×

ทรัมป์เสนอไอเดีย ให้ครูพกปืนในโรงเรียนแก้ปัญหากราดยิง

22.02.2018
  • LOADING...

เมื่อวานที่ผ่านมา (21 ก.พ.) ทำเนียบขาวเปิดรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพลเมืองอเมริกันถึงมาตรการเยียวยาและแก้ไขปัญหากราดยิงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลังเกิดเหตุกราดยิงขึ้นที่โรงเรียนมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาส ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 17 คน และบาดเจ็บอีก 14 คน ได้ราว 1 สัปดาห์

 

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสนอให้คุณครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนสามารถที่จะแอบซ่อนอาวุธเข้าไปยังพื้นที่บริเวณโรงเรียนได้เพื่อใช้ป้องกันตัวเอง เด็กนักเรียน และผู้บริสุทธิ์คนอื่นๆ ที่อาจจะได้รับอันตรายจากเหตุกราดยิงที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งทรัมป์เองก็เคยกล่าวไว้ว่าเขาจะยกเลิกการกำหนดให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดอาวุธตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง

 

“ถ้าคุณเป็นคุณครูที่สามารถใช้อาวุธปืนได้ นั่นอาจจะทำให้คุณยุติการโจมตีหรือเหตุกราดยิงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเขารู้ว่าภายในโรงเรียนมีปืน ผู้ลงมือก่อเหตุก็อาจจะลงมือในโรงเรียนน้อยลง” โดยทรัมป์ยืนยันว่ามาตรการที่อนุญาตให้คุณครูและเจ้าหน้าที่โรงเรียนสามารถนำอาวุธเข้าไปในโรงเรียนซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดอาวุธได้นั้นเป็นวิธีการรักษาความปลอดภัยที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้โดยตรง พร้อมทั้งยกตัวอย่างกรณีที่นักบินเองก็พกปืนไว้บนเครื่องเพื่อป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นกัน ซึ่งมาตรการนี้ก็น่าที่จะได้ผลหากปรับใช้กับกรณีของโรงเรียน

 

ในขณะที่ครอบครัวของเหยื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุกราดยิงโรงเรียนประถมศึกษาแซนดี้ฮุก ในเมืองนิวทาวน์ รัฐคอนเนตทิคัต เมื่อปี 2012 เหตุกราดยิงในโรงเรียนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 28 คน เผยว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับความคิดของทรัมป์ ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้ปัญหากราดยิงรุนแรงมากขึ้น

 

ด้าน แอนดรูว์ พอลแล็ก คุณพ่อของมีอาโดว์ พอลแล็ก นักเรียนวัย 18 ปี ที่ถูกนิโคลัส ครูซ ผู้ลงมือก่อเหตุ กราดยิงใส่ลูกของเขาถึง 9 นัดจนเสียชีวิต กล่าวโทษตัวเองบนเวทีรับฟังความคิดเห็นที่เขาไม่สามารถที่จะทำอะไรเพื่อช่วยเหลือลูกและเด็กคนอื่นๆ ได้เลย ทั้งนี้ สก็อต อิสราเอล นายอำเภอเขตโบรวาร์ด ได้มอบอาวุธปืนให้กับผู้บริหารของโรงเรียนมาร์จอรี สโตนแมน ดักลาส เพื่อป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นอีก

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising