×

เพราะสินค้าด้านความยั่งยืนกลายเป็นความฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคที่ร่ำรวย ทำให้ผู้บริโภคทั่วไปลดความสำคัญของเรื่องนี้ลง อันเกิดจากวิกฤตค่าครองชีพ

01.10.2022
  • LOADING...
สินค้าด้านความยั่งยืน

Kantar เปิดตัวรายงานฉบับล่าสุด 2022 Who Cares, Who Does? งานวิจัยล่าสุดซึ่งสำรวจผู้บริโภคราว 100,000 รายใน 24 ประเทศทั่วโลก พบว่านับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 4 ปีของรายงานที่จำนวนผู้บริโภคกลุ่ม ‘Eco Actives’ ลดลง สะท้อนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ถูกลดความสำคัญลงสำหรับผู้คนจำนวนมากในชีวิตประจำวัน

 

งานวิจัยล่าสุดซึ่งสำรวจผู้บริโภคราว 100,000 รายใน 24 ประเทศทั่วโลกพบว่า Eco Actives ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านความยั่งยืนมากที่สุด ลดลง 4% ในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2021 และ 2020 ในขณะที่ ‘Eco Dismissers’ เพิ่มขึ้น 7% เป็น 44% ของประชากรโลก การลดลงของกลุ่ม Eco Actives นั้นเป็นไปอย่างแพร่หลาย โดยลดลงมากที่สุดในสเปน (-8%), โปรตุเกส (-5%), ไอร์แลนด์ (-5%) และอินเดีย (-5%) กลับกันในแง่บวกซึ่งเพิ่มมากขึ้นในฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และโคลอมเบีย ที่กลุ่ม Eco Actives นั้นคงที่หรือเติบโตขึ้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


โดย Kantar ได้แบ่งกลุ่มผู้บริโภครักษ์โลกออกเป็น 3 กลุ่มตามพฤติกรรม

  • Eco Actives ผู้บริโภคที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และกำลังดำเนินการเพื่อลดของเสียให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • Eco Considerers ผู้บริโภคที่มีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและขยะพลาสติก แต่ไม่ได้ดำเนินการเพื่อลดขยะ
  • Eco Dismissers ผู้บริโภคที่มีความสนใจในสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ในการลดของเสีย

 

แม้ว่าโดยรวมมีตัวเลขที่ลดลง แต่อำนาจการจับจ่ายของ Eco Actives ยังคงมีมูลค่า 3.76 แสนล้านดอลลาร์ สำหรับตลาด FMCG ในปี 2022 Kantar คาดการณ์ว่ากลุ่ม Eco Actives จะเติบโตเป็น 7.63 แสนล้านดอลลาร์ ภายในปี 2027 ในสถานการณ์ในแง่ลบ หรือ 1.12 ล้านล้านดอลลาร์ หากมีสถานการณ์ในแง่บวก โดยผู้บริโภคที่มีความสนใจในเรื่องความยั่งยืนทั่วโลกมีมูลค่า 1.14 ล้านล้านดอลลาร์ ในการใช้จ่ายในปี 2022

 

วิกฤต ‘ค่าครองชีพ’ กำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกือบครึ่ง (45%) ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า การดำเนินการด้านความยั่งยืนนั้นยากขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดทางสังคมหรือทางการเงิน รายงาน Kantar’s Sustainability Sector Index ฉบับล่าสุดเปิดเผยว่า ค่าครองชีพส่งผลให้สินค้าด้านความยั่งยืนกลายเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยของผู้บริโภคที่ร่ำรวย 

 

งานวิจัย 2022 Who Cares, Who Does? ตอกย้ำประเด็นนี้ ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร แบรนด์ชั้นนำ 20 อันดับแรกที่ตอบโจทย์ได้ดีต่อกลุ่ม Eco Actives โดยเฉลี่ย 75% นั้นมีราคาแพงกว่าราคาเฉลี่ยในหมวดหมู่สินค้าเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางการเงินอาจส่งผลให้แบรนด์เผชิญกับความท้าทาย โดยในตลาด FMCG ทั้งหมด แบรนด์ที่มีราคามากกว่า 10% ของค่าเฉลี่ยของราคาในหมวดหมู่สินค้า กำลังประสบกับส่วนแบ่งทางการตลาดที่ลดลง

 

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์นั้นมีช่องว่างจำนวนมหาศาล ระหว่างค่านิยมของผู้บริโภคและการลงมือทำของพวกเขา 62% ของผู้บริโภคพยายามซื้อสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม มีเพียง 24% เท่านั้นที่หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่บรรจุด้วยพลาสติกอย่างเป็นประจำ ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสทางการตลาดสำหรับแบรนด์ในการช่วยให้ผู้บริโภคปิดช่องว่างเหล่านี้ ซึ่งมีโอกาสถึง 9.91 แสนล้านดอลลาร์ สำหรับตลาด FMCG ที่พร้อมตอบโจทย์ผู้บริโภคด้านสิ่งแวดล้อม

 

ท่ามกลางสภาวะปัญหาทั่วโลก ตั้งแต่ความขัดแย้งและความไม่มั่นคงทางการเมือง ไปจนถึงอัตราเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายที่ทวีความรุนแรงขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ถูกลดความสำคัญลงสำหรับผู้คนจำนวนมากในชีวิตประจำวัน 

 

ไม่น่าแปลกใจที่ความยั่งยืนและผลกระทบด้านลบในระยะยาวจะไม่ถูกจัดลำดับความสำคัญในช่วงนี้ ยุคหลังการระบาดมีผลเปลี่ยนแปลงชีวิต ในขณะที่ไลฟ์สไตล์มีความยุ่งมากยิ่งขึ้น ผู้คนกลับมาทำงานและเข้าสังคมมากขึ้น จึงมีเวลาน้อยลงดังเช่นที่พวกเขาอาจเคยมีในช่วงปิดเมืองที่บังคับใช้โดยรัฐ นี่หมายถึงการกลับมาหาความสะดวกสบายมากกว่าสินค้าปลอดพลาสติก 

 

Kantar เห็นผู้บริโภคซื้อรีฟิลน้อยลง พฤติกรรมหลีกเลี่ยงพลาสติกลดลง และซื้อขวดเครื่องดื่มพลาสติกมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดอาจเป็นอาการของ ‘การกลับสู่สภาวะปกติ’ วิถีชีวิตในยุคหลังโควิด แต่สิ่งที่แบรนด์ยังคงต้องทำต่อไปคือความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X