×

เสริมความปลอดภัยให้พอร์ตลงทุนด้วย ‘ตราสารหนี้’ ท่ามกลางคลื่นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

17.05.2023
  • LOADING...
ตราสารหนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ Bank of America หรือ BofA ได้เปิดเผยผลสำรวจซึ่งพบว่า สัดส่วนของการจัดสรรการลงทุนของนักลงทุน หรือ Asset Allocation ระหว่างตราสารทุน (หุ้น) และตราสารหนี้ (พันธบัตร) เริ่มเปลี่ยนไป โดยนักลงทุนปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลก เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย 

 

โดยส่วนใหญ่ของผู้ลงทุน หรือราว 63% ของผู้ที่ตอบแบบสำรวจของ BofA คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอลง นับเป็นตัวเลขที่มองโลกในแง่ร้ายที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2022 ซึ่งปัจจัยลบที่ผู้ลงทุนที่ร่วมตอบแบบสำรวจกังวลที่สุดก็คือความกังวลต่อวิกฤตสินเชื่อ และมุมมองนี้ได้ผลักดันให้ผู้ลงทุนมีแนวโน้มที่จะจัดสรรการลงทุนในตราสารหนี้เกิน 10% ของพอร์ต ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2009 หรือในรอบ 14 ปี 

 

ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยในงวดไตรมาส 1 ปี 2023 พบว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิกองทุนตราสารหนี้เติบโตขึ้นจากเงินไหลเข้าสุทธิ โดยกองทุนตราสารหนี้มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 1.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าราว 3% จากมูลค่าเงินไหลเข้าสุทธิ 2.2 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินไหลเข้าในกลุ่มกองทุน Term Fund และกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก และหากนับเฉพาะกองทุน Term Fund ทั้งในและต่างประเทศ จะมีมูลค่าเงินไหลเข้ารวมกันที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีกองทุน Term Fund เปิดใหม่รวม 75 กองทุน

 

ข้อมูลข้างต้นสะท้อนถึงมุมมองที่ยังไม่เป็นบวกมากนักต่อภาคเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งปัจจัยที่กดดันความเชื่อมั่นต่อการลงทุนที่สุดหนีไม่พ้นความเสี่ยงที่เศรษฐกิจประเทศสำคัญจะก้าวเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ Recession จากปัจจัยเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงในหลายๆ ประเทศ ส่งผลให้ธนาคารกลางหลักในหลายประเทศยังคงตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ แม้ว่าจะเริ่มเห็นท่าทีที่ชะลอตัวลงบ้างของนโยบายการเงิน แต่ก็ยังอยู่ในลักษณะที่เข้มงวดอยู่ ซึ่งนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลัก เช่น ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา คือสิ่งที่ผู้ลงทุนทั่วโลกต่างจับตา และใช้เป็นมาตรวัดสำคัญต่อการจัดพอร์ตลงทุน 

 

ในมุมมองของ UOB Wealth Management สภาวการณ์ที่นโยบายปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือที่เราเรียกกันจนชินว่า ‘ดอกเบี้ยขาขึ้น’ มีแนวโน้มที่จะสิ้นสุดลง โดยการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2023 คาดว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย แต่จะยังไม่มีการลดดอกเบี้ยในปีนี้ ส่งผลให้เราจะอยู่ในสภาวะ ‘Higher for longer’ คืออยู่กับภาวะดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานาน และอาจส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ชะลอตัวลง จนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ 

 

ด้านการลงทุน UOB Wealth Management ยังคงแนะนำนักลงทุนจัดพอร์ตที่ทนทาน เพื่อรับมือกับความผันผวนและเศรษฐกิจถดถอย ด้วยสินทรัพย์กลุ่ม Defensive พร้อมกระจายการลงทุนเพื่อป้องกันโอกาสขาดทุนจำนวนมากจากการกระจุกตัวในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป และแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้มากกว่าหุ้น โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัทคุณภาพดีที่มีงบการเงินและกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง โดยเน้นไปที่การลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี (Investment Grade Credit) เพื่อสร้างรายได้สม่ำเสมอและลดความผันผวน อีกทั้งมีความทนทานในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว 

 

ตราสารหนี้ถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่สำคัญในการจัดพอร์ตของนักลงทุน จากภาวะปัจจุบันที่เงินเฟ้อชะลอตัวและเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสชะลอตัวลง ทำให้มีโอกาสที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะหยุดวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นในอนาคต การลงทุนในตราสารหนี้จะมีโอกาสทำกำไรจากราคาตราสารหนี้ที่ปรับตัวสูงขึ้น 

 

โดยกองทุนที่ UOB แนะนำคือ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ (UGIS) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ประเภท Feeder Fund และมีการออกแบบกองทุนให้เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความต้องการหลากหลาย ประกอบด้วย

 

  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนแบบปกติ (UGIS-N) 
  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (UGIS-A)
  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ ชนิดเพื่อการออม (UGIS-SSF)
  • กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (UGISRMF) 

 

กองทุน UGIS จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ กองทุน PIMCO GIS Income Fund (Class I) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไอร์แลนด์ และลงทุนในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือ บริษัทจัดการจะลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด โดยจะลงทุนทั้งในประเทศ และ/หรือต่างประเทศ 

 

นอกจากนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนใน Derivatives เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนเชิงรุก (Active Management) อีกด้วย 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UOB Privilege Banking โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

UOB Privilege Banking

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising