×

รู้ไว้ใช่ว่า นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคุณสวมผ้าอนามัยนานเกินไป

12.04.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • ผ้าอนามัยทุกชนิดควรสวมใส่ระยะสั้นๆ ตอนมีประจำเดือน เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ในภายหลัง ผืนหนึ่งจึงไม่ควรใส่นานเกิน 2-4 ชั่วโมง และไม่ควรสวมจนเปียกชื้น
  • หนังสือพิมพ์ The Washington Post รายงานเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ว่าทุกวันนี้ยังมีผู้หญิงอเมริกันเสียชีวิตจากภาวะพิษในกระแสเลือดผ่านการใช้ผ้าอนามัย

เมื่อกว่า 120 ปีที่แล้ว เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้คิดค้นและประดิษฐ์ผ้าอนามัยขึ้นมาเป็นคนแรกเพื่อใช้ซับเลือดทหารและซับประจำเดือน โดยเป็นผ้าแบบที่ใช้แล้วทิ้ง

 

ตัดภาพมาที่เมืองไทย บ้านเรานั้นมีการจำหน่ายผ้าอนามัยมาราวๆ 100 กว่าปีที่ผ่านมา โดยยี่ห้อโกเต็กซ์ (Kotex) เป็นยี่ห้อแรกที่นิยมใช้มากสุด (จนคนยุคหนึ่งต้องเคยได้ยินคุณแม่หรือคุณป้าถามหา ‘โกเต๊กซ์’ มากันบ้างแหละ)

 

ทีนี้ลองมาดูสิว่า คุณรู้จักผ้าอนามัยมากแค่ไหนกัน

 

Photo: giphy.com

 

ชนิดของผ้าอนามัย  

หากแบ่งตามขนาดและการใช้ ผ้าอนามัยแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้ค่ะ

 

1. แผ่นอนามัย (Panty Liner) มีขนาดบาง แนบกับชั้นในไม่ให้เห็นร่องรอยได้ ใช้สำหรับซับตกขาว ซับประจำเดือนวันมาน้อย หรือใช้เป็นแผ่นกันชุดเปื้อน (Backup) หากใช้ผ้าอนามัยแบบสอด

 

2. ผ้าอนามัยชนิดบาง (Ultra Thin) มีขนาดบาง แนบกับชั้นใน ใช้ซับประจำเดือนวันมาน้อย

 

3. ชนิดธรรมดา (Regular) ซับประจำเดือนวันที่มาธรรมดา ผืนหนึ่งซับเลือดได้ประมาณ 5 ซีซี

 

4. ชนิดหนา (Maxi หรือ Super) นิยมใช้ซับประจำเดือนวันที่มามาก

 

5. ชนิดข้ามคืน (Overnight) ใช้ซับประจำเดือนขณะนอนหลับ มักมีปีก และหนากว่าชนิดหนา

 

Photo: giphy.com

 

แต่รู้ไหมว่าผ้าอนามัยอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากไม่สะอาด โดยในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศฉบับที่ 10 กำหนดให้ผ้าอนามัยเป็นเครื่องสำอางควบคุม และจำแนกผ้าอนามัยออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

 

1. ผ้าอนามัยที่ใช้ภายนอก หมายความว่าใช้รองรับเลือดประจำเดือน ซึ่งไม่ได้สอดใส่เข้าช่องคลอด ในการผลิตต้องผ่านการทำให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ มีจำนวนจุลินทรีย์ที่ยอมรับได้

 

2. ผ้าอนามัยชนิดสอด หมายความว่าใช้สอดใส่เข้าในช่องคลอด เพื่อดูดซับเลือดประจำเดือน ในการผลิตต้องผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และระบุคำว่า ‘ปลอดเชื้อ’ ไว้ในฉลาก

 

ทั้งนี้ผ้าอนามัยทุกชนิดควรสวมใส่ระยะสั้นๆ ตอนมีประจำเดือน เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ในภายหลัง ผืนหนึ่งจึงไม่ควรใส่นานเกิน 2-4 ชั่วโมง และไม่ควรสวมจนเปียกชื้น

Photo: giphy.com

  

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อสวมผ้าอนามัยเป็นเวลานานต่อเนื่อง

  • รอยคล้ำ จากความชื้นและการกดทับ ทำให้ผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ และแพ้ผ้าอนามัย
  • ซ่อนเร้นโรค หากสวมแผ่นอนามัยเป็นประจำ อาจทำให้ไม่สังเกตความผิดปกติต่างๆ เช่น อาการตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติ กลิ่น และความผิดปกติอื่นๆ ทำให้จนละเลยมาพบแพทย์
  • สร้างโรค เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก กระจายเข้าไปในช่องคลอดและรูปัสสาวะ เพิ่มโอกาสเป็นโรคช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรียตัวร้าย (Bacterial Vaginosis) และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ติดเชื้อรา ความชื้น อับทึบ เพิ่มโอกาสติดเชื้อรา มีอาการตกขาว คัน ปัสสาวะแสบ มีผื่นคัน เป็นต้น
  • พิษในกระแสเลือด (Toxic Shock Syndrome) ภาวะนี้มีอันตรายมากจนอาจคร่าชีวิต โดยเกิดขึ้นจากการสวมผ้าอนามัยชนิดใช้ภายนอกหรือชนิดสอดนานเกินไป จนก่อให้เกิดพิษของเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้

 

ทั้งนี้หนังสือพิมพ์ The Washington Post รายงานเมื่อเดือนมีนาคม 2016 ว่า ทุกวันนี้ยังมีผู้หญิงอเมริกันเสียชีวิตจากภาวะพิษในกระแสเลือดผ่านการใช้ผ้าอนามัยอยู่ โดยมีคนจำนวน 5-15 เปอร์เซ็นต์ที่เสียชีวิตจากภาวะดังกล่าวที่เกิดจากแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ในขณะที่ภาวะพิษในกระแสเลือด (Streptococcal Toxic Shock Syndrome) นั้นอยู่ที่ 30-70 เปอร์เซ็นต์

 

ดังนั้นทางที่ดีควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 2-4 ชั่วโมงขึ้นกับวันมามากของช่วงประจำเดือน และหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงหรือผิดปกติเสมอเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงข้างต้น

 

อ่านเรื่องเมื่อประจำเดือนเป็นประจำวันที่นี่

 

ภาพประกอบ: Pichamon Wannasan

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising