×

จับตาตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคเกษตร และการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงชุดใหม่ยุโรป: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้

โดย FINNOMENA
03.07.2019
  • LOADING...
  • จับตาตัวเลขการเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมจากเอดีพี หลังตลาดแรงงานสหรัฐฯ ร้อนแรงต่อเนื่อง จากตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ที่ขยายตัว และการจ้างงานที่แข็งแกร่ง โดยวันนี้มีกำหนดการประกาศตัวเลขการเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นตัวเลขการจ้างงานจากธุรกิจที่ไม่ใช่เกษตรกรรมมากกว่า 400,000 ราย หักลบด้วยการปลดพนักงานสุทธิ ขณะที่เดือนก่อนหน้าประกาศออกมาที่ 27,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 180,000 ตำแหน่ง จากการปลดพนักงานกว่า 30,000 ตำแหน่งในธุรกิจก่อสร้างในครั้งนี้ คาดการณ์ว่าจะประกาศออกมาที่ 140,000 ตำแหน่ง ชะลอตัวจากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว

 

  • จับตาว่าที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงใหม่ยุโรป หลังการเสนอชื่อผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของยุโรปอย่างประธานคณะกรรมาธิการ ประธานคณะมนตรี ประธานสภายุโรป และประธานธนาคารกลางยุโรปยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 3 วัน โดยเมื่อวานนี้มีแถลงการณ์เบื้องต้นว่า ผู้ที่จะถูกเสนอชื่อเพื่อให้สภายุโรปเห็นชอบมีดังนี้ ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB): Christine Lagarde – Managing Director ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission): Ursula von der Leyen – Federal Minister of Defence เยอรมนี หนึ่งในคณะทำงานของ Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมนี มาตั้งแต่ปี 2005, ประธานคณะมนตรียุโรป (European Council): Charles Michel นายกรัฐมนตรีของเบลเยียม, EU Foreign-Policy Chief: Josep Borrell – Foreign Minister ของสเปน แต่ตำแหน่งประธานสภายุโรปยังมีความไม่แน่ชัดว่าจะเป็น Manfred Weber – Member of the European Parliament จากเยอรมนีหรือไม่ หลังจากที่มีกระแสว่าอาจมีการแบ่งดำรงตำแหน่งกับตัวแทนฝ่าย Socialist ครั้งละครึ่งวาระ

 

  • สมาชิก BOJ เผย อาจคงดอกเบี้ยต่ำ ‘พิเศษ’ เกินปี 2020 หลังอัตราเงินเฟ้อและเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำกว่าคาด และชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับทิศทางนโยบายการเงินที่เปลี่ยนไปของธนาคารกลางหลักของโลกอย่างสหรัฐฯ ยุโรป และจีน ได้สร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นให้ยังคงอัตราดอกเบี้ยแบบ Ultra-low ไว้ต่อเนื่อง โดยเมื่อวานนี้ Yukitoshi Funo สมาชิก BOJ ให้สัมภาษณ์ย้ำอีกครั้งว่า การคงอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไว้เป็นสิ่งที่จำเป็น ในช่วงเวลาที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน สะท้อนท่าทีผ่อนคลายทางนโยบายการเงินของ BOJ ต่อเนื่อง

 

  • รัฐบาลเกาหลีใต้ปรับลดประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจลงอีกครั้งสู่ระดับ 2.4-2.5% จากครั้งก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6-2.7% ซึ่งเป็นระดับการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี จากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ยืดเยื้ออย่างยาวนาน ส่งผลให้ยอดการส่งออกชะลอตัว พร้อมแถลงทางการจะดำเนินทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง ส่งสัญญาณอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง

 

  • Amazon เตรียมขยายการจ้างงานในอังกฤษเพิ่ม 2,000 ตำแหน่ง หลังตั้งแต่ปี 2010 ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกจากสหรัฐฯ ได้ลงทุนในสหราชอาณาจักรไปแล้วกว่า 11,7000 ล้านเหรียญ เพื่อขยายฐานการจัดส่งและธุรกิจค้าปลีกในสหราชอาณาจักรและยุโรป แต่ชะลอการขยายเพิ่มเติมจากความไม่แน่นอนกรณี Brexit โดยการขยายการจ้างงานครั้งนี้ยังจะรองรับการขยายตัวด้าน Platform, Research, Cloud และ Machine Learning ด้วย อย่างไรก็ตาม การขยายการจ้างงานครั้งนี้ถือว่าชะลอตัวจากปี 2018 ที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 2,500 ตำแหน่ง

 

สภาวะตลาดวานนี้

 

  • SCB คาด Fed ไม่มีความจำเป็นต้องจำเป็นต้องรีบลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะขยายตัวในระดับปัจจุบันต่อไป ประกอบกับหลังการประชุม G20 ที่สหรัฐฯ ยังไม่ปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจีนอีก 3 แสนล้านเหรียญ ขณะที่ทั่วโลกกำลังจับตา Fed ในช่วงเดือนกรกฎาคมอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่า Fed มีโอกาสลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25%

 

  • ผลการประชุม OPEC ประกาศพร้อมขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิตไปอีก 9 เดือน จากความกังวลถึงความต้องการใช้น้ำมันที่ชะลอตัว หลัง International Energy Agency หรือ IEA ออกมายืนยันการชะลอตัวดังกล่าวจากปัจจัยความอบอุ่นขึ้นในฤดูหนาวของญี่ปุ่น, การชะลอตัวในกลุ่มปิโตรเคมียุโรป และการบริโภคพลังงานในสหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับทรุดตัวลงมากกว่า 4% หลัง OPEC เผยความกังวลต่อความต้องการน้ำมันโลกปีนี้

 

  • อังกฤษประกาศตัวเลข PMI ภาคโครงสร้างพื้นฐานเดือนมิถุนายน 43.1 ต่ำกว่าคาดที่ 49.3 เนื่องจากความไม่แน่นอนจาก Brexit ยังคงเป็นผลให้ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อยังไม่กล้าตัดสินใจ

 

  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาที่ 1.00% จาก 1.25% เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 หลังเพิ่งปรับไปเดือนก่อน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อให้ถึงกรอบเป้าหมายในไตรมาสถัดไป หลังไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจออสเตรเลียชะลอตัวหนัก ขยายตัวเพียง 1.8% ประกอบกับอัตราค่าจ้างที่และราคาบ้านที่ปรับตัวลดลงส่งผลให้การบริโภคอ่อนตัวลง

 

ยุโรป

  • STOXX600 ปิดที่ 389.29 เพิ่มขึ้น 1.42 (+0.37%)
  • DAX ปิดที่ 12,526.72 เพิ่มขึ้น 5.34 (+0.04%)
  • FTSE 100 ปิดที่ 7,559.19 ลดลง 61.69 (+0.82%)
  • FTSE MIB ปิดที่ 21,392.87 เพิ่มขึ้น 138.83 (+0.65%)

 

เอเชีย

  • S&P/ASX 200 ปิดที่ 6,653.20 เพิ่มขึ้น 5.1 (+0.08%)
  • Shanghai ปิดที่ 3,043.94 ลดลง 0.96 (-0.03%)
  • Hang Seng ปิดที่ 28,875.56 เพิ่มขึ้น 332.94 (+1.17%)
  • KOSPI ปิดที่ 2,122.02 ลดลง 7.72 (-0.36%)
  • BSE Sensex ปิดที่ 39,586.41 ลดลง 5.67 (-0.01%)
  • Nikkei ปิดที่ 21,734.84 เพิ่มขึ้น 4.87 (+0.02%)
  • SET ปิดที่ 1,732.23 ลดลง 8.68 (-0.50%)

 

อเมริกา

  • DOW30 ปิดที่ 26,786.68 เพิ่มขึ้น 69.25 (+0.26%)
  • S&P500 ปิดที่ 2,973.01 เพิ่มขึ้น 8.68 (+0.29%)
  • NAQDAQ ปิดที่ 8,109.09 เพิ่มขึ้น 17.93 (+0.22%)

 

Comodities

  • ราคาน้ำมัน WTI ปิดที่ 56.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.54 (-4.30%)
  • ราคาน้ำมัน BRENT ปิดที่ 62.83 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 2.23 (-3.43%)
  • ราคาทองคำ COMEX ปิดที่ 1,434.35 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 46.25 (+3.35%)

finnomena in partnership

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

  • Infoquest
  • Bloomberg
  • Investing
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising