×

ต้องระส่ำไหม? ในวันที่โลกเข้าสู่ยุคของ AI เต็มตัว บทสรุปความจริงจากงาน ‘The Age of AI: Augmented Intelligence’ โดย KBTG [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
24.04.2023
  • LOADING...
KBTG The Age of AI

HIGHLIGHTS

6 MIN READ
  • ความวิตกที่ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแย่งงานมนุษย์เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากว่า 200 ปีแล้ว 
  • ล่าสุดการปรากฏตัวของ ChatGPT เทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะมาแทนที่คนในหลายตำแหน่ง เพราะไม่เพียงแต่โต้ตอบได้อย่างชาญฉลาด เขียนหรือวาดภาพได้เพียงป้อนคีย์เวิร์ดไม่กี่คำ แต่ยังสามารถสร้างโค้ด Python ที่ซับซ้อนได้ 
  • KBTG องค์กรเทคที่มุ่งมั่นพัฒนา AI ที่สร้างอิมแพ็กกับผู้คน จัดงาน ‘The Age of AI: Augmented Intelligence’ ที่ K+ สามย่าน เพื่อชวนให้คนที่อยากคลายข้อสงสัยว่านับจากนี้ไปมนุษย์จะถูก AI แย่งตำแหน่งงานหรือไม่ และจะมีวิธีไหนที่ทำให้เราสามารถอยู่กับปัญญาประดิษฐ์ได้แบบ Win-Win 
  • และเป็นครั้งแรกที่ KBTG เปิดตัวนวัตกรรมจากการ Co-Creation กับ MIT Media Lab ที่พัฒนามาจาก K-GPT กลายเป็นโปรเจกต์ที่ชื่อ ‘คู่คิด’

มนุษย์จะถูก AI เข้ามาแทนที่หรือไม่? ความวิตกกังวลนี้ใช่ว่าจะเริ่มขึ้นในยุคที่ทุกอย่างกำลังรายล้อมไปด้วยเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากว่า 200 ปีแล้ว 

 

KBTG The Age of AI

 

นับตั้งแต่เครื่องยนต์เริ่มเข้ามาแทนที่รถม้า แรงงานต่างพากันวิตกเกี่ยวกับอนาคตของงานว่าอาจจะมีหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทน  

 

ความวิตกเริ่มปรากฏอีกครั้งเมื่อ อีเซดล อดีตแชมป์โกะ (หมากล้อม) ชาวเกาหลีใต้ พ่ายแพ้ให้กับ AlphaGo หรือ AI จากบริษัท DeepMind ของ Google ในปี 2015 ถึงกับทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้อัดฉีดเงินลงทุน 1 ล้านล้านวอนเพื่อวิจัยเรื่อง AI เป็นการเร่งด่วน 

 

ล่าสุดการปรากฏตัวของ ChatGPT เทคโนโลยีที่คาดการณ์ว่าจะมาแทนที่คนในหลายตำแหน่ง เพราะไม่เพียงแต่โต้ตอบได้อย่างชาญฉลาด เขียนหรือวาดภาพได้เพียงป้อนคีย์เวิร์ดไม่กี่คำ แต่ยังสามารถสร้างโค้ด Python ที่ซับซ้อนได้ ไม่แปลกที่จะเริ่มมีคนกังวลว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ในที่สุด 

 

THE STANDARD มีโอกาสเข้าร่วม Meetup ในงาน ‘The Age of AI: Augmented Intelligence’ ที่ KBTG จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน ที่ K+ สามย่าน วัตถุประสงค์หลักของงานในครั้งนี้ นอกจากจะชวนให้คนที่อยากคลายข้อสงสัยว่านับจากนี้ไปมนุษย์จะถูก AI แย่งตำแหน่งงานหรือไม่ และจะมีวิธีไหนที่ทำให้เราสามารถอยู่กับปัญญาประดิษฐ์ได้แบบ Win-Win ทาง KBTG ยังใช้โอกาสนี้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่จะมาเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ในงานนี้เป็นครั้งแรกอีกด้วย

 

 

เช่นเดียวกับทุกครั้ง กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ฉายภาพกว้างให้เห็นทิศทางการทำงาน KBTG ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้น พร้อมทั้งวิชั่นที่ต้องการสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ Empower ผู้คนกว่า 100 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ The Age of AI เต็มตัว กระทิงยิงคำถามชวนคิดว่า วันนี้ AI ควรจะเป็นเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ หรือควรจะเป็นความชาญฉลาดที่จะถูก Augmented 

 

“KBTG พูดเรื่อง AI มาตั้งแต่ปี 2019 เราเข้าสู่ยุคของ Augmented Intelligence เรานำ AI มาใช้ในเรื่องของธนาคาร Cognitive Banking เริ่มทำ Data Driven Transformation เพราะเห็นว่า Data จะต่อยอดไปสู่การทำ Automation First Transformation 

 

“วันนี้ KBTG เริ่มทำสิ่งที่เรียกว่า AI Driven Transformation โจทย์คือทำอย่างไรให้สามารถพัฒนาโมเดล AI ได้เร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นที่มาของการทำ AI Factory นำความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์มาใช้ในกระบวนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ได้เร็วยิ่งขึ้น ตอนนี้กำลังเข้าสู่เวอร์ชัน 2.0” 

 

KBTG ยังมีการพัฒนาด้านงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำ Advanced Data Analytics ไปใช้ทางการตลาด หรือ Face Recognition and Face Liveness และ Thai NLP (Thai Natural Language Processing) เทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจภาษาไทยของแชตบอต KBank 

 

กระทิงฉายภาพให้เห็นถึงการเป็นผู้นำด้านการวิจัยและนวัตกรรมผ่านการใช้ AI ในการสนับสนุนผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ระบบแชตบอตของ KBank ที่สามารถตอบข้อความอัตโนมัติได้มากกว่า 84% ทำให้ผู้ใช้บริการประหยัดเวลาได้มากกว่า 300,000 ชั่วโมง จนถึงวันนี้ สามารถเผยแพร่งานวิจัยกว่า 10 ฉบับ เกิด 10 Used Cases ใน 2 ประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีของ KBTG ยังได้รับมาตรฐานระดับโลกจาก NIST และ iBeta ในระดับสูงสุด 

 

“ปี 2022 KBTG จับมือกับ MIT Media Lab ทำงานวิจัยร่วมกัน และสนับสนุนให้เกิด KBTG Fellow เรายังคงเป็นบริษัทไทยบริษัทเดียวที่ได้เป็น Research Member Consortium และปลายปี 2022 เราดึงผู้เชี่ยวชาญระดับท็อปของ MIT มาเปิดเวทีงานเสวนาระดับนานาชาติ ‘MIT Media Lab Southeast Asia Forum’ ครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเลือกให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรก เป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยอย่างมาก ทำให้เห็นว่าเด็กไทยสามารถสร้างเทคโนโลยีเจ๋งๆ ได้”  

 

ประเด็นที่น่าขบคิดต่อคือ เมื่อเราเข้าสู่ The Age of AI เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอกับวิวัฒนาการของ Exponential Technology หรือระยะที่เทคโนโลยีมีพัฒนาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถแบบทวีคูณ ระยะแรกคือ Digitization หรือกระบวนการแปลงข้อมูลไปสู่รูปแบบดิจิทัล ระยะต่อมาคือ Deceptive ถือเป็นระยะหลอก กระทิงยกตัวอย่างการมาของบิทคอยน์ พอถึงจุดหักศอกคือระยะ Disruptive และต่อมาเมื่อเข้าสู่ระยะ Dematerializing ต่อจากนี้ AI จะเข้าไปอยู่ในทุก Device เหมือนจะหายไปแต่จริงๆ อยู่เบื้องหลังทุกอย่างรอบตัว ก่อนจะเข้าสู่ระยะของ Demonetizing เงินจะหายไปจากอุตสาหกรรมดั้งเดิม และสุดท้าย Democratizing ทุกคนจะใช้เทคโนโลยีนี้ได้ถูกและประหยัดเหมือนใช้ไฟฟ้า 

 

“คีย์เวิร์ดที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับ AI ได้คือ Humanity และ Empathy มนุษย์ทำให้ AI ฉลาดขึ้น และ AI ก็ทำให้มนุษย์ฉลาดขึ้นเช่นเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่ KBTG เชื่อ”  ภารกิจของ KBTG ต่อจากนี้คือการผลักดันศักยภาพของคนไทยผ่านทาง Human AI Augmentation โดยมีสององค์ประกอบสำคัญคือ

 

  • Co-Research สร้างเทคโนโลยีที่ Augments People โดยปี 2022 KBTG เปิดตัวโปรเจกต์ Future You งานวิจัยที่ทำร่วมกับทีม MIT Media Lab 
  • Education สร้างองค์ความรู้ที่ Augments People โดย KBTG กำลังผลักดัน Thai-AI Augmented Literacy Guideline เพื่อให้ทั้งประเทศมีความรอบรู้ด้าน AI และเรื่อง AI Ethics Awareness ให้ทุกคนรู้เท่าทัน AI 

 

“สิ่งที่ KBTG จะลงมือทำอย่างจริงจังคือเรื่องของ AI Literacy หรือทักษะความเข้าใจ และการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้โดยต้องรู้เท่าทันด้วย ให้คนไทยทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เราก้าวกระโดดไปพร้อมกัน” กระทิงกล่าว  

 

 

เมื่อพูดถึงการทำ Co-Research ภายในงานมีการเปิดตัวงานวิจัยใหม่ล่าสุด โดยมี พีพี-พัทน์ ภัทรนุธาพร KBTG Fellow คนแรกของ KBTG และ ท่านขุน-กวิน วินสน Advanced Research Engineer, KBTG ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่ MIT Media Lab มาร่วมแชร์ความคืบหน้า และขยายภาพให้เห็นความเป็นไปได้ของ AI ที่จะมีส่วนร่วมกันสร้างการพัฒนาที่ดีขึ้นระหว่างมนุษย์

พีพีเล่าถึงความคืบหน้าของ ‘Future You’ โปรเจกต์ที่นำ AI มาสร้าง Self-Reflection จากข้อมูลปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพูดคุยกับตัวเองในอนาคตได้ เป็นการพัฒนามาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่เชื่อว่ายิ่งเราสามารถมองเห็นตัวเราในอนาคตได้ชัดเจนเท่าไร ก็มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเชิงบวกในระยะยาวได้ดีขึ้นเท่านั้น เช่น ออมเงินได้ดีขึ้น ตั้งใจเรียนมากขึ้น มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย  

 

“จากผู้เข้าร่วมการทดลองกว่า 188 คน 70% ของผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนได้คุยกับตัวเองจากโลกอนาคตจริงๆ นอกจากนั้นยังพบว่า เทคโนโลยีของเราลดความรู้สึกด้านลบ เช่น ความวิตกกังวล และเพิ่มความคิดเชิงบวก แรงบันดาลใจในการทำเป้าหมายในอนาคตให้สำเร็จมากขึ้น การตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพที่มองในระยะยาวมากขึ้น 

 

“เทคโนโลยีอย่าง Future You เป็นตัวอย่างของการใช้ AI เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ให้มีความสามารถในการคิดและวางแผนในระยะยาว มีผลดีต่อด้านการเงิน การศึกษา และมีสุขภาพกายใจที่ดีมากขึ้น” พีพีกล่าว 

 

 

สำหรับโปรเจกต์ใหม่ล่าสุดที่เปิดตัวในงาน ท่านขุนรับหน้าที่ฉายภาพนวัตกรรมที่ถูกต่อยอดมาจากการพัฒนา ‘Future You’ เวอร์ชันแรกที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยนำ Advance AI Technology มาใช้ในบริบทของคนไทย 

 

“สิ่งที่โมเดลนี้ต้องการเพื่อจะใช้ในไทยได้มี 3 อย่างคือ ความเข้าใจทางด้านภาษาและวัฒนธรรม เช่น การใช้ คะ ค่ะ สิ่งต่อมาคือ ความเข้าใจในความรู้เฉพาะด้าน โดยเฉพาะถ้าจะนำ AI มาใช้ด้านการเงิน สุดท้ายคือความเข้าใจในจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ AI เพิ่มศักยภาพและทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ 

 

“สังเกตเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับ ‘Knowledge’ อย่างมาก ไม่ใช่แค่เรื่องของ Data เท่านั้น จึงเรียก System Architecture นี้ว่า Knowledge-GPT หรือเรียกสั้นๆ ว่า K-GPT” 

 

เขาอธิบายต่อว่ามีการนำ K-GPT ไปทำงานวิจัยในหลายโปรเจกต์ หนึ่งในนั้นคือ ‘คู่คิด’ ซึ่ง KBTG นิยามคำว่าคู่คิด AI จะกลายเป็นเพื่อนผู้ร่วมคิดและร่วมปรึกษาหารือให้กับผู้ใช้งาน 

 

“คู่คิดจะมี ‘คะน้า’ และ ‘คชา’ มาร่วมคิดและค้นหาคำตอบไปพร้อมกับเรา เมื่อคะน้าและคชาประมวลผลเสร็จสิ้น จะให้มุมมองในลักษณะของ Multi Perspective ผ่าน AI Thought Partner ที่สร้างด้วย K-GPT และเหตุผลที่ต้องมีแชตบอต 2 ตัว เพื่อป้องกันการเกิด Bias เพราะต่อให้เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยแค่ไหนก็จะเกิด Bias ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ‘คู่คิด’ จะทำให้ผู้ใช้งานไม่มีความคิดเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แต่จะช่วยสร้างสมดุลมุมมองให้กับผู้ใช้งาน” 

 

ท่านขุนยังเสริมด้วยว่า มีงานวิจัยที่บ่งชี้ชัดเจนว่า ความหลากหลายของมุมมองเป็นสิ่งที่นำไปสู่นวัตกรรมอย่างแท้จริง โดยคะน้าและคชาจะมีบุคลิกที่ต่างกัน คชาจะมีระเบียบแบบแผน ระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง ในขณะที่คะน้ามีจินตนาการสูง ชอบผจญภัยและกล้าเสี่ยง อยากรู้อยากเห็น จึงเหมือนมีทั้งหยินและหยาง นำไปสู่การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น โดยมีมนุษย์อยู่ตรงกลาง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น ‘เทคโนโลยีที่มนุษย์คือศูนย์กลาง’  

 

“จุดเด่นคือ ‘คู่คิด’ จะเลือกข้อมูลและแหล่งที่มาของข้อมูลที่เชื่อถือได้ ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าคือข้อมูลที่แม่นยำและนำไปใช้งานได้จริง ส่วนสำคัญคือ KBTG ต้องการให้คนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ จึงมีการทำ Language Special Augmentation ด้วยหลักและวัฒนธรรมของไทย และสิ่งที่ทำให้คะน้าและคชาเกิดขึ้นได้เพราะเราสร้าง Synthetic Memory หรือความทรงจำและประสบการณ์ที่ทำให้ตัวเขาเป็นเขา โดยสร้างขึ้นมาจากคุณลักษณะพื้นฐานของคาแรกเตอร์ทั้งสอง ซึ่งเป็นกลไกที่ใกล้เคียงกับที่เราทดสอบแล้วใน Future You” 

 

ขาดไม่ได้เลยคือองค์ความรู้ที่เข้ามาเติมเต็ม Knowledge Extraction เป็นโมดูลที่ทำให้คะน้าและคชาเข้าถึงข้อมูลที่แม่นยำได้ตลอดเวลา เมื่อเขาพร้อมที่จะคุยกับมนุษย์ก็ต้องไปเรียนรู้ด้านภาษาผ่านโมดูล Language Special Augmentation เป็นโมดูลที่จะปรับภาษาให้เข้ากับบริบทและวัฒนธรรมของไทย ทั้งการรับข้อมูลเข้ามา และการส่งข้อมูลกลับไปยังผู้ใช้งาน และในทุกการกระทำจะมี Inappropriate Filter ที่จะคอยคัดกรองบทสนทนาที่ Sensitive ไว้ตลอด

 

ย้อนกลับมาที่ภารกิจสำคัญคือเรื่องของ Education กระทิงบอกว่าปีนี้จะเน้นไปที่เรื่องของการทำ Thai-AI Augmented Literacy Guideline และ AI Ethics Awareness โดยมีแกนแก่นหรือแนวทางของการศึกษายุคใหม่ที่เรียกว่า 4C เพื่อสร้าง Human-AI Super Learners ได้แก่ ‘Co-Imagine’ สร้างจินตนาการร่วมกับ AI ‘Co-Exploring’ ค้นหาความเป็นไปได้ร่วมกับ AI, ‘Co-Thinking’ ช่วยคิดและแก้ปัญหา สุดท้ายคือ ‘Co-Creating’   

 

 

 

ท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ AI จะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้สังคมเติบโต และ AI ก็ขยายขอบเขตความสามารถออกไปอย่างไร้ขีดจำกัดได้อย่างไร กระทิงบอกว่า “ถ้าเราใช้และเชฟไปถูกทิศทาง AI จะยกระดับศักยภาพของมนุษย์ได้อย่างไรขีดจำกัด”

 

ด้านพีพีก็มองว่า “จริงๆ Interface หรือการสื่อสารกันระหว่างมนุษย์กับ AI สำคัญมาก เวลาที่เราพูดถึงการจะทำให้ AI มีประสิทธิภาพมากขึ้นมันต้องถามว่าเราจะ Interface กับมนุษย์แบบไหน เราจะสวมใส่หรืออยู่ในมือถือ หรือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโดยที่เราไม่รู้ตัว เนื่องจาก AI แบบเดียวกันที่มีความสามารถเหมือนกัน แต่ถูกดีไซน์เพื่อ Interface ไม่เหมือนกัน ก็นำมาสู่ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนกัน”

ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Managing Director, KBTG Labs ชวนคิดเพิ่มเติมว่า “AI ไม่ได้เข้ามามีอิทธิพล แต่จะเข้ามาเสริมและยกระดับให้คนมีความสามารถมากขึ้น ต่อจากนี้ AI จะใช้งานง่ายขึ้น เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ซึ่งเราต้องควบคุมดีๆ มีเรื่องของ Ethical Literacy เพื่อป้องกันผลเสียของ AI และใช้ AI เพื่อสังคมที่เป็นระบบที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างขีดความสามารถให้กับมนุษย์”  

 

เมื่อพูดถึงเรื่องของ AI Ethics เมื่อปีที่ผ่านมากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) จับมือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการอนุมัติร่าง ‘Digital Thailand-AI Ethics Guideline’ ซึ่งเป็นไกด์ไลน์ของจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ โดยแยกออกเป็น 6 ประการ ได้แก่ 1. ความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. ความสอดคล้องกับกฎหมาย จริยธรรม และมาตรฐานสากล 3. ความโปร่งใสและภาระความรับผิดชอบ 4. ความมั่นคง ปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว 5. ความเท่าเทียม หลากหลาย ครอบคลุม และเป็นธรรม และ 6. ความน่าเชื่อถือ ควรได้รับการสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือ

 

ดร.ทีมอธิบายเพิ่มเติมว่า Generative AI (Gen-AI) หรือ AI ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้มีความสามารถในการ ‘สร้างใหม่’ จากชุดข้อมูลที่มีอยู่ ด้วยอัลกอริทึมแบบ Generative Mode จึงมาช่วยในเรื่องของการประมวลผลข้อมูล สื่อความได้ดีขึ้น การแต่งบทความ การสร้างคอนเทนต์ใหม่ๆ ไม่อยากให้มองว่าสิ่งนี้จะมาทำให้คนสร้างคอนเทนต์ถูกแทนที่ แต่จะมาช่วยให้คนสร้างคอนเทนต์ทำงานได้เร็วขึ้น และสร้างสิ่งใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น” 

 

เพื่อให้ผู้ร่วมงานในวันนั้นและคนที่อ่านบทความนี้มั่นใจมากขึ้นว่าตำแหน่งงานที่ทำอยู่จะไม่ถูกเลื่อยขาเก้าอี้โดย AI อย่างแน่นอน กระทิงให้คำมั่นว่า 

 

“AI จะไม่มีทางเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ แต่มนุษย์ที่รู้จักใช้ AI ต่างหากจะเข้ามาแทนที่ตำแหน่งงานของมนุษย์ที่ไม่เรียนรู้ที่จะใช้ AI เพราะถ้าเราทุกคนมองและคิดไปในแนวทางเดียวกันคือ ต้องทำให้ AI มี Ethic ก่อน แล้ว AI ถึงจะไปยกระดับขีดความสามารถให้กับมนุษย์ และมนุษย์จะย้อนกลับมายกระดับ AI แนวทางนี้ถึงจะทำให้เติบโตไปด้วยกันได้”

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising