×

เลือกตั้ง 2566 : ประวีณ์นุช ภรรยา พล.อ. นพดล สมาชิกวุฒิสภา เลี่ยงตอบสถานะสมรส หลังรัฐธรรมนูญ 2560 ห้ามคู่สมรสเป็น ส.ส. และ ส.ว. ในคราวเดียวกัน

โดย THE STANDARD TEAM
24.06.2023
  • LOADING...
ประวีณ์นุช อินทปัญญา

วันนี้ (23 มิถุนายน) บรรยากาศการรายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26 ที่อาคารรัฐสภาวันที่ 4 ประวีณ์นุช อินทปัญญา มารายงานตัวเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 22 ของพรรคเพื่อไทย เป็นคนแรกของวันนี้ 

 

ประวีณ์นุชเป็นที่รู้จักกันในฐานะภรรยาของ พล.อ. นพดล อินทปัญญา สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ 

 

ขณะที่วันนี้ ประวีณ์นุชมารายงานตัว พบว่ามีการระบุชื่อในเอกสารการรายงานตัวว่า ประวีณ์นุช นามสกุล อินทปัญญา ก่อนจะมีการขอแก้ไขนามสกุล จากนามสกุล ‘อินทปัญญา’ ของ พล.อ. นพดล เป็นนามสกุล ‘เลิศจิตติสุทธิ์’ ของตัวเอง 

 

ทั้งนี้ภายหลังการรายงานตัว ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามถึงกรณีที่ พล.อ. นพดล เป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ห้ามสมาชิกวุฒิสภามีบุพการี คู่สมรสที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในคราวเดียวกัน แต่ ประวีณ์นุชปฏิเสธตอบคำถาม บอกเพียงขอไม่ให้สัมภาษณ์ และเร่งรีบเดินทางออกจากสภาไปทันที 

 

อย่างไรก็ตามจากการสอบถามเรื่องนี้ไปยัง รศ.ดร.เจษฎ์ โทณวณิก อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่าตามรัฐธรรมนูญมาตรา 108 มีการระบุลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา ห้ามบุคคลที่มีบุพการี คู่สมรส หรือบุตร ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือ ส.ว. ข้าราชการการเมืองผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นในคราวเดียวกัน 

 

ซึ่งในกรณีนี้หากประวีณ์นุชยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับ พล.อ. นพพล จะส่งผลต่อคุณสมบัติของ ส.ว. ทันที แต่จะไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของ ส.ส. แต่หากประวีณ์นุชจดทะเบียนหย่าก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งก็ไม่มีปัญหา เพราะรัฐธรรมนูญดูแต่สถานะทางกฎหมายเท่านั้น แต่หากอยู่กินกันฉันสามีภรรยาในทางพฤตินัยไม่ครอบคลุม เหมือนกับกรณีการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ ป.ป.ช. ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการกำหนดขึ้นเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ต้องการแก้ไขปัญหาสภาผัวเมีย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising