×

วิชาออกแบบห้องน้ำ 101: การเลือกสุขภัณฑ์เพื่อเพิ่มความสุนทรีในห้องน้ำเบื้องต้น [Advertorial]

19.10.2018
  • LOADING...

เข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2018 กันแล้ว ใครที่เตรียมจะรีโนเวตหรือสร้างบ้านใหม่เพื่อต้อนรับปี 2019 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ช่วงนี้อาจจะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อออกแบบบ้านในฝันกันสักหน่อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักจะใช้ไอเดียหมดไปกับการออกแบบห้องนอน ห้องรับแขก และห้องครัว จนอาจจะหลงลืมอีกหนึ่งห้องสำคัญของบ้านอย่าง ‘ห้องน้ำ’ ไป

 

เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่ที่ใช้ชำระล้างร่างกายแล้ว ห้องน้ำยังเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สร้างความสดชื่นและความผ่อนคลายให้กับร่างกายที่เหนื่อยล้าของเราด้วย ดังนั้น การสร้างบรรยากาศที่ดีและเพิ่มความสุนทรีด้วยสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ให้สอดคล้องกับ ‘บ้านในฝัน’ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

 

THE STANDARD ขอพาเข้าสู่บทเรียน การออกแบบห้องน้ำ 101 การเลือกสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ ในห้องน้ำ บทเรียนเบื้องต้นที่จะช่วยให้การเลือกสุขภัณฑ์รอบกายกลายเป็นความสุขรอบตัว

 

 

การแยกโซนเปียกและโซนแห้ง

เริ่มกันตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้าห้องน้ำอย่างการแยก ‘โซนเปียก’ และ ‘โซนแห้ง’ เพราะคงไม่ดีแน่หากการเข้าห้องน้ำเพื่อล้างมือ โกนหนวด หรือแต่งหน้า ต้องพ่วงมากับความชื้นแฉะที่เท้าแถมมาด้วย

 

การใช้ผนังแบ่งหรือแยกประเภทของสุขภัณฑ์ตามโซนที่ใช้งานจะทำให้ปัญหาความชื้นแฉะในห้องน้ำและการทำความสะอาดสามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยโซนเปียกคือโซนที่ใช้สำหรับชำระล้างร่างกาย ซึ่งควรมีสุขภัณฑ์อย่าง อ่างอาบน้ำหรือฝักบัวอาบน้ำ และตะขอหรือราวแขวนผ้าเท่านั้น โดยแยกโถสุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า และตู้เก็บของ เอาไว้ในโซนแห้ง

 

Notes: ตะขอหรือราวแขวนผ้าควรติดตั้งอยู่ในบริเวณที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย โดยความสูงที่เหมาะสมของการติดตั้งอยู่ที่ 150 เซนติเมตร

 

 

การเลือกอ่างอาบน้ำและฝักบัวอาบน้ำ

หลังจากจัดการแบ่งโซนเปียกและโซนแห้งเรียบร้อยแล้ว สำหรับบ้านที่มีขนาดใหญ่และมีพื้นที่มาก การเลือกใช้ ‘อ่างอาบน้ำ’ เข้ามาช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันอ่างอาบน้ำมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ทรงหลักๆ คือ ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลม และแบบเข้ามุม  

 

 

ใครชื่นชอบรูปทรงแบบไหนก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ แต่ควรเลือกอ่างอาบน้ำที่มีขนาดสัมพันธ์กับพื้นที่และตำแหน่งที่ติดตั้ง ไม่เล็กหรือใหญ่จนทำให้โซนเปียกอึดอัดหรือคับแคบจนเกินไป รวมถึงวัสดุที่ใช้ต้องมีความแข็งแรงคงทน และสามารถดูแลรักษาทำความสะอาดได้ง่าย

 

Notes: ควรศึกษาข้อดีและข้อเสียของอ่างอาบน้ำแต่ละประเภทก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนักของอ่างอาบน้ำก่อนติดตั้ง เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน

 

 

แต่สำหรับบ้านที่มีพื้นที่ไม่มากนัก การชำระล้างร่างกายด้วย ‘ฝักบัวอาบน้ำ’ ก็เป็นตัวเลือกที่สร้างความสดชื่นให้ร่างกายได้ดีเช่นกัน ถึงจะมีหน้าตาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ฝักบัวอาบน้ำก็มีให้เลือกสรรถึง 4 แบบคือ ฝักบัวแบบถืออาบ (Hand Shower), ฝักบัวก้านแข็ง (Head Shower), ฝักบัวข้าง (Side Shower) และฝักบัวเพดาน (Up Head Shower หรือ Rain Shower)

 

โดยฝักบัวอาบน้ำที่ดีและมีคุณภาพนั้นส่วนใหญ่จะผลิตจากสเตนเลสหรือโครเมียมที่ได้มาตรฐาน ซึ่งทนทานจากการกัดกร่อนของสารเคมีและสามารถทำความสะอาดได้ง่าย

 

Notes: ความสูงของการติดตั้งฝักบัวอาบน้ำควรอยู่ที่ประมาณ 175 เซนติเมตร (สามารถปรับระดับสูง-ต่ำตามความเหมาะสมได้)

 

 

การเลือกโถสุขภัณฑ์

ขยับมาที่โซนแห้ง ซึ่ง ‘โถสุขภัณฑ์’ ดูจะเป็นหัวใจสำคัญของโซนนี้ โดยโถสุขภัณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ โถสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว (One Piece) ซึ่งมีถังพักน้ำเป็นชิ้นเดียวกัน และ โถสุขภัณฑ์แบบสองชิ้น (Two Pieces) ซึ่งมีถังพักน้ำแยกกับโถสุขภัณฑ์

โถสุขภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีรูปทรงและขนาดที่หลากหลายและแตกต่างกัน การเลือกโถสุขภัณฑ์จึงเป็นเรื่องของความชอบ ความเหมาะสม และความประหยัด เนื่องจากโถสุขภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ทั้งเรื่องเสียงของระบบชำระล้าง การทำความสะอาด และการใช้ปริมาณน้ำที่แตกต่างกันในแต่ละรุ่น โดยขนาดความสูงของโถสุขภัณฑ์ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 43-48 เซนติเมตร

Notes: การติดตั้งโถสุขภัณฑ์ควรมีระยะห่างจากสุขภัณฑ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ประมาณ 38-45 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกึ่งกลางของโถสุขภัณฑ์ และที่แขวนกระดาษชำระควรอยู่ห่างจากโถสุขภัณฑ์ไปด้านหน้าประมาณ 20-30 เซนติเมตร และมีความสูงไม่เกิน 60 เซนติเมตร

 

 

ความสูงของอ่างล่างหน้าและก๊อกน้ำที่เหมาะสม

อีกหนึ่งส่วนของห้องน้ำที่หลายคนใช้เวลาอยู่บริเวณนี้ไม่น้อยอย่าง ‘อ่างล้างหน้า’ โดยอ่างล้างหน้ามีทั้งแบบฝังติดกับเคาน์เตอร์และอ่างล้างหน้าลอยติดผนัง ในขณะที่ ‘ก๊อกน้ำ’ มีให้เลือกมากถึง 3 แบบคือ ก๊อกน้ำเดี่ยว ที่สามารถใช้น้ำเย็นได้อย่างเดียว, ก๊อกน้ำเดี่ยวผสม ที่มีมีจุดเปิด-ปิดเพียงจุดเดียว และใช้การโยกซ้ายและขวาเพื่อปรับระดับการผสมน้ำร้อนและน้ำเย็น และ ก๊อกน้ำคู่ผสม ที่มีวาล์วน้ำร้อนและน้ำเย็นแยกซ้ายและขวาอย่างชัดเจน

 

 

ซึ่งทั้งอ่างล้างหน้าและก๊อกน้ำนั้นมีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้อไม่ต่างจากอ่างอาบน้ำและฝักบัวอาบน้ำ เนื่องจากเป็นสุขภัณฑ์ที่ใช้เป็นประจำ วัสดุที่ใช้จึงต้องทนทานและทำความสะอาดง่าย

 

 

Notes: ก๊อกน้ำทั้ง 3 แบบสามารถใช้ได้ทั้งกับอ่างล้างหน้าแบบฝังติดเคาน์เตอร์และลอยติดผนัง โดยความสูงที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งอ่างล้างหน้าคือประมาณ 75-80 เซนติเมตร (สามารถปรับระดับสูง-ต่ำตามความเหมาะสมได้)

 

 

ตู้เก็บของและความสำคัญของแสงไฟ

อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เราสามารถจัดระเบียบสิ่งของในห้องน้ำได้อย่างเป็นสัดส่วนคือ ‘ตู้เก็บของ’ ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบขาตั้ง แบบติดผนัง และแบบเข้ามุม

 

การเลือกตู้เก็บของในห้องน้ำนั้นนอกจากขนาดที่เหมาะสมและความสวยงามภายนอกแล้ว ฟังก์ชันการใช้สอยก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ตู้เก็บของที่ดีต้องมีพื้นที่ใช้สอยที่สามารถใช้งานได้จริงและทำจากวัสดุที่ทนทาน เมื่อเจอกับน้ำ สารเคมี หรือความชื้นจะไม่เปลี่ยนรูปทรงหรือผุพัง

เช่นเดียวกับ ‘ไฟส่องสว่าง’ ที่นอกจากจะทำให้มองเห็นชัดเจนแล้ว การเลือกไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานยังช่วยสร้างบรรยากาศให้กับห้องน้ำได้ เช่น การใช้หลอดไฟแบบ Warm White และ Cool White จะทำให้บรรยากาศในห้องน้ำผ่อนคลายและสงบเหมือนอยู่ในสปาได้ ในขณะที่หลอดไฟแบบ Daylight White จะทำให้ห้องน้ำสว่างสดใส

 

 

Notes: ก่อนติดตั้งไฟส่องสว่าง ควรสำรวจแสงธรรมชาติของห้องน้ำก่อนว่ามีหรือไม่ และแสงธรรมชาตินั้นมีต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้างอะไรเข้ามาบดบังแสงหรือเปล่า เพื่อช่วยให้การติดตั้งไฟส่องสว่างถูกจุดและไม่สิ้นเปลืองพลังงานมากจนเกินไป

 

เห็นไหมว่าการออกแบบ ‘ห้องน้ำ’ ก็มีดีเทลสำคัญที่ไม่ต่างจากการออกแบบห้องอื่นๆ ภายในบ้านเช่นกัน ซึ่งบทเรียนการออกแบบห้องน้ำ 101 การเลือกสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ นี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นในการสร้างห้องน้ำในฝันเท่านั้น

 

หากใครที่ต้องการเปลี่ยน ‘ห้องน้ำในฝัน’ ให้เป็น ‘แปลนจริง’ ลองแวะเวียนไปที่บูธ Cristina ในงานบ้านและสวนแฟร์ ที่ชาเลนเจอร์ 2 ประตู 2 อิมแพ็คเมืองทองธานี เพราะที่ Cristina มีบริการออกแบบห้องน้ำให้เหมาะกับสไตล์และบ้านของคุณ การันตีด้วยประสบการณ์และทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านสุขภัณฑ์กว่า 23 ปี และมีผลงานการออกแบบให้กับโรงแรมชื่อดังต่างๆ อย่าง Renaissance Hotel Bangkok, Shangri-la Hotel Bangkok, G Hotel Penang ฯลฯ

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising