×

เกือบครึ่งของชาวอเมริกันที่เรียนสาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ‘เสียใจ’ ที่เลือกเรียน และตัวเลขผู้เรียนกำลังน้อยลงเรื่อยๆ สวนทางสาย STEM ที่เพิ่มขึ้น

07.09.2022
  • LOADING...
มนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์

เป็นที่น่าตกใจอย่างมากเมื่อผลสำรวจของชาวอเมริกันเกี่ยวกับการศึกษาของพวกเขาพบว่า เกือบครึ่งของผู้ที่เลือกเรียนสาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์เสียใจที่เลือกเรียน และการลงทะเบียนในสาขาวิชาเหล่านั้นกำลังหดตัวลงอย่างรวดเร็ว

 

รายงานของ The Washington Post ให้เหตุผลที่ทำให้ชาวอเมริกันสนใจสายมนุษยศาสตร์น้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันของอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ที่เรียกร้องให้ชาวอเมริกันศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากขึ้น ซึ่งตั้งแต่นั้นมา จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ในสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็ลดลง

 

จากการสำรวจของ Federal Reserve พบว่า นอกจากผู้เรียนสาขาวิชามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์จะมีตัวเลขการเสียใจที่เลือกเรียนมากที่สุดแล้ว ผู้ที่เรียนสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์มีความเสียใจน้อยที่สุดเพียง 24% เท่านั้น

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 


 

ผู้ที่ศึกษาวิชา STEM เช่น วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มักจะเชื่อว่าพวกเขาเลือกถูกแล้ว ในขณะที่ผู้ที่อยู่ในสังคมศาสตร์หรือหลักสูตรอาชีวศึกษามักมองว่าตัวเองจะต้องเรียนครั้งที่ 2 

 

นักศึกษาอาชีวศึกษาและเทคนิคส่วนใหญ่กว่า 60% หวังว่าพวกเขาจะไปเรียนต่อมากขึ้น ในขณะที่นักศึกษาด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์น้อยกว่า 40% เชื่อในสิ่งเดียวกัน

 

ในปี 2021 สาขาวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และศาสนา จบการศึกษาน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนตัวเลขที่เคยทำได้สูงสุดในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เมื่อเทียบกับขนาดโดยรวมของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา

 

เบน ชมิดท์ นักประวัติศาสตร์และนักมนุษยศาสตร์ดิจิทัลกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ได้จุดชนวนให้เกิดความเหลื่อมล้ำในทางมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ

 

ทศวรรษที่ผ่านมานับตั้งแต่กระตุ้นให้มีการเรียนในสาย STEM มากขึ้น จำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาการคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกสาขา STEM ก็มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทั้ง การพยาบาล วิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย แพทยศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสถิติ เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 50% ขณะที่ในบรรดาสายมนุษยศาสตร์มีเพียง 2 สาขาเท่านั้นที่เพิ่มขึ้นคือ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และเพศศึกษา (Cultural, Ethnic and Gender studies) และภาษาศาสตร์ (Linguistics)

 

ช่วงที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำอย่างมาก ทำให้ผู้คนกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำ ‘สาขามนุษยศาสตร์’ กำลังกลายเป็นแพะรับบาปที่เห็นได้ชัดเจน เพราะคนรุ่นมิลเลนเนียลซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน หันมาสนใจสาขาวิชาเอกที่มีโอกาสได้งานทำมากขึ้น

 

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักสำมะโนประชากรระหว่างปี 2014-2018 โดย ดักลาส เว็บเบอร์ ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์พบว่า สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือเคมี สามารถคาดหวังว่าจะทำเงินได้ 4.6 ล้านดอลลาร์

 

กระนั้นผู้เรียนสายมนุษยศาสตร์ก็ใช่ว่าจะมีรายได้ที่น้อยเสมอไป ตัวอย่างเช่น วิชาเอกประวัติศาสตร์ มีรายได้ 4.2 ล้านดอลลาร์จากอาชีพการงานของพวกเขา ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่ากลุ่มที่มักจะเรียนในสาขาวิชาที่ถูกมอวว่าทำรายได้มาก เช่น วิศวกรรมเคมี และการบินและอวกาศ

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์ให้เหตุผลว่า วิชาเอกเหล่านี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีรายได้สูงขึ้นในภายหลัง เพราะสิ่งที่พวกเขาเรียนไม่ได้กักขังการทำงานไว้ในสายอาชีพเดียวเท่านั้น แต่การคิดเชิงวิพากษ์ที่สอนในหลักสูตรมนุษยศาสตร์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำมาปรับใช้กับงานที่ไม่ค่อยมีการสอนในชั้นเรียน 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X