×

ไขวิทยาศาสตร์ความกรอบ ทำไมกินของทอดแล้วรู้สึกดี

04.06.2022
  • LOADING...

หมูกรอบ ไก่ทอด เฟรนช์ฟรายส์ ทงคัตสึ และสารพัดของทอดอีกมากมายบนโลกใบนี้ เคยสงสัยไหมว่าทำไมเมนูเหล่านี้ถึงครองใจคนมากมาย แม้จะกินแล้วอ้วน แต่เราก็ต้องยอมพ่ายแพ้ให้มันทุกที

 

เรากินของทอดเพราะ ‘ความอยาก’ หรือ ‘ความหิว’ กันแน่

จริงๆ แล้วความหิวเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะร่างกายบอกเราอย่างเดียว แต่แค่ได้มองอาหารที่น่ากิน ได้กลิ่นอาหารที่ยั่วยวน หรือแค่นึกถึงอาหารที่ชอบ มันก็ทำให้เราหิวได้เหมือนกัน และเมื่อรู้สึกอยากอาหารมากๆ พวกเมนูที่มีแคลอรีสูงๆ จะดึงดูดใจเราเป็นพิเศษ เพราะมันทั้งอิ่มท้องและมีรสชาติอร่อยถูกใจ

 

แล้วพอท้องเริ่มอิ่ม สมองจะหลั่งเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุข ที่ทำให้เรารู้สึกดี หายเหนื่อย หายเครียด นำไปสู่จุดของการเสพติดว่าของอ้วนๆ แคลอรีสูงๆ คือสิ่งที่อร่อยตอบโจทย์จนต้านไม่ไหว และทำให้อยากกินอีกเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ได้เห็น   

 

ให้ความกรอบเยียวยาหัวใจ ไขความลับจักรวาลว่าของทอดทำงานกับจิตใจเราอย่างไร 

เวลากินอาหารอะไรก็ตาม ไม่ใช้แค่ลิ้นเท่านั้นที่จะรับรู้ความอร่อย เพราะจริงๆ แล้วร่างกายเราใช้ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับความรู้สึกทั้งหมด ทั้งการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และรสชาติ ซึ่งของทอดเท็กซ์เจอร์กรอบๆ เหล่านี้สามารถทำงานตอบโจทย์กับประสาทสัมผัสของเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ

 

  • การมองเห็น เวลาสมองของเราเห็นอะไรมันๆ ไขมันเยอะๆ ความอยากมันจะเอ่อล้นขึ้นมาอย่างรวดเร็ว นั่นเป็นเพราะสมองของเรามีไขมันเป็นองค์ประกอบถึง 60% เพื่อใช้ในการทำงานเชื่อมต่อทั้งระบบในร่างกาย ทำให้เวลาเห็นของทอดๆ มันๆ ชุ่มๆ เราจะรู้สึกน้ำลายไหลเพราะความอยากกินนั่นเอง
  • การได้กลิ่น ก่อนจะเริ่มกัดคำแรก กลิ่นอโรมาสุดยั่วยวนจากของทอดจะตีมาที่จมูกให้เรารู้สึกดี รู้สึกอร่อยตั้งแต่อาหารยังไม่เข้าปาก
  • การได้ยิน งาน ASMR ต้องมา เพราะเสียงดัง ‘กร๊อบ’ คือเป็นอะไรที่แค่ได้ยินก็ฟินแล้ว เนื่องจากสมองของเราเรียนรู้และจำได้ขึ้นใจจากประสบการณ์พึงพอใจที่เราเคยลิ้มรสมันมาก่อน ทำให้เวลาได้ยินเสียงกรอบๆ แล้วเราจะรู้สึกดีทันที 
  • การสัมผัส เกิดขึ้นในขณะที่เราเคี้ยวของกรอบครับทุกคน จังหวะที่ฟันของเราได้สัมผัสและบดเคี้ยวอาหารที่กรอบๆ จนละเอียด มันก็ทำให้เรารู้สึกฟิน ได้ระบาย และคลายเครียดไปในตัว 
  • รสชาติ ไม่จำเป็นต้องบรรยาย เพราะของทอดอร่อยเสมอ  


เลือกกินของทอดอย่างไรให้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

  • กินของทอดไปพร้อมกับอาหารอื่นๆ ที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซับไขมันและขับถ่ายออกไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมนูทงคัตสึ ที่มักจะเสิร์ฟมาพร้อมกะหล่ำปลีฝอย หรือจะกินของทอดควบคู่ไปกับผักสด ผักดอง กิมจิ ที่มีเอนไซม์ช่วยเผาผลาญพลังงานในร่างกาย 
  • เลือกกินของทอดในมื้อเที่ยง เพราะในช่วงเวลานี้ร่างกายจะแอ็กทีฟ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะได้เอาพลังงานไปใช้ต่อได้เต็มที่ ส่วนในมื้อเช้าไม่ควรกินของทอด เพราะจะหนักกระเพาะเกินไป แต่ถ้ากินในมื้อเย็น ไขมันจะถูกใช้ไม่ทัน และไปสะสมอยู่ในร่างกาย
  • กินของที่ทอดเสร็จใหม่ๆ เท่านั้น เพราะหากน้ำมันจากการทอดอาศัยอยู่ในอาหารนานเกินไป จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation) กลายเป็นไขมันไม่ดี ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความอ้วนตามมา หรือถ้าเป็นไปได้ให้เลือกกินของที่ทอดด้วยน้ำมันทอดคุณภาพดีๆ เช่น น้ำมันมะกอก คาโนลา รำข้าว คำฝอย ดอกทานตะวัน ซึ่งพวกนี้จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ยากกว่า

 

เมื่อรู้ทันร่างกายแล้วว่าทำไมคนเราถึงพ่ายแพ้หมดใจให้กับของทอด คราวนี้ก็ต้องลองสังเกตตัวเองกันดูว่าเรามีพฤติกรรมเสพติดความกรอบมากแค่ไหน เพราะถ้ากินบ่อยเกินไปก็อาจมีผลกระทบระยะยาวกับสุขภาพได้ แต่ในเมื่อความกรอบมันห้ามใจยาก ก็ลองนำเคล็ดลับการกินที่ ดร.ข้าว เล่าให้ฟังมาปรับใช้ ทีนี้การกินของทอดก็จะไม่ใช่เรื่องผิดบาปอีกต่อไป

 


 

Credits

 

The Host ดร.ข้าว ต้นสมบูรณ์

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Creative Care Label

Video Editor เสาวภา โตสวัสดิ์

Sound Director กฤตพล จียะเกียรติ

Sound Designer เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Graphic Designer ธนิดา โตวิวัฒน์

Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Channel Admin นิพพิชฌน์ ชุลีนวน

Proofreader วรรษมล สิงหโกมล

Webmaster อารยา ปานศรี

Social Media Admins วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive Officer ชริน จำปาวัน

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X