×

เปิดไทม์ไลน์! ประวัติศาสตร์แทรกแซงตลาดค่าเงินของญี่ปุ่น หลัง BOJ ส่งสัญญาณเตรียมหนุนเงินเยนเร็วๆ นี้

16.09.2022
  • LOADING...
ค่าเงินของญี่ปุ่น

ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับการแทรกแซงค่าเงินของญี่ปุ่น หลังจากเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา Nikkei รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) ได้ดำเนินการตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยน (Rate Check) เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการแทรกแซงค่าเงิน ‘โดยตรง’ ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

และนับเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษแล้ว หลังจากญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสนับสนุนเงินเยนในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียระหว่างปี 1997-1998

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 


 

และนี่คือไทม์ไลน์ของการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญๆ ของ BOJ ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

 

7 กันยายน 2022 ฮิโรคาสึ มัตสึโนะ โฆษกรัฐบาลระดับสูงของญี่ปุ่น ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ‘อย่างรวดเร็วในลักษณะด้านเดียว’ (One-Sided) หลังจากเงินเยนอ่อนค่าลงหลุด 143 ต่อดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งกล่าวว่า รัฐบาลอาจต้องการใช้ ‘ขั้นตอนที่จำเป็น’ หากการอ่อนค่าดังกล่าวยังดำเนินต่อไป นับเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนที่สุดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

 

10 มิถุนายน 2022 รัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารกลางญี่ปุ่นออกแถลงการณ์ร่วมกัน (ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อย) โดยระบุว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับการอ่อนค่าอย่างรวดเร็วของเงินเยน หลังเยนอ่อนค่าหลุด 134 ต่อดอลลาร์

 

สิงหาคมและตุลาคม 2011 ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเงินเยน หลังจากเจ้าหน้าที่กังวลว่า การแข็งค่าของเงินเยนในเวลานั้นอาจกระทบการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อันเนื่องมาจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011

 

18 มีนาคม 2011 กลุ่มประเทศ G7 ร่วมกันเข้าแทรกแซงเพื่อยับยั้งการแข็งค่าของเงินเยน หลังค่าเงินเยนแข็งค่าสู่ระดับประวัติการณ์ ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว ท่ามกลางการคาดการณ์ว่าบริษัทญี่ปุ่นจะส่งสินทรัพย์ต่างประเทศกลับประเทศ เพื่อใช้เป็นค่าซ่อมแซมและก่อสร้างใหม่

 

15 กันยายน 2010 ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดแลกค่าเงินเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี โดยขายเงินเยนเพื่อยับยั้งการแข็งค่า หลังจากดอลลาร์อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี อยู่ที่ 82.87 เยน

 

มีนาคม 2004 แคมเปญควบคุมการแข็งค่าเงินเยน ซึ่งยาวนาน 15 เดือน ได้สิ้นสุดลง หลังจากญี่ปุ่นได้ทุ่มเงิน 35 ล้านล้านเยนในการแทรกแซงค่าเงิน

 

พฤษภาคม-มิถุนายน 2002 BOJ เข้าแทรกแซงโดยการขายเยน ซึ่งมักได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เนื่องจากเงินเยนยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง

 

กันยายน 2001 แบงก์ชาติญี่ปุ่นเข้าแทรกแซง โดยการขายเงินเยนหลังเหตุการณ์ 9/11 ในสหรัฐอเมริกา โดย ECB และ Fed แห่งนิวยอร์กต่างก็ดำเนินการในนามของ BOJ

 

มกราคม 1999 เมษายน 2000 ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ขายเงินเยนอย่างน้อย 18 ครั้ง ผ่านทั้ง Fed และ ECB เนื่องจากความกังวลว่าการแข็งค่าของเงินเยนจะฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

1997-1998 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตการเงินเอเชียทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง โดยแตะระดับเกือบ 148 ต่อดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม 1998 แม้ทางการสหรัฐฯ ร่วมมือกับ BOJ เพื่อเข้าซื้อเยนก็ตาม

 

เมษายน 1994 – สิงหาคม 1995 เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเงินมาร์กของเยอรมนี และแตะระดับต่ำสุดหลังสงครามเมื่อเทียบกับเงินเยน ทำให้สหรัฐฯ เข้าแทรกแซงหลายครั้ง ร่วมกับธนาคารกลางญี่ปุ่นและยุโรป เพื่อหนุนค่าเงินดอลลาร์

 

1993 แบงก์ชาติญี่ปุ่นขายเงินเยนตลอดทั้งปีเพื่อลดการแข็งค่า

 

1991-1992 BOJ เข้าแทรกแซงตลาดเพื่อสนับสนุนเงินเยน โดยการขายดอลลาร์

 

1988 เมื่อวันที่ 4 มกราคม เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงแตะ 120.45 เยน ซึ่งขณะนั้นถือเป็นระดับต่ำสุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 BOJ จึงเข้าแทรกแซง โดยการซื้อดอลลาร์และขายเยน

 

1987 ในเดือนกุมภาพันธ์  6 ประเทศในกลุ่ม G7 ลงนามใน Louvre Accord ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน และหยุดการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ในวงกว้าง

 

1985 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม 5 ประเทศ (G5) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ G7 ลงนามใน Plaza Accord โดยยอมรับว่าเงินดอลลาร์มีมูลค่าสูงเกินไป และ G5 จะดำเนินการเพื่อทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

 

1973 เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายการเงินของญี่ปุ่นตัดสินใจปล่อยให้เงินเยนลอยตัวต่อดอลลาร์อย่างอิสระ

 

ญี่ปุ่นกำลังจะแทรกแซงค่าเงินเพียงฝ่ายเดียวหรือหรือไม่?

การแทรกแซงค่าเงินที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นไปได้มากว่า ญี่ปุ่นจะดำเนินการเพียงประเทศเดียว เนื่องจากตอนนี้กลุ่ม G7 และประเทศพันธมิตรอื่นๆ มักไม่ชอบให้เกิดการกำหนดหรือการสร้างอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนแล้ว และต้องการให้กลไกตลาดทำงาน 

 

โดยค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงในปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการเงินของ BOJ อย่างต่อเนื่อง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่ขับเคลื่อนโดยญี่ปุ่น

 

ใครเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องการแทรกแซงค่าในญี่ปุ่น?

ทั้งนี้ ในญี่ปุ่น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ตัดสินใจการเข้าไปแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะเป็นผู้ทำการซื้อหรือขาย ซึ่งมักจะส่งคำเตือนหรือสัญญาณอย่างระมัดระวังก่อน ฉะนั้น หากพวกเขากล่าวว่ารัฐบาลไม่ได้ตัดตัวเลือกใดๆ หรือพร้อมที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด นั่นมักจะหมายถึงว่าการแทรกแซงอาจใกล้เข้ามาแล้ว

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising