×

เราจะสร้างอนาคตอย่างไร คำตอบจาก สตีเฟน ฮอว์คิง

13.06.2019
  • LOADING...

เราจะสร้างอนาคตอย่างไร นี่เป็นคำถามที่ตอบได้ยาก และเป็นคำถามที่ท้าทายสำหรับหลายๆ คนที่กลัวกับอนาคตที่ไม่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดเวลาและคาดเดาได้ยากเป็นผลมาจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง

 

เคน นครินทร์ ตอบคำถามโดยอ้างอิงจากหนังสือ คำตอบย่อของคำถามใหญ่ Brief Answers to the Big Questions หนังสือเล่มสุดท้ายของ สตีเฟน ฮอว์คิง ในรายการ Secret Sauce

 


 

เราจะสร้างอนาคตอย่างไร หากอ้างอิงคำถามนี้ในงานเขียนหนังสือ คำตอบย่อของคำถามใหญ่  ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับอนาคต โดยยกตัวอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไว้ในตอนหนึ่งว่า ไอน์สไตน์เป็นคนที่ไม่หวั่นไหวต่อสามัญสำนึกหรือไม่อยู่ในกรอบว่าอะไรก็เป็นไปไม่ได้ ไอน์สไตน์กล้าหาญ ยึดมั่นในแนวคิดที่คนอื่นอาจมองว่าไร้สาระ และนี่เองเป็นคำตอบที่ทำให้ไอน์สไตน์ปลดปล่อยตัวเองเป็นอิสระและมุ่งสู่ความเป็นเลิศจนกลายเป็นอัจฉริยบุคคลแห่งยุคสมัย

 

ในมุมมองของฮอว์คิง กุญแจแห่งความสำเร็จในทุกยุคทุกสมัยคือ ‘จินตนาการ’ ไอน์สไตน์สำเร็จได้เพราะจินตนาการ หรือสมัยที่ฮอว์คิงเป็นเด็ก เขาเป็นคนอยากรู้อยากเห็นว่าอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวทำงานอย่างไร ตอนนั้นเขาใช้วิธีการแยกชิ้นส่วนเพื่อดูกลไก แต่พอโตขึ้นเขาก็ยังทำแบบเดิมคือการค้นหาว่าจักรวาลทำงานอย่างไร จักรวาลอาจจะแกะออกมาดูไม่ได้ แต่สามารถใช้กฎของฟิสิกส์และใช้จินตนาการในการหาคำตอบได้ แม้ในวัยเด็กจะมีความรู้เรื่องจักรวาลน้อยมาก แต่เขากล้าที่จะตั้งคำถามและกล้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่ตัวเองสนใจ

 

ในเรื่องของอนาคต เขาเชื่อมั่นว่าชีวิตทุกคนจะขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ โดยเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เดิมวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก ไม่ว่าจะอยู่ในวงการไหนก็ต้องศึกษาให้ได้มากที่สุด โดยประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่ฮอว์คิงให้ความสนใจคือ

 

1. ภาวะโลกร้อน

การจัดสรรพื้นที่และทรัพยากรสำหรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วสำหรับสิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์ ความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน ความเสื่อมโทรมของมหาสมุทร การตัดไม้ทำลายป่า และโรคระบาด

 

ซึ่งเป็นความเห็นที่ตรงกับ ยูวัล โนอาห์ แฮรารี ผู้เขียนหนังสือ Sapiens และผู้นำระดับโลกในหลายประเทศมองตรงกันว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ใกล้ตัวและสำคัญมาก และโลกก็เล็กเกินไปสำหรับเรา ทรัพยากรธรรมชาติกำลังจะหมดไป เราควรออกไปสำรวจอวกาศเพื่อหาดาวเคราะห์ที่มนุษย์สามารถอยู่อาศัยได้ เราควรออกไปตั้งอาณานิคมบนดาวเคราะห์ดวงอื่น

 

2. ปัญญาประดิษฐ์ดีที่สุดและเลวร้ายที่สุดสำหรับมนุษยชาติ

มนุษยชาติควรตั้งกฎหมายหรือสมาคมเพื่อรองรับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ฮอว์คิงเชื่อว่าคอมพิวเตอร์สามาถเลียนแบบความสามารถทางสมองของมนุษย์และอาจจะเก่งกว่าได้ และมีความเป็นไปได้ที่หุ่นยนต์ไม่สามารถตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนได้อย่างมนุษย์

 

อนาคตยังมีความเป็นไปได้อีกมากมาย โลกและตัวเขาเองปรารถนาให้ทุกคนบนโลกได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ทุกคนต้องเรียนวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน อย่างน้อยคือได้เรียนรู้วิธีคิด โดยปัญหาที่กล่าวไว้ขอให้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการคงอยู่ของมนุษยชาติตามช่วงหนึ่งในหนังสือที่กล่าวว่า

 

“จำไว้ว่าให้มองขึ้นไปบนดวงดาว ไม่ใช่ก้มดูเท้า จงพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณเห็นและคิดถึงสิ่งที่ทำให้จักรวาลกำเนิดขึ้นมา จงเป็นคนอยากรู้อยากเห็น และไม่ว่าชีวิตจะดูยากเข็ญเพียงใด ต้องมีบางอย่างหรือบางสิ่งที่คุณสามารถทำได้และประสบความสำเร็จเสมอ ที่สำคัญคืออย่ายอมแพ้ ปลดปล่อยจิตนาการของคุณแล้วเดินหน้าเพื่อสร้างอนาคต”

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X