา   ภาพดังกล่าวไม่ใช่สีจริงของดาวพฤหัสบดี โดยเป็นการสำรวจในช่วงคลื่นอัลตราไวโอเลต และแทนค่าสีในช่วงที่ตามนุษย์มองเห็นในข้อมูลจากฟิลเตอร์ที่ต่างกัน ได้แก่ สีน้ำเงินกับฟิลเ...
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
1 พฤศจิกายน 2023

นักดาราศาสตร์ไทย ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ โคจรรอบดาวฤกษ์สองดวง

นักวิจัยไทยร่วมกันค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงที่ 2 ของระบบดาว RR Cae ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 69 ปีแสง โดยถือเป็นครั้งแรกที่มีการพบดาวเคราะห์ในระบบดาวอื่น จากผลงานของคณะนักดาราศาสตร์คนไทยทั้งหมด   เนื่องจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะมักมีระยะห่างไกลจากโลก และมีขนาดที่เล็กมากเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องใช้วิธีการโดยอ้อมในก...
Human face on Jupiter
29 ตุลาคม 2023

NASA เปิดภาพใบหน้าชวนหลอนบนดาวพฤหัส รับธีมวันฮาโลวีน

NASA เปิดภาพถ่ายชุดล่าสุดจากยาน Juno ขณะโคจรเข้าไปเฉียดใกล้ดาวพฤหัส แสดงให้เห็นบริเวณกลุ่มเมฆและพายุเหนือผิวดาวที่ดูคล้ายใบหน้าของมนุษย์   ภาพดังกล่าวถูกบันทึกเมื่อวันที่ 7 กันยายน ในระหว่างการเฉียดใกล้ผิวดาวเป็นครั้งที่ 54 ด้วยระยะห่างประมาณ 7,700 กิโลเมตรจากชั้นเมฆ ซึ่งได้รับการประมวลผลโดย วลาดิเมียร์ ทาราซอฟ ประชาชนทั่วไปที่นำข้อมูลภา...
นักบินอวกาศที่ไปกับยาน Shenzhou-17
26 ตุลาคม 2023

จีนส่งทีมนักบินอวกาศเสินโจว-17 ลุยภารกิจท้าทายบนสถานีอวกาศจีน

องค์การอวกาศแห่งประเทศจีน (CMSA) รายงานการปล่อยยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม ‘เสินโจว-17’ (Shenzhou-17) พร้อมทีมนักบินอวกาศ 3 คน ทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศในวันนี้ (26 ตุลาคม) เพื่อปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศจีนในวงโคจรประมาณ 6 เดือน   รายงานระบุว่า ยานอวกาศเสินโจว-17 ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนสุดของจรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) ทะยานออกจากศูนย...

Close Advertising