×
SCB Omnibus Fund 2024

‘สิงคโปร์’ เล็งเก็บภาษีความมั่งคั่งเพิ่มเติมจากคนรวยในประเทศ แต่ก็ห่วงบรรดาเศรษฐีหอบเงินหนี

21.02.2022
  • LOADING...
‘สิงคโปร์’ เล็งเก็บภาษีความมั่งคั่งเพิ่มเติมจากคนรวยในประเทศ แต่ก็ห่วงบรรดาเศรษฐีหอบเงินหนี

ลอว์เรนซ์ หว่อง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ เปิดเผยกับสำนักข่าว CNBC ว่า สิงคโปร์อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการเรียกเก็บภาษีความมั่งคั่งเพิ่มเติมจากกลุ่มผู้มีรายได้สูงในประเทศ หลังจากที่ในวันศุกร์ที่ผ่านมาสิงคโปร์เพิ่งประกาศจะขึ้นภาษีที่อยู่อาศัยในกรณีที่เจ้าของไม่ได้พักอาศัยอยู่เอง จาก 10-20% เป็น 11-27% ในปี 2023 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 12-36% ในปี 2024 รวมถึงการจัดเก็บภาษีรถยนต์หรูให้สูงขึ้นด้วย

 

รมว.คลังสิงคโปร์ ระบุว่า แผนการจัดเก็บภาษีจากบรรดาเศรษฐีเพิ่มเติมนี้อาจรวมถึงภาษีกำไรจากเงินลงทุน เงินปันผล และความมั่งคั่งประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ดีเขายอมรับว่าแนวคิดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบเชิงลบกับสิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการบริหารจัดการความมั่งคั่งของโลก เนื่องจากกลุ่มคนมั่งคั่งที่จะได้รับผลกระทบจากฐานภาษีใหม่อาจถ่ายเทความมั่งคั่งของตัวเองออกไปยังประเทศอื่นที่เก็บภาษีต่ำกว่า

 

“เรากำลังพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ การจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งถือเป็นความท้าทาย เพราะเราอาจสูญเสียทรัพย์สินและธุรกรรมการเงินของกลุ่มผู้มั่งคั่งในสิงคโปร์ออกไปให้ประเทศอื่น” หว่องกล่าว

 

ทั้งนี้กระทรวงการคลังสิงคโปร์ประเมินว่าการขึ้นภาษีที่อยู่อาศัยและรถยนต์หรูของสิงคโปร์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาจะส่งผลกระทบต่อผู้เสียภาษีราว 1.2% ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้รัฐบาลสิงคโปร์มีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นราว 170 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี 

 

หว่องกล่าวอีกว่า การจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด โดยที่ผ่านมาหลายประเทศได้บังคับเก็บภาษีความมั่งคั่งประเภทต่างๆ จากกลุ่มผู้มีรายได้สูง แต่ปัญหาที่ทุกประเทศต้องเจอจากนโยบายภาษีดังกล่าวคือการไหลออกของเงินทุนของบรรดาเศรษฐีที่ได้รับผลกระทบ

 

“เยอรมนี ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งจากคนรวยไปแล้ว ขณะที่ประเทศในกลุ่ม OECD ที่บังคับใช้กฎหมายประเภทนี้ก็มีจำนวนลดลง จาก 12 ประเทศในปี 1990 เหลือเพียง 3 ประเทศในปี 2020 เราจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ” หว่องกล่าว

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising