×

‘โทรศัพท์ใครดัง?’ Phantom Ringing Syndrome อาการใหม่ของคนยุคมิลเลนเนียล

30.12.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • แฟนธอม ริงกิง ซินโดรม (Phantom Ringing Syndrome) คือคำเรียกอาการที่เชื่อว่าโทรศัพท์กำลังดังอยู่ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เป็นเหตุให้หยิบโทรศัพท์ออกมาเช็กบ่อยครั้ง ชื่อเล่นของอาการนี้คือ ‘ริงไซตี’ (Ringxiety) ที่ตั้งโดยจิตแพทย์ เดวิด ลารามี (David Laramie) โดยเกี่ยวโยงกับอาการแฟนธอม ไวเบรชัน ซินโดรม (Phanthom Vibration Syndrome) หรือความรู้สึกที่ว่าโทรศัพท์สั่นทั้งที่ไม่ได้สั่น
  • ดร.โรเบิร์ต โรเซนเบอร์เกอร์ (Dr. Robert Rosenberger) จากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) เผยว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจาก ‘กระบวนการเรียนรู้ของร่างกาย’ ที่มองว่าเทคโนโลยีหรือโทรศัพท์มือถือกลายเป็น ‘ส่วนหนึ่งของร่างกาย’

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการใช้ชีวิตในปัจจุบันก็ปวดเศียรจะแย่ ไหนจะหายไปพักกลางวัน 30 นาที เพื่อค้นพบว่าอีเมลงานเด้งเข้ามารัวๆ มีเมสเสจตัวแดงที่ยังไม่ได้อ่านในกรุ๊ปไลน์ออฟฟิศอีกรวมแล้วหลักร้อย ไหนจะต้องตอบเมสเสจเพื่อนในเฟซบุ๊กเมสเซนเจอร์ว่าสรุปจะไปงานแต่งเพื่อนด้วยกันไหม นี่ยังไม่รวมข้อความในวอทซ์แอป หรือใน Tinder ของคนที่คุณแมตช์เมื่อ 3 วันก่อนที่ยังหาเวลาตอบไม่ได้เสียที

 

ชีวิตยุคนี้มันช่างยาก

 

 

Photo: giphy.com

 

แต่ถ้าคุณคิดว่า ‘เอาอยู่’ แล้วล่ะก็ คุณอาจมีเรื่องต้องกังวลใหม่ เพราะสิ่งที่เรียกว่า ‘แฟนธอม ริงกิง ซินโดรม’ (Phantom Ringing Syndrome) อันเป็นประเด็นที่กำลังเป็นที่พูดถึง แต่อย่ากังวลไป แม้จะชื่อเหมือนผีแฟนธอม ออฟ ดิ โอเปรา แต่สิ่งนี้กลับสถิตอยู่กับเราทุกวี่วัน โทรศัพท์มือถือของคุณนั่นไง

 

อะไรคือ แฟนธอม ริงกิง ซินโดรม

สิ่งนี่คือคำเรียกอาการที่เชื่อว่าโทรศัพท์ของคุณกำลังดังอยู่ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ จนหยิบโทรศัพท์มาเช็กบ่อยครั้ง ชื่อเล่นของอาการนี้คือ ‘ริงไซตี’ (Ringxiety) ที่ตั้งโดยจิตแพทย์ เดวิด ลารามี (David Laramie) โดยเกี่ยวโยงกับอาการแฟนธอม ไวเบรชัน ซินโดรม (Phanthom Vibration Syndrome) หรือความรู้สึกที่ว่าโทรศัพท์สั่นทั้งที่ไม่ได้สั่น

 

สมัยยุค Blackberry จะมีอาการที่ว่าไหมนะ

 

อาการนี้พบได้บ่อยแค่ไหนกัน

สำนักข่าว CBS News เผยว่า ‘บ่อยมาก’ โดยหยิบผลการศึกษาที่ทำกับนักศึกษาอเมริกันจำนวนกว่า 290 คนมาเป็นตัวอย่าง ผลการศึกษาดังกล่าวระบุว่า 90% ของนักศึกษาพบว่าตนคิดไปเองว่าโทรศัพท์ดังหรือสั่น โดย 40% บอกว่าเกิดขึ้นเฉลี่ยอย่างต่ำ 1 ครั้งต่อสัปดาห์

 

เกิดจากอะไร

ดร.โรเบิร์ต โรเซนเบอร์เกอร์ (Dr. Robert Rosenberger) จากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (Georgia Institute of Technology) เผยกับหนังสือพิมพ์ The Independent ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดจาก ‘กระบวนการเรียนรู้ของร่างกาย’ นิสัยที่เกิดจากการเรียนรู้ของร่างกายนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงว่าร่างกายรับรู้ว่าโทรศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และเรียนรู้ที่จะไวต่อการตอบสนองของการสั่นของโทรศัพท์เมื่อมีคนโทรเข้าหรือได้รับการแจ้งเตือนหรือส่งข้อความ

 

Photo: giphy.com

 

‘โทรศัพท์ใครสั่น?’ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดถึงสิ่งนี้บ่อยครั้ง หรือหูแว่วคิดว่าโทรศัพท์ดังอยู่บ้างพอกัน สุดสัปดาห์นี้หาซีรีส์แจ่มๆ สักเรื่อง หรือหากิจกรรมน่าทำออกไปทำกันดูคงดีไม่น้อย

 

หรือจะลองทำตามตาราง Smartphone Detox สำหรับ7 วันดูก็ได้

 

อ่านเรื่อง แสงสีฟ้า ศัตรูความงามตัวฉกาจของคนยุคดิจิทัล ได้ที่นี่

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising