×

กูรูวิพากษ์เหตุรัฐบาลสหรัฐฯ ประเมินเงินเฟ้อผิดพลาดจากอิทธิพลของ Fed ไม่เปิดรับแนวคิดใหม่ ขาดความเด็ดขาด

07.02.2022
  • LOADING...
เงินเฟ้อ

สถานีโทรทัศน์ CNBC เปิดเผยรายงานพิเศษของบรรดานักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำกลุ่มหนึ่งที่ไม่ประสงค์เปิดเผยนาม ซึ่งออกมาชี้ถึงความผิดพลาดในการบริหารงานของประธานาธิบดี โจ ไบเดน จนนำไปสู่ความผิดพลาดในการเตรียมมาตรการรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐฯ พุ่งทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 

 

รายงานระบุว่า ย้อนกลับไปในช่วง 1 ปีหลังเกิดวิกฤตโควิดระบาด นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า มีปัจจัยหลายอย่างที่บ่งชี้ถึงวิกฤตเงินเฟ้อ แต่รัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนกลับเบาใจเกินไป เพราะเชื่อมั่นในคำพูดของ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลัง และ เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่บอกว่าเงินเฟ้อเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราว ไม่น่าวิตกกังวล 

 

นอกจากความเชื่อมั่นและเชื่อใจ บวกกับอิทธิพลของ Fed ที่มีต่อการออกนโยบายบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลไบเดนที่มากเกินไปแล้ว ความผิดพลาดยังมาจากการยึดมั่นแนวทางเก่าๆ ในการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ ไม่พลิกแพลงและคำนึงถึงบริบทแวดล้อม ไม่ยอมใช้เครื่องมือใหม่ๆ ทำให้การคาดการณ์ขาดความเที่ยงตรงและยืดหยุ่น 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาความผิดพลาดยังมาจากแรงกดดันทางการเมืองที่ต้องการให้รัฐบาลไบเดนกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการทุ่มเงินใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก และการขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจเกี่ยวกับการมอบหมายหน้าที่ในการบริหารธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ทำให้เกิดความล่าช้าในการออกนโยบายการเงินเพื่อจัดการเงินเฟ้อได้ทันท่วงที 

 

หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์อดีตเจ้าหน้าที่ Fed ระบุว่า ความผิดพลาดหลักใหญ่ก็คือ การที่รัฐบาลไบเดนชั่งน้ำหนักผิดพลาดระหว่างการบริหารประเทศและการวางสมดุลอำนาจทางการเมือง 

 

ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งได้ออกมารายงานว่า ข้อมูลเงินเฟ้อที่จะมีการเปิดเผยภายในสัปดาห์นี้จะส่งผลให้ความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้น Wall Street ตกอยู่ภายใต้ความผันผวนอีกครั้ง โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) น่าจะพุ่งแตะ 7.2% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 

 

อ้างอิง:

 


ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

Twitter: twitter.com/standard_wealth

Instagram: instagram.com/thestandardwealth

Official Line คลิก https://lin.ee/xfPbXUP

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising