หลังปรับขึ้นราคาเบอร์เกอร์ไปได้ไม่นาน McDonald’s เริ่มโดนลูกค้าต่อต้าน ทำให้การสั่งซื้ออาหารต่อบิลลดลง แถมยังไม่ซื้อเฟรนช์ฟรายส์เพิ่มด้วย แต่ซีอีโอยังมั่นใจว่าบางตลาดยังเติบโตได้ต่อเนื่อง
สำนักข่าว CNBC รายงานว่า คริส เคมป์ซินสกี ซีอีโอ McDonald’s ออกมาระบุว่า ลูกค้าเริ่มต่อต้านการขึ้นราคาด้วยการสั่งซื้ออาหารลดลง ส่วนใหญ่จะสั่งซื้อเมนูบิกแมคและแมคนักเก็ต และไม่ค่อยสั่งเมนูเฟรนช์ฟรายส์เพิ่ม ทำให้การซื้อสินค้าต่อบิลอยู่ที่ตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น
“แน่นอนว่าการต่อต้านของผู้บริโภคเป็นผลมาจากกลยุทธ์การขึ้นราคา ซึ่งในบางตลาดก็ค่อนข้างทำได้ดี แต่ในบางตลาดการขึ้นราคาก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ แต่เรายังมั่นใจว่ารายได้ในไตรมาสแรกของปีจะสามารถเติบโตขึ้น จากการปรับขึ้นราคาและความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในตลาดอเมริกา” คริส เคมป์ซินสกี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร McDonald’s กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- อั้นไม่ไหว! McDonald’s ในญี่ปุ่น ขอปรับราคารอบ 2 ทำ ‘เบอร์เกอร์-ชุดเมนูสุดคุ้ม’ ขึ้นกว่า 80% รับต้นทุนพุ่งไม่หยุด
- McDonald’s อัปเกรด 5 เมนูเบอร์เกอร์สุดฮิต ชูจุดขายขนมปังนุ่ม ชีสเยิ้ม ซอสทะลัก อร่อยขึ้นกว่าเดิม! เริ่มปรับใช้ในต่างประเทศ ส่วนไทยอาจต้องรอไปก่อน
- McDonald’s ไม่ขอยอมแพ้ใน ‘ตลาดไก่ทอด’ ดึง ChatGPT มาช่วยค้นหารสชาติที่ลูกค้าชอบ เชื่อจุดเด่นจะช่วยสร้างการเติบโตต่อเนื่อง
หากย้อนไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมา McDonald’s ในญี่ปุ่น ปรับขึ้นราคาเมนูอาหารกว่า 80% หรือราวๆ 10-150 เยน (2-38 บาท) ซึ่งในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ทำให้เมนูประเภทเบอร์เกอร์คลาสสิกมีราคาแพงขึ้น 170 เยน (43 บาท) จากราคาเดิม 150 เยน (38 บาท)
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีเพียงแค่ลูกค้า McDonald’s ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Coca-Cola หลังจากขึ้นราคาเครื่องดื่มไป ก็ทำให้ตลาดชะลอตัวลง ไม่เว้นแม้แต่ PepsiCo ที่กล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า จะไม่ขึ้นราคาอีก หลังจากปริมาณการขายในไตรมาสแรกลดลง 2%
สอดคล้องกับ เจมส์ ควินซีย์ ซีอีโอ Coca-Cola กล่าวในที่ประชุมของบริษัทว่า หลังจากบริษัทขึ้นราคาสินค้าได้เป็นเวลา 1 ปี เพื่อรองรับต้นทุนและวัตถุดิบต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของสงครามยูเครน-รัสเซีย แน่นอนว่าทำให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
อ้างอิง: