เมื่อพูดถึงการดูแลตัวเอง สิ่งแรกที่เรามักจะให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ ‘ผิวหน้า’ ยิ่งเจอมลภาวะ เมกอัพ หรือความร่วงโรยที่เกิดขึ้นตามวัยแล้ว เราต่างก็ต้องพึ่งพาตัวช่วยฟื้นบำรุงผิวให้ดูสุขภาพดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการทาสกินแคร์หรือฝากหน้าไว้กับคลินิก
แต่สิ่งที่ใครหลายคนมักมองข้ามก็คือ เรื่องสุขภาพ ‘หนังศีรษะและเส้นผม’ ยิ่งเป็นยุคที่เราสับขาเข้าซาลอนทำเคมีเป็นประจำแล้ว ยิ่งต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ผิวหน้า เพราะเหนือกว่าปัญหาผมแห้งเสียแตกปลายคือปัญหาผมร่วง ผมบาง ซึ่งถ้าไม่ดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจนำไปสู่ปัญหาหัวล้านได้ในที่สุด
ชาวผมร่วงอาจจะเริ่มสงสัยกันแล้วว่า ทุกวันนี้เราดูแลหนังศีรษะและเส้นผมถูกวิธีหรือไม่ แชมพูที่ใช้ตอบโจทย์แค่ไหน การตัดสั้นลงเรื่อยๆ เป็นวิธีที่ช่วยได้จริงหรือเปล่า หรือถ้าต้องพึ่งพาแพทย์ วิธีการรักษาแบบใดที่จะช่วยลดและป้องกันผมร่วงได้จริง
ความสงสัยทั้งหมดนี้เราไปไขคำตอบมาให้แล้วกับแพทย์ผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปีในแวดวงความงามผู้หลงใหลในศาสตร์ชะลอวัยและหัตถการฉีดอย่าง หมอปอ-พญ.พัชรา อุทัยพัฒน์ Co-founder & Medical Director ที่ Astrid Anti-Aging Studio
Astrid Anti-Aging Studio เป็นสตูดิโอเพื่อการชะลอวัยสมชื่อ ซึ่งยึดมั่นในคอนเซปต์ ‘Longevity Aesthetic at Every Age’ หรือความสง่างามในทุกช่วงวัย ที่นี่เลยมีโปรแกรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ‘360 Degree of Longevity Aesthetic’ หรือเรียกง่ายๆ ว่ามีการดูแลแบบครบ จบ จากภายในสู่ภายนอก
คำแนะนำและแนวทางในการป้องกันผมร่วงตามแบบฉบับของหมอปอจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นมาดูกัน
คนไทยในปัจจุบันมักเจอปัญหาเรื่องผมร่วง-ผมบางเนื่องด้วยไลฟ์สไตล์ จากการที่หมอปออยู่ในแวดวงความงามมากว่า 10 ปี คนไข้ในยุคนี้มาด้วยปัญหาผมที่แตกต่างจากยุคก่อนมากไหม
หมอปอ: ต่างเยอะเลยค่ะ แต่ก่อนจะมีแต่เคสที่เป็นหนักๆ คือเป็นโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) หรือว่าเป็นผื่นแพ้ผิวหนังที่หนังศีรษะ ถ้าเป็นผมร่วงจะเป็นเคสผู้ชายที่เป็นหนักๆ แล้วถึงจะมาปรึกษา
แต่เดี๋ยวนี้เคสค่อนข้างหลากหลายมากขึ้น คนเรากังวลมากขึ้น เขารู้สึกว่าการที่ผมบางมันดูไม่เฮลตี้ มันดูไม่สวย เขาก็จะเริ่มมาปรึกษากันตั้งแต่ อุ๊ย! ทำไมหนูผมร่วงเยอะขึ้น, ทำไมผมมัน, ทำไมมันคัน ก็คือปัญหาจะหลากหลายขึ้นมาก แล้วก็จะเริ่มมาปรึกษาตั้งแต่เนิ่นๆ
ส่วนใหญ่เป็นวัยประมาณเท่าไร
หมอปอ: ยุคนี้นี่ 20-30 ปีก็มาแล้วค่ะ
แต่ถ้าเป็นยุคก่อนล่ะ?
หมอปอ: ยุคก่อนจะไม่ค่อยค่ะ คือยกเว้นว่าเขามีปัญหา มีตัวโรค ก็จะเป็นกลุ่มผู้ชายอายุ 40-50 ปีไปเลย แต่เดี๋ยวนี้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงก็เริ่มมาปรึกษากันค่อนข้างเร็ว ทุกคนเหมือนตระหนักแล้วก็รู้สึกว่ามันจะเป็นปัญหาในอนาคต
เกี่ยวไหมว่ายุคนี้เราหันมาใส่ใจตัวเอง เสริมลุคตัวเอง ซึ่งส่งผลไปถึงการทำเคมีผมมากขึ้น
หมอปอ: เกี่ยวมากเลยค่ะ เพราะว่าหลายๆ คน โดยเฉพาะเคสผู้หญิงก็แล้วกัน เพราะว่าจะทำเคมีกันเยอะ จะมาปรึกษาเรื่องผมร่วงและผมบางค่อนข้างบ่อย เพราะว่าทำทั้งฟอก ทั้งดัด บางคนมียืด ทำสีบ่อยมาก ยังไม่รวมเรื่องของไลฟ์สไตล์ ความเครียด กินไม่ค่อยดีอะไรแบบนี้
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น มีปัจจัยด้านอื่นอีกไหมที่ส่งผลให้ผมร่วง
หมอปอ: มีเรื่องพันธุกรรม กรรมพันธุ์ค่ะ โดยหลักการแล้วเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุดเลยด้วยค่ะ ถ้ากรรมพันธุ์ครอบครัวเรามีผมค่อนข้างบาง แนวโน้มเราก็ค่อนข้างจะไปทางนั้นแล้วเบื้องต้น มีทุนต่ำกว่าคนอื่น ยังไม่รวมเรื่องการทำเคมี อาหารการกิน และไลฟ์สไตล์
พูดถึงการกิน อาหารอะไรที่ไปกระตุ้นให้ผมร่วงได้บ้าง
หมอปอ: อาหารที่เป็นเคมีทั้งหลายเลยค่ะ ที่ใส่พวกสารกันบูด สารกันเสีย สารสังเคราะห์ การบริโภคมากๆ จะทำให้สุขภาพเราไม่สมดุล ส่งผลไปถึงผมด้วย ถ้ากินเค็มมากเกินไปก็จะมีเรื่องโซเดียม พวกผงชูรสมันจะมีส่วนประกอบของโซเดียม ก็จะส่งผลเหมือนกัน
เรียกง่ายๆ ว่าอาหารแปรรูปทั้งหลาย?
หมอปอ:ใช่ค่ะ
ไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมแบบไหนที่ส่งผลให้ผมร่วง-ผมบางมากที่สุด
หมอปอ: ในเชิงหลักฐาน งานวิจัยอาจจะยังไม่ค่อยมีเท่าไรที่ฟันธงว่าอะไร แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าจะเป็นกลุ่มฟอกสีผม การฟอกสีหรือทำเคมีที่โดนหนังศีรษะเยอะๆ น่าจะร้ายแรงที่สุด เพราะว่าจุดสำคัญของการดูแลผมคือหนังศีรษะ อะไรก็ตามที่เราไปกระทบกับหนังศีรษะน่าจะมีผลกระทบเยอะที่สุด
การดัดยกโคนก็ด้วย?
หมอปอ: ใช่เลยค่ะ ปลายผมไม่เท่าไร แต่ถ้าไปโดนหนังศีรษะปุ๊บ มีแสบ มีรู้สึกเบิร์น ก็จะเป็นตัวการสำคัญ
อย่างคนที่ยังทำเคมีเป็นประจำทุกวันนี้ แต่ทุกอย่างยังปกติดี เป็นไปได้ไหมว่าเอฟเฟกต์จะเกิดในอีก 5 ปี
หมอปอ: เป็นไปได้ค่ะ มันเกิดการสะสมได้ ทำให้สุขภาพหนังศีรษะเราไม่ดี
วันนี้เรามีสัญญาณอะไรที่จะบอกได้ไหมว่า ถึงเวลาที่ต้องไปหาหมอแล้วก่อนหัวจะล้าน
หมอปอ: ง่ายที่สุดคือผมร่วงเยอะ ร่วงเยอะขึ้นอย่างสังเกตได้ อันนี้น่าจะเป็นสัญญาณแรกๆ เลยค่ะ ถ้าอาการอื่น เช่น แสบหรือคันตลอดเวลา อันนั้นจะเริ่มไปในข่ายที่หนังศีรษะอ่อนแอมาก แต่สัญญาณแรกๆ มักจะเป็นเรื่องของผมร่วงอย่างเห็นได้ชัด
หรือบางคนเห็นแสกผมเริ่มชัด?
หมอปอ:ใช่ค่ะ เห็นหนังศีรษะมากขึ้นอะไรแบบนี้ถือว่าเริ่มเป็นอีกเลเวลหนึ่งแล้ว
หมอปอมีคำแนะนำในการลดผมร่วงโดยวิธีธรรมชาติอย่างไรบ้าง สำหรับคนที่ยังไม่อยากพึ่งพาหมอ
หมอปอ: อย่างที่บอกเลย ปัจจัยที่มันเอฟเฟกต์คือเรื่องอาหารการกิน การกินวิตามินเสริมอาจจะช่วยได้บ้าง กลุ่มวิตามินที่แนะนำ เช่น Zinc, Biotin หรือ Vitamin E ในส่วนของไลฟ์สไตล์ก็เกี่ยว ความเครียด การดูแลเส้นผมในชีวิตประจำวัน เช่น สครับหนังศีรษะบ้าง การสระที่มีการเว้นช่วงที่เหมาะสม
เว้นช่วงที่เหมาะสมหมายถึงไม่สระทุกวัน?
หมอปอ: ขึ้นอยู่กับแต่ละคน อาจจะบอกไม่ได้ว่าสระทุกวันไม่ดี มันขึ้นอยู่กับสภาพหนังศีรษะด้วย แล้วก็ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ เหมือนเวลาเราดูแลผิวหน้า เราล้างหน้าทุกวัน แต่ถ้าเราเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะกับผิวเราคือไม่แห้งตึงเกินไป ไม่ทำให้เกราะป้องกันผิวเราเสีย มันก็โอเค แต่ถ้าเมื่อไรที่เราใช้สบู่แรงมาก ใช้สบู่ก้อนล้างหน้าทุกวัน ก็คือส่งผลเลย เช่นเดียวกับหนังศีรษะเลยค่ะ
พูดถึงผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันเรามีตัวเลือกในกลุ่มบำรุงหนังศีรษะและลดผมร่วงเยอะมากในท้องตลาด หมอปอมีเทคนิคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อย่างไร
หมอปอ: ถ้าส่วนตัวจริงๆ แนะนำให้เลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้ค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์ที่เขามีการค้นคว้า มีวิจัย สารต่างๆ ที่เขาเอามาใช้มีงานวิจัยรองรับ อันนี้คิดว่าเป็นหลักที่สำคัญที่สุดในการเลือกผลิตภัณฑ์ผมร่วง เพราะผมร่วงเป็นเรื่องรักษายาก ถ้าเราจะหาอะไรสักอย่างมาช่วยจะต้องดูเรื่องส่วนผสมเป็นหลัก
ส่วนผสมหลักที่ช่วยลดผมร่วงตัวไหนที่เราควรมองหา
หมอปอ: ถ้ามีตัวยานิดหนึ่งจะเป็นตัว Minoxidil แต่อันนี้ก็อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่หาซื้อไม่ได้ทั่วไปขนาดนั้น ถ้าเปอร์เซ็นต์เยอะก็อาจจะต้องมาจากคุณหมอจ่าย
นอกจากตัวนี้แล้วมีตัวไหนที่หาซื้อได้ง่ายขึ้นบ้าง
หมอปอ: ตัวอื่นๆ มันจะเป็นสารที่ไม่ได้เป็นการยอมรับกันทั่วโลก อาจมีที่ทดลองว่ามันโอเค อย่างเช่น สารสกัดจากรำข้าว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวที่ยืนหนึ่งเลยคือที่มีตัวยา Minoxidil
เราพูดถึงการทำเคมีไปแล้ว มาพูดถึงเรื่องทรงผมกันบ้าง การรวบผมตึงเปรี๊ยะสามารถส่งผลให้หัวล้านได้ไหม
หมอปอ: จริงๆ เกี่ยวนิดหนึ่งค่ะโดยเฉพาะบริเวณด้านหน้า อาจทำให้ผมมันถอยร่นได้ ยิ่งถ้าดึงตึงทุกวันก็มีส่วน เพราะมันมีแรง Force
แล้วคนที่เขาสระผมบ่อยๆ ทุกวัน เช่น อาชีพนางแบบ นายแบบ หรือคนดัง ที่เจอผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมตลอด
หมอปอ: ส่งผลค่ะ การเจอเคมี เจอเจล ทำให้เราต้องล้าง ต้องสครับ บางทีมันทำให้หนังศีรษะแห้ง
เชื่อว่าอีกวิธีที่เรามักทำเวลาผมร่วงเยอะๆ คือการตัด บางคนอยากไว้ผมยาว แต่พอผมร่วงเยอะก็แก้ปัญหาโดยการตัดให้สั้นลง สิ่งที่ทำเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องไหม
หมอปอ: ถ้าส่วนตัวมองว่าไม่ค่อยเกี่ยว ที่รู้สึกว่าผมร่วงน้อยลงเพราะเส้นผมมันสั้นลง แต่จริงๆ จำนวนเส้นมันอาจจะเท่ากัน ยกเว้นว่าอย่างที่บอกคือผมยาวแล้วต้องรวบตึงหนักมากอาจจะเกี่ยวนิดหน่อย แต่โดยรวมคิดว่าไม่เกี่ยวกัน อาจจะเป็นที่การดูแลหนังศีรษะมากกว่า
ถ้าให้เลือกตัดพฤติกรรมหนึ่งอย่างที่ทำแล้วรุนแรงต่อหนังศีรษะที่สุด คุณหมอแนะนำให้เลือกตัดอะไร
หมอปอ: ที่สุดแล้วคือการทำเคมีค่ะ
ค่อนข้างยากสำหรับคนยุคนี้
หมอปอ: ยากค่ะ (หัวเราะ) ยากมากเลย อย่างน้อยสมมติคนที่เคยฟอกก็ต้องงดก่อน หรือทำให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากเรื่องผมร่วง เชื่อว่าอีกปัญหาหนึ่งที่มาตามวัยคือเรื่องผมหงอก แล้วเวลามีผมหงอก สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำคือถอนผม บางคนก็จะบอกว่ายิ่งถอนยิ่งล้าน ในมุมมองคุณหมอ การถอนผมทำให้หัวล้านจริงไหม
หมอปอ: ไม่เกี่ยวค่ะ การถอนไม่ได้ทำให้หัวล้านมากขึ้น ถอนก็คือแค่ว่าเราดึงเส้นนั้นออก ไม่ได้เกี่ยวกันค่ะ แต่เรื่องหงอกนี่ยากนิดหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็เป็นกรรมพันธุ์อย่างที่แจ้ง บางคนหงอกเร็ว
คำแนะนำคือ ถ้าเราอยากชะลอไม่ให้มันหงอกเร็วขึ้น อาจต้องเริ่มสนใจมาดูแล มาทำพวกเลเซอร์กระตุ้นเส้นผม กระตุ้นรากผม ก็ช่วยชะลอการเกิดได้
ต้องอธิบายก่อนว่า ผมหงอกเกิดจากเซลล์การผลิตเม็ดสีที่ออกมากับเส้นผมมันเสื่อมหรือมันไม่ทำงาน อยู่ดีๆ เขาก็ตัดสินใจหยุดทำงาน ทีนี้การที่เราทำพวกหัตถการที่กระตุ้น เช่น ฉายแสงหรือเลเซอร์ คือกระตุ้นทำให้รากผมเรามีการซ่อมแซมตลอดเวลา ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มันหงอกเร็วได้
แสดงว่าถ้าคนที่ยังอายุไม่มาก ขึ้นนิดขึ้นหน่อยถอนได้ แต่ถ้ามันเริ่มลามแล้วมาหาหมอเถอะ?
หมอปอ: ใช่ค่ะ
เมื่อครู่มีเรื่องผมหงอกแล้ว อีกปัญหายอดฮิตแน่นอนว่าเป็นเรื่องรังแค รังแคสัมพันธ์กับอาการผมร่วงไหม
หมอปอ: สัมพันธ์ค่ะ สัมพันธ์ตรงที่ว่ารังแคก็เป็นหนึ่งในสัญญาณของสุขภาพหนังศีรษะที่ไม่ดี พอสุขภาพหนังศีรษะไม่ดี แน่นอนว่าบางทีมันจะตามมาด้วยเรื่องผมร่วง แล้วเรื่องแชมพูก็มีผลมาก คือรังแคมีหลายแบบ จากหนังศีรษะแห้งคือเป็นขุยร่วงเลย หรือว่ารังแคจากหนังศีรษะที่มันแล้วเป็นเหมือนเชื้อรา อันนี้ก็เป็นรังแคได้เหมือนกัน
อย่างนี้วิธีการป้องกันก็เหมือนกัน
หมอปอ: ใช่ ก็ต้องเข้ามาวิเคราะห์แล้วก็ดูแล
การที่ลูกค้าหนึ่งคนก้าวเข้ามาในสตูดิโอ ทางคลินิกมี Protocol อย่างไรบ้าง
หมอปอ: เริ่มต้นเลยคือการ Consult เราจะมีเครื่องตรวจหนังศีรษะ ซึ่งหมอก็จะดูก่อนว่าสภาพหนังศีรษะเป็นอย่างไร เส้นผมเป็นอย่างไร ตรงนี้จะช่วยบอกเราถึงปัญหาที่แอบซ่อนอยู่ เพราะบางทีเราไม่เคยรู้หรอกว่าหนังศีรษะหน้าตาเป็นอย่างไร หมอก็จะส่องให้ดู
แล้วเราก็จะเก็บภาพเพื่อเป็นการติดตามผลให้ด้วย ทีนี้พอเราวิเคราะห์เสร็จแล้ว หมอก็จะแนะนำสิ่งที่เขาควรทำ ก็จะคุยกันถึงเรื่องระยะเวลาการรักษาและความคาดหวัง
โปรแกรมที่ Astrid Anti-Aging Studio ให้บริการจะเป็น Preventing Hair Loss โปรแกรมนี้มีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง
หมอปอ: ถ้าขั้นตอนการทำจะเริ่มจากทรีตเมนต์ก่อนเป็นอันดับแรกจาก Biologique Recherche ทรีตเมนต์จะมีการสระ ผลัดเซลล์ผิวหนังศีรษะก่อน แล้วก็จะมาเป่าแห้งนิดหน่อยก่อนที่จะเลเซอร์
_DSF1395_DSF1411
เลเซอร์ที่ใช้มีชื่อว่า ‘Lase MD’ ตัวเครื่องเขาจะเป็น Thulium Laser หน้าที่ของเขาคือเปิดช่องให้กับหนังศีรษะ
พอเปิดช่องปุ๊บ เวลาเราลงตัวยา HMPF Growth Factor Complex มันจะซึมลงไปค่อนข้างลึกโดยที่เราไม่ต้องใช้เข็ม
แล้วปิดท้ายด้วยตัวฉายแสง LLLT (Low-Level Laser Therapy) กระตุ้นเซลล์รากผมให้แข็งแรงและหนาขึ้น รวมๆ แล้วอาจจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงนิดๆ
ซึ่งสเต็ป Lase MD จะต้องเป็นคุณหมอทำ?
หมอปอ:ใช่ค่ะ หมอจะเป็นคนทำตัวเลเซอร์
เราสามารถทำตัวใดตัวหนึ่งแยกได้ไหม
หมอปอ: ทำแยกกันได้ค่ะ อาจจะเริ่มจากครั้งแรกทำพร้อมกันก่อน ครั้งต่อไปหมออาจจะนัดมาทำแค่ตัวเลเซอร์ก็ได้ หรือถ้ามีเวลาเข้ามาบ่อยหน่อยอาจเข้ามาแค่ฉายแสงได้เหมือนกัน
นอกเหนือจากโปรแกรมที่หมอปอกล่าว เห็นว่าปัจจุบันมีนวัตกรรมอื่นๆ ที่ช่วยเรื่องผม อย่างเช่น การปลูกผม หมอปอมีมุมมองอย่างไรกับการรักษาด้วยวิธีนี้
หมอปอ: แต่ละอย่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน อย่างการปลูกผมก็จะมีเทคนิค FUE อะไรอย่างนี้ แล้วแต่ว่ามันจะพัฒนาไปถึงไหน
ซึ่งการปลูกผมข้อดีคือเห็นผลแน่นอน ล้านตรงไหนปลูกตรงนั้น ข้อเสียคือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมากค่ะ แล้วก็มีดาวน์ไทม์ แปลว่าต้องพักฟื้น อาจมีช่วงต้องพันศีรษะ เหมาะกับคนที่มีปัญหาค่อนข้างหนักแล้ว
แล้วส่วนใหญ่ปลูกผมนี่เหมือนต้องไปนำรากผมส่วนอื่นมาใช้?
หมอปอ:ใช่ค่ะ ต้องเอาที่อื่นมาลง เกิดแผล ต้องมีเรื่องของการพักฟื้น ก็อาจจะเหมาะกับคนมีเวลาแล้วก็มีงบประมาณด้วย
ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายมันจะเป็นหลักแสน?
หมอปอ:ใช่ค่ะ แล้วหลังปลูกผมใช่ว่าเขาจะอยู่กับเราตลอดไป เราก็ต้องดูแลเขานิดหนึ่ง ต้องมีความประคบประหงมเขานิดหนึ่ง หลายๆ เคสที่ไปปลูกผมมาก็ยังต้องมาทำเหมือนทรีตเมนต์ที่หมอทำ มาฉีด มาฉายแสง มาบำรุงด้วย Growth Factor เพื่อให้ตัวที่เขาเพิ่งปลูกไปอยู่นานๆ
ไม่ได้แปลว่าจ่ายเงินแสนแล้วจะการันตีผลลัพธ์
หมอปอ: ใช่ บางคนดูแลหลังทำไม่ดีมันก็หลุดหมดค่ะ
นอกจากการปลูกผมแล้ว เราอาจเคยได้ยินถึงนวัตกรรม PRP (Platelet-Rich Plasma) ผลลัพธ์ระหว่างการทำ PRP กับโปรแกรม Preventing Hair Loss ต่างกันไหม
หมอปอ: จริงๆ มันจะไม่ต่างมาก เพราะตัว Growth Factor ที่เราเอามาใช้เทียบเคียงกับ PRP หลักการของ PRP คือการที่เราใช้เกล็ดเลือดของเราเองมาซ่อมแซม เพราะเลือดเราก็มี Growth Factor
ตัวที่หมอเลือกเข้ามาแทนคือ HMPF ถามว่าทำไมถึงเลือกตัวนี้ เพราะว่าเขาทำมาครบถ้วน อาจจะ Superior กว่า PRP ตรงที่อันนี้เรากำหนดโดสได้ชัดเจน
ที่มาของ Growth Factor นี้มาจากไหน
หมอปอ: มาจากคนค่ะ ต้องบอกว่า Growth Factor มาได้จากหลายแหล่ง ทั้งสัตว์และพืช ถ้าเอามาใช้บางทีมันอาจจะได้ผลลัพธ์ไม่ค่อยดี เพราะตรงตัวเลยนะคะ คนละสายพันธุ์กัน อันที่มันเวิร์กที่สุดก็จะต้องมาจากมนุษย์เหมือนกัน ซึ่งตัวนี้ก็มาจากแล็บที่ได้รับการรับรองค่ะ
ส่วนใหญ่ต้องกลับมาทำซ้ำไหม
หมอปอ: ต้องทำซ้ำค่ะ คือถ้าอยากจะเห็นผลจริงๆ มันขึ้นอยู่กับปัญหาตั้งต้นด้วย ถ้าเราทำเพื่อ Maintain เฉยๆ ทำเพื่อป้องกัน ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็อาจจะเดือนละครั้งหรือ 2 เดือนครั้ง
เหมือนเราดูแลหน้าค่ะ ทาครีมเราก็ต้องทาทุกวัน ต้องดูแลเรื่อยๆ แต่ถ้าคนที่มีปัญหาอาจจะนัดมาถี่หน่อย มาเจอกัน 2 สัปดาห์ครั้ง ในช่วงแรกสัก 4-5 ครั้ง จากนั้นมาดูว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร อาจจะเว้นช่วงห่างได้แล้วค่อยกลับมาทำ
โปรแกรมนี้ไม่เหมาะกับใครบ้างไหม
หมอปอ: แทบไม่มีเลยค่ะ แต่ว่าถ้าอายุน้อยมากๆ อาจจะต้อง Consult กันอีกทีว่าเหตุผลจริงๆ มันคืออะไร เพราะส่วนใหญ่ถ้าอายุน้อยมากมันไม่ควรจะต้องมาใช้ Growth Factor กระตุ้น
หรือถ้าคนที่เพิ่งทำเคมีมาสัก 1-2 สัปดาห์อาจจะยังไม่แนะนำให้ทำ Lase MD ต้องเว้นสัก 2 สัปดาห์ขึ้นไป
หลังจากโปรแกรมนี้ ควรต้องเว้นการทำเคมี 2 สัปดาห์ด้วยเช่นกันใช่ไหม
หมอปอ:ใช่ค่ะ
แสดงว่าก่อนที่จะมารับบริการไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ขอแค่เว้นเรื่องการทำเคมีอย่างเดียวใช่ไหม
หมอปอ: ใช่ค่ะ หรือถ้าเผลอไปทำเคมีแล้วก็ไม่เป็นไร แจ้งกับหมอ หมอก็จะดีไซน์ทรีตเมนต์ที่เหมาะสมให้ อาจจะเลี่ยงตัวใดตัวหนึ่งก่อน แล้วทำโปรแกรมที่ทำได้ก่อน
หลังจากทำต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษไหม ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของแชมพูที่ใช้
หมอปอ: ถ้าเราวิเคราะห์หนังศีรษะเสร็จแล้ว หมออาจจะมีการสอบถามนิดหนึ่งว่าตอนนี้ใช้อะไรอยู่ อาจจะมีการแนะนำสิ่งที่เหมาะสมให้
Result*
จากการวิเคราะห์สุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของเราที่ผ่านการทำเคมีนั้นพบว่า ผมเริ่มมีความบางและหนังศีรษะก็มีความเซนซิทีฟ หลังจากทำโปรแกรม Preventing Hair Loss ไป 1 ครั้งสัมผัสได้ว่าผมขาดหลุดร่วงน้อยลงในช่วงสัปดาห์แรก สังเกตได้ชัดเจนจากการสางผมและหลังสระผม และควรกลับมารับบริการต่อเนื่อง 4-5 ครั้ง เพื่อสุขภาพหนังศีรษะที่ดีขึ้นในระยะยาว
Good for
เหมาะกับคนที่ทำเคมีผมหรือจัดแต่งทรงผมเป็นประจำ คนที่ผมขาดหลุดร่วงอยู่บ่อยๆ รวมถึงคนที่อยากป้องกันการหลุดร่วงในอนาคต เพราะสุดท้ายแล้วการป้องกันย่อมดีกว่ารักษาทีหลังเสมอ
นอกจากนี้ Astrid Anti-Aging Studio ยังตอบโจทย์คนที่มองหาคลินิกที่บรรยากาศเรียบหรู อบอุ่น สบาย ราวกับเดินเข้าสปา และมีความเป็นส่วนตัวสูง ที่สำคัญคือเดินทางง่ายด้วย เพราะอยู่ใจกลางเมือง
*หมายเหตุ: ผลลัพธ์ที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
Astrid Anti-Aging Studio
Open: เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.30-20.00 น.
Address: ชั้น G อาคาร President Tower Arcade
Budget: 19,000 บาท (จากปกติ 27,500 บาท)
Tel: 09 2260 1111
Instagram: https://www.instagram.com/astridthailand/
Facebook: https://www.facebook.com/AstridAntiAgingStudio
Website: https://www.astridthailand.com/
Map: