×

อวกาศ

นักบินอวกาศที่ไปกับยาน Shenzhou-17
26 ตุลาคม 2023

จีนส่งทีมนักบินอวกาศเสินโจว-17 ลุยภารกิจท้าทายบนสถานีอวกาศจีน

องค์การอวกาศแห่งประเทศจีน (CMSA) รายงานการปล่อยยานอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุม ‘เสินโจว-17’ (Shenzhou-17) พร้อมทีมนักบินอวกาศ 3 คน ทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศในวันนี้ (26 ตุลาคม) เพื่อปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศจีนในวงโคจรประมาณ 6 เดือน   รายงานระบุว่า ยานอวกาศเสินโจว-17 ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านบนสุดของจรวดขนส่งลองมาร์ช-2เอฟ (Long March-2F) ทะยานออกจากศูนย...
รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี
25 ตุลาคม 2023

รัดเกล้าเผย GISTDA เตรียมสร้าง THEOS-3 ผลักดันวงการอวกาศของประเทศไทย ชวนเที่ยวงาน ‘สัปดาห์อวกาศแห่งชาติ’ 25-27 ต.ค. นี้

วันนี้ (25 ตุลาคม) รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าอีกหนึ่งความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ช่วยผลักดันวงการอวกาศของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้า กับการขึ้นสู่วงโคจรของดาวเทียม THEOS-2 สำเร็จ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา และได้เริ่มปฏิบัติการสำรวจโลกแล้ว   THEOS-2 ถือเป็นดาวเทียมด้านการสำรวจทรัพยากรธรรม...
กล้อง เจมส์ เว็บบ์ พบ คริสตัล ควอตซ์ ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP-17b
18 ตุลาคม 2023

กล้องเจมส์ เว็บบ์ พบควอตซ์ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก

นักดาราศาสตร์ตรวจพบอนุภาคของคริสตัลควอตซ์ ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP-17b ผ่านการใช้อุปกรณ์บนกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์   แม้แร่ควอตซ์อาจถูกพบได้โดยทั่วไปบนโลกเรา และดาวเคราะห์หินหรือดวงจันทร์ในระบบสุริยะ แต่นี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบอนุภาคแร่ซิลิกาบนบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โดยใช้การแยกสเปกตรัมผ่านอุป...
parachute
28 กันยายน 2023

นักบินอวกาศ NASA ทำลายสถิติอยู่นอกโลกนาน 371 วัน ก่อนเดินทางกลับสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย

แฟรงก์ รูบิโอ นักบินอวกาศ NASA ทำลายสถิติเป็นชาวอเมริกันที่ใช้เวลาอยู่บนอวกาศนานสุดในประวัติศาสตร์ เดินทางกลับมาลงจอดบนโลกกับยาน Soyuz MS-23 ร่วมกับสองนักบินอวกาศชาวรัสเซีย เมื่อเย็นวันพุธที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา   รูบิโอเดินทางไปอวกาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2022 กับยาน Soyuz MS-22 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ Expedition 67 และ ...
จันทรายาน
17 กันยายน 2023

ชมคลิป: อินเดีย ลงจอดบนดวงจันทร์ ก้าวสำคัญของการช่วงชิงตำแหน่งมหาอำนาจด้านอวกาศ | KEY MESSAGES #97

วินาทีที่ยานอวกาศ ‘จันทรายาน-3’ ลงจอดบนพื้นผิวขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ อินเดียก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจด้านอวกาศที่เทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกา จีน และรัสเซีย   ที่สำคัญอินเดียใช้เงินเพียง 74.6 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างยานอวกาศจันทรายาน-3 หรือน้อยกว่าทุนสร้างภาพยนตร์เรื่อง Interstellar ที่ใช้เงินกว่า 165 ล้านดอลลาร์เสียอีก &...
คิมจองอึน
13 กันยายน 2023

คิมจองอึนพบปูตินแล้ว เตรียมหารือด้านการทหาร เศรษฐกิจ และอวกาศ

คิมจองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ พบกับ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียแล้วในวันนี้ (13 กันยายน) ที่ศูนย์ปล่อยอวกาศยาน Vostochny Cosmodrome ในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย ซึ่งเป็นเดินทางเยือนรัสเซียอย่างเป็นทางการของคิม   ผู้นำเกาหลีเหนือกล่าวกับปูตินว่า “ขอบคุณมากที่เชิญเรามา แม้ว่าตารางงานของคุณจะยุ่งมากก็ตาม” จากนั้นผู้นำทั้งส...
ดาว k2-18 b
12 กันยายน 2023

กล้องเจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์เขตเอื้อต่อการดำรงอยู่ของชีวิต

คณะนักดาราศาสตร์ได้ใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ K2-18 b เป็นครั้งแรกที่มีการพบโมเลกุลทั้งสองในบรรยากาศของดาวเคราะห์เขตเอื้อต่อการอยู่อาศัยของชีวิต   คณะนักดาราศาสตร์ นำโดยศาสตราจารย์นิกกุ มาธุสุธาน จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พบว่าดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ K2-18 b ที่มีมว...
จันทรายาน-3
28 สิงหาคม 2023

จันทรายาน-3 ส่งข้อมูล ‘อุณหภูมิขั้วใต้ของพื้นผิวดวงจันทร์’ ชุดแรกกลับโลก

องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (27 สิงหาคม) ว่าอุปกรณ์บรรทุก (Payload) บนยานลงจอดของยานอวกาศสำหรับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งที่ 3 ของอินเดีย หรือยานอวกาศจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) ได้ส่งข้อมูลสังเกตการณ์ชุดแรกเกี่ยวกับระดับอุณหภูมิของขั้วใต้ของพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลก   อุปกรณ์บรรทุกที่มีชื่อว่า ‘ช...
ดาวพลูโต
24 สิงหาคม 2023

24 สิงหาคม 2006 – ดาวพลูโตถูกลดสถานะเป็นดาวเคราะห์แคระ

ดาวพลูโตที่ถูกค้นพบในปี 1930 ถูกนับเป็น 1 ในดาวเคราะห์ทั้ง 9 ของระบบสุริยะมาตลอด จนกระทั่งวันที่ 24 สิงหาคม 2006 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) ได้ปรับเปลี่ยนสถานะดาวพลูโตจาก ‘ดาวเคราะห์’ เป็น ‘ดาวเคราะห์แคระ’ หรือดาวที่มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์หรือดาวเคราะห์น้อย เนื่องจากคุณสมบัติของดาวพลูโตตรงตามคำนิยามดาวเคราะห์แคระข...
ดาวเนปจูน
21 สิงหาคม 2023

นักดาราศาสตร์พบความเชื่อมโยงของเมฆดาวเนปจูนกับวัฏจักรสุริยะ

แม้จะอยู่ไกลกว่า 4,500 ล้านกิโลเมตร แต่นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบว่า ปริมาณเมฆบนดาวเนปจูนมีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรสุริยะ (Solar Cycle) ของดวงอาทิตย์   การค้นพบในครั้งนี้มาจากข้อมูลการสำรวจนานกว่า 30 ปีจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและหอสังเกตการณ์ Keck ที่ฮาวาย พร้อมกับข้อมูลเพิ่มเติมจากหอสังเกตการณ์ Lick ที่มีการสำรวจดาวเนปจูนอย่างต่อเนื่อง ...

Close Advertising