×

หวาน มัน เค็ม ต้นเหตุโรคฮิตที่แฝงมาพร้อมความอร่อย Healthier Choice อีกทางเลือกของผู้บริโภค [Advertorial]

07.11.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • NCDs คือ กลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินและวิถีชีวิต ได้แก่ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุง
  • สัญลักษณ์โภชนาการ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ คือผู้ช่วยคนสำคัญที่ช่วยคัดสรรมาแล้วว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความหวาน มัน เค็ม ที่เหมาะสม
  • เนสท์เล่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) มากที่สุดในไทยถึง 44 รายการ

โรคไม่ติดต่อ (แต่เรื้อรัง) ที่ชื่อ NCDs

หวาน มัน เค็ม คือรสชาติแห่งความกลมกล่อมที่เมื่อปรุงรวมกันแล้วสามารถทำให้อาหารจานง่ายๆ เกิดความอร่อยและจัดจ้านขึ้นมา แต่ทราบหรือไม่ว่าความเพลิดเพลินกับรส ‘หวาน มัน เค็ม’ ที่มากเกินไปกลับกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่คาดไม่ถึงของกลุ่มโรคที่ชื่อ Non-Communicable Diseases หรือ NCDs ซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ที่บางครั้งก็ยากจะหลีกเลี่ยงและทำให้เกิดโรคเบาหวาน กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง ความดันโลหิตสูง รวมทั้งภาวะอ้วนลงพุงตามมา

 

 

แน่นอนว่าโรคเหล่านี้มักจะพร้อมเพรียงกันพาเหรดมาหาเราอย่างเงียบๆ ตามลายแทงอาหารจานอร่อยจัดจ้านที่เรากินเข้าไปเป็นประจำ และที่น่ากลัวยิ่งกว่าก็คือ ปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs กำลังเป็นภัยร้าย โรคเรื้อรัง และสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย โดยมีอัตราสูงถึงร้อยละ 75.2 ของการเสียชีวิตของประชากรไทย หรือราว 320,000 คนต่อปี และตัวเลขล่าสุดพบว่า NCDs ยังได้กลายมาเป็นสาเหตุการตายหลักของประชากรในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีตัวเลขสูงจนน่าตกใจถึง 8.8 ล้านคนต่อปี

 

อย่างที่เกริ่นไว้ว่า NCDs ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่ใช่โรคติดต่อ และมีสาเหตุมาจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่ต้องเจอทุกวันอย่างรส ‘หวาน มัน เค็ม’ หรือก็คือปริมาณ น้ำตาล ไขมัน เกลือ (โซเดียม) ที่มากเกินความพอดี ประกอบกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอันรีบเร่งของคนยุคใหม่ ทำให้ไม่ง่ายที่จะลุกขึ้นมาปรุงอาหารเพื่อควบคุมความหวาน มัน เค็ม ได้ทุกมื้อ

 

ที่ยากไปกว่าคือ รสหวาน มัน เค็ม มักจะไม่แสดงตัวออกมาให้เราเห็น กินแล้วก็แทบไม่รู้ แต่มักจะแฝงมากับเมนูอาหารอร่อยรอบตัวที่เรากินอย่างเพลิดเพลินและคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็น อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารหมักดอง ไส้กรอก อาหารกระป๋อง ขนมเค้ก ของหวานน้ำกะทิ เครื่องดื่มหวานจัด รวมทั้งเบเกอรีที่หลายคนชอบกิน

 

ชีวิตเลือกได้ด้วย Healthier Choice

แม้ความเร่งรีบของการใช้ชีวิตจะทำให้เราเลือกกินไม่ค่อยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเสียทั้งหมด เพราะล่าสุดสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดตราสัญลักษณ์ทางโภชนาการ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) แสดงไว้บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วว่ามีความหวาน มัน เค็ม หรือมีน้ำตาล ไขมัน และเกลือ (โซเดียม) ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน จากปกติที่ผู้บริโภคต้องอ่านปริมาณน้ำตาล ไขมัน และเกลือ (โซเดียม) บนฉลากและคำนวณความพอดีด้วยตนเอง แต่ปัจจุบันผู้บริโภคอย่างเราๆ สามารถหยิบผลิตภัณฑ์และสแกนรสความกลมกล่อมที่พอดีได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 

นอกจากประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรงแล้ว ตราสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) ยังเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้บริษัทผลิตอาหารทั้งหลายหันกลับมาใส่ใจถึงสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะกว่าจะได้รับสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) มาได้นั้นต้องผ่านการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดจากหลายหน่วยงาน และในปัจจุบัน เนสท์เล่ เป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) มากที่สุดในประเทศไทย โดยเนสท์เล่มีผลิตภัณฑ์มากถึง 44 รายการที่ได้รับสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ อเมริกาโน่, เนสกาแฟ แบล็ค ไอซ์, ไมโล ทรีอินวัน สูตรน้ำตาลน้อย, เนสวิต้า, นมตราหมี ยูเอชทีรสจืด รวมถึง 14 ผลิตภัณฑ์ของไอศกรีมเนสท์เล่ภายใต้แบรนด์เอสกิโม ไมโล และลาฟรุ๊ตต้า

 

 

แต่นอกเหนือจากความกลมกล่อมทางรสชาติที่เกิดจากปริมาณความหวาน มัน เค็ม ที่พอดีแล้ว หัวใจสำคัญที่จะห่างไกลโรคฮิต NCDs คือการรักษาสมดุลให้ร่างกายที่ต้องครบทั้งการพักผ่อน ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาด และตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเพื่อเตรียมความพร้อมและเท่าทันต่อทุกโรคที่อาจเป็นภัยเงียบซึ่งสามารถเคาะประตูมาหาเราได้ทุกเมื่อ

 

กิน หวาน มัน เค็ม อย่างไรให้ไม่พัง

  • หวาน ผู้ใหญ่ควรบริโภคน้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 24 กรัม) ส่วนเด็กไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 16 กรัม) โดย 1 ช้อนชาเท่ากับ 4 กรัม
  • มัน ควรบริโภคไขมันไม่เกิน 65 กรัมต่อวัน หรือใช้น้ำมันประกอบอาหารไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน
  • เค็ม ควรบริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 2,000 มิลลิกรัม)

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

หากต้องการเช็กข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเนสท์เล่ที่ได้รับสัญลักษณ์ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ (Healthier Choice) สามารถติดตามได้ที่ www.nestle.co.th และ www.facebook.com/goodfoodgoodlifebyNestleThailand

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising