ผลการศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports เผยให้เห็นว่าการนอนน้อยลงเพียง 90 นาทีต่อคืนสามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดในผู้หญิงวัย 30-40 ปีได้ภายในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ ทีมวิจัยนำโดย Dr. Sanja Jelic ได้ทำการศึกษาผู้หญิง 35 คนที่มีอายุเฉลี่ย 36 ปี โดยให้พวกเธอนอนตามปกติ 7-9 ชั่วโมงเป็นเวลา 6 สัปดาห์ และหลังจากนั้นให้เลื่อนเวลาเข้านอนออกไป 90 นาที (ทำให้นอนเหลือประมาณ 6 ชั่วโมง) อีก 6 สัปดาห์ ผลการตรวจพบว่าในช่วงที่นอนน้อยลง เซลล์เอนโดทีเลียลที่บุผนังหลอดเลือดแสดงสัญญาณของภาวะออกซิเดทีฟสเตรสอย่างชัดเจน
สรุปง่ายๆ คือการนอนน้อยลง 1.5 ชั่วโมงจากปกติ (เหลือประมาณ 6 ชั่วโมงต่อคืน) ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดในผู้หญิงอายุ 30-40 ปีในเวลาเพียง 6 สัปดาห์ และเสี่ยงจะเกิดภาวะที่เรียกว่า ‘ออกซิเดทีฟสเตรส’ ในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
ทำไมต้องกังวล?
เพราะโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้หญิง ซึ่งหากนอนไม่พอตั้งแต่วันนี้ จะสร้างความเสียหายเริ่มตั้งแต่อายุ 30 ปี และสะสมไปเรื่อยๆ กระทั่งหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงประมาณ 70% มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหัวใจมากขึ้น
วิธีแก้ไขง่ายๆ ที่ทำได้จริง
เริ่มจากนอนให้ครบ 7-9 ชั่วโมงทุกคืน และพยายามเข้านอน-ตื่นนอนเวลาเดิมทุกวันหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และลองอาหารเสริม เช่น แมกนีเซียม หรือเมลาโทนิน เพื่อช่วยให้นอนหลับดีขึ้น การนอนให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่รบกวนการนอน เช่น ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การทำงานหนัก การดูแลลูกหรือพ่อแม่สูงอายุ และความเครียด
#การนอนหลับ #สุขภาพหัวใจ #โรคหัวใจในผู้หญิง #ออกซิเดทีฟสเตรส #การนอนไม่เพียงพอ #การนอน #วิจัยการนอนหลับ #แมกนีเซียม #เมลาโทนิน #การนอนหลับที่มีคุณภาพ #ตารางการนอนที่สม่ำเสมอ #สุขภาพผู้หญิง #หลอดเลือด #สุขภาพหลอดเลือด #ปัญหาการนอนหลับ
ภาพ: Shutterstock
อ้างอิง: