×
SCB Index Fund 2024
SCB Omnibus Fund 2024

CPF รายงานกำไรปกติ 1Q22 ที่ 752 ล้านบาท ดีขึ้นจากขาดทุนปกติ 4.9 พันล้านบาทใน 4Q21 เพราะราคาเนื้อสัตว์บกในประเทศและราคาสุกรในเวียดนามดีขึ้น

17.05.2022
  • LOADING...
CPF

เกิดอะไรขึ้น:

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2022 บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) รายงานกำไรสุทธิ 2.8 พันล้านบาท ลดลง 59%YoY และ 58%QoQ สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะมาร์จิ้นสูงกว่าคาด 

 

หากตัดกำไรพิเศษ 2.1 พันล้านบาทออกไป พบว่ากำไรปกติอยู่ที่ 752 ล้านบาท ลดลง 89%YoY โดยเกิดจากส่วนแบ่งกำไรที่อ่อนแอลง (ขาดทุนจาก CTI เนื่องจากราคาสุกรลดลงและขาดทุนจากสินทรัพย์ชีวภาพในจีน) และราคาสุกรในเวียดนามที่ลดลง แต่ฟื้นตัวจากขาดทุนปกติ 4.9 พันล้านบาทใน 4Q21 โดยได้รับการสนับสนุนจากราคาเนื้อสัตว์บกในประเทศและราคาสุกรในเวียดนามที่ดีขึ้น

 

กระทบอย่างไร:

วันนี้ (17 พฤษภาคม 2022 ณ เวลา 12.30 น.) ราคาหุ้น CPF ปรับเพิ่มขึ้น 3.25%DoD สู่ระดับ 25.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 1.39%DoD สู่ระดับ 1,606.43 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการในปี 2022:

SCBS คาดว่าผลประกอบการ 2Q22 จะปรับตัวดีขึ้น QoQ โดยเกิดจากปัจจัยฤดูกาล ขณะที่ราคาเนื้อสัตว์บกที่ดีขึ้นใน 2Q22TD (ประเทศไทย เวียดนาม และจีน) และการกลับมาของแรงงานในโรงงานไก่เนื้อในประเทศ แต่ผลประกอบการจะลดลง YoY จากฐานสูงของปีก่อนในจีนและเวียดนาม ส่วนผลประกอบการ 2H22 ก็จะดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากกำไรที่ดีขึ้นจากบริษัทร่วม (CTI, CPALL และ MAKRO) 

 

สำหรับประเด็นสำคัญจากการประชุมนักวิเคราะห์กับ CPF

  1. ธุรกิจสัตว์บกในประเทศ: ราคาสุกรและไก่เนื้อในประเทศปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 93 บาทต่อกิโลกรัม และ 41 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่ง CPF คาดว่าราคาสุกรในประเทศจะสูงกว่า 90 บาทต่อกิโลกรัมใน 2H22 และจะยังอยู่ในระดับสูงในปี 2023 เพราะอุปทานตึงตัวจากโรค ASF และเมื่อรวมกับการส่งออกไก่เนื้อในระดับสูง จะช่วยสนับสนุนราคาไก่เนื้อในประเทศ และความต้องการส่งออกไก่เนื้อไปยังยุโรปแข็งแกร่ง เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัวและอุปทานจากยูเครนลดลง 

 

การส่งออกไก่เนื้อไปยังญี่ปุ่นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังจากญี่ปุ่นเปิดประเทศอีกครั้ง โดยราคาส่งออกไก่เนื้อปรับขึ้นมาแล้ว 30-40% YTD หลังจากคนงานในโรงงานผลิตไก่เนื้อลดลงสืบเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด ตั้งแต่ 3Q21 ซึ่ง CPF คาดว่าคนงานจะกลับมาทำงานตามปกติในช่วงกลาง 2Q22 ซึ่งจะช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโรงงานไก่เนื้อปรับลดลง 

 

  1. ต้นทุนวัตถุดิบ: ต้นทุนวัตถุดิบจะยังสูง เช่น ข้าวโพดและข้าวสาลี จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และกากถั่วเหลืองนำเข้า จากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในอเมริกาใต้ เงินบาทอ่อนค่า และต้นทุนค่าระวางสูง 

 

  1. ธุรกิจสุกรในเวียดนามและจีน: ใน 2Q22TD ราคาสุกรในเวียดนามและจีนเพิ่มขึ้น QoQ สู่ 55,000 ดองต่อกิโลกรัม และ 14-15 หยวนต่อกิโลกรัม ขณะที่อุปทานสุกรในประเทศเหล่านี้ฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรค ASF แล้ว 

 

ซึ่ง CPF คาดว่าราคาสุกรในเวียดนามและจีนจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับใกล้เคียง 60,000 ดองต่อกิโลกรัมใน 2H22 อันเป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และสู่ 19 หยวนต่อกิโลกรัมในช่วงปลายปี 2022 (อิงกับราคาตามสัญญาล่วงหน้า) โดยได้รับการสนับสนุนจากการบริโภคที่แข็งแกร่งแม้ว่าจะมีการล็อกดาวน์ อีกทั้งราคาปัจจุบันยังต่ำกว่าระดับที่เป็นจุดคุ้มทุนของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ หลังจากยื่นคำขอจดทะเบียน CTI (ธุรกิจสุกรครบวงจรในจีนซึ่ง CPF ถือหุ้น 26%) ต่อตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ CPF กำลังเตรียมที่จะยื่นขอจดทะเบียน C.P. Vietnam (ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรในเวียดนามซึ่ง CPF ถือหุ้น 82%) ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์  

 

  1. อื่นๆ: สำหรับการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา (Bellisio & Hylife) CPF วางแผนปรับราคาผลิตภัณฑ์ขึ้นอีกเพื่อบรรเทาแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ และใช้คนงานต่างด้าวมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน CPF ตั้งเป้ายอดขายอาหารที่ทำจากพืช (Plant-based) เพิ่มขึ้นสู่ 2 พันล้านบาทในปี 2022 (เทียบกับ 200 ล้านบาท ใน 1Q22) ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากเปิดตัวในประเทศไทยและเอเชีย

 

อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนแปลงในราคาผลิตภัณฑ์และต้นทุนอาหารสัตว์

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising