×

EV จีน วิ่งสู้ฟัด! เปิดเส้นทางใหม่เจาะตลาดยุโรป แต่อาจไม่ง่ายเหมือนอาเซียน เพราะชาวยุโรปไม่รู้จักแบรนด์จีน

21.08.2023
  • LOADING...
ev จีน

ผู้ผลิต EV จีน ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจในประเทศ มองหาตลาดใหม่ๆ ที่มาพร้อมความท้าทายครั้งใหญ่ในการเข้าไปเจาะตลาดยุโรป โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในยุโรปให้มากขึ้น แต่อาจไม่ง่าย เมื่อแบรนด์จีนต้องเจอต้นทุนนำเข้าแสนแพงและการจดจำแบรนด์ที่ยังไม่อาจครองใจชาวยุโรปได้ง่ายๆ บวกกับรสนิยมและความชอบที่มุ่งโฟกัสไปที่ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เพื่อการเดินทางที่ยาวนานขึ้น 

 

ผลพวงจากเศรษฐกิจจีนที่ซบเซา บวกกับการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลายค่ายรถประสบภาวะขาดทุน เช่นเมื่อไม่กี่วันมานี้แม้แต่ XPENG ก็ยังขาดทุนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ความพยายามในการออกมาตรการกระตุ้นให้ประชาชนซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่รัฐบาลจีนเพิ่งประกาศต่ออายุแพ็กเกจลดหย่อนภาษีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) ไปอีก 4 ปี ก็ไม่อาจการันตีได้ว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจจีนกลับมาแข็งแกร่งได้ในระยะเวลาอันใกล้ ทำให้ผู้ผลิตหลายอุตสาหกรรมต่างออกไปลงทุนภูมิภาคอื่นๆ เช่นเดียวกับ EV

 

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า แม้ว่าบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของจีน จะแซงหน้าคู่แข่งต่างชาติจนมียอดขายสูงสุดในประเทศในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซา จึงมีแผนมุ่งสู่ตลาดนอกประเทศ โดยเฉพาะยุโรปที่จีนหมายมั่นจะเข้าไปปักหมุดและกินส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่ม 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:  


 

อย่างไรก็ตาม เจตจำนงครั้งนี้ของจีนอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแบรนด์จีนในยุโรปไม่น่าจะขายได้ในราคาถูก เนื่องจากจีนต้องแบกรับกำแพงภาษีการนำเข้าที่สูงและการจดจำแบรนด์ที่ยังไม่มากพอ ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้ผลิตที่พยายามจะเข้าไปเจาะตลาดยุโรปอย่าง BYD, NIO และ MG ของ SAIC กำลังเผชิญ 

 

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์กันว่า ปี 2023 ยอดรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ที่เป็นแบรนด์จีนจะสามารถจำหน่ายในยุโรปเพิ่มขึ้น 8% จาก 6% ในปี 2022 และ 4% ในปี 2021 ขณะเดียวกัน ผลศึกษาของ Allianz คาดว่าจะมีอย่างน้อย 11 รุ่นในตลาดที่ผลิตในจีนมาเปิดตัวในยุโรปภายในปี 2025 

 

เฉิน ซื่อหัว รองผู้อำนวยการสมาคมการผลิตรถยนต์ของจีน ระบุว่า สมาชิกของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ฯ อาจกระจายตัวมากเกินไปในแผนการขยายธุรกิจ

 

“มันไม่ราบรื่นนักสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ของเราที่จะก้าวสู่ระดับโลก เราควรให้ความสนใจกับความเสี่ยงที่ปัจจุบันบรรดาบริษัทต่างๆ อาจดำเนินการล่าช้าเกินไป เพื่อก้าวเข้าสู่ผู้นำทุกภูมิภาค แต่กลับขาดการโฟกัสที่ชัดเจน”

 

ชาวยุโรปชื่นชอบยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ขนาดใหญ่

 

เลซานเดอร์ โคส หัวหน้าต่างประเทศของ Aiways บริษัทสตาร์ทอัพ EV สัญชาติจีน กล่าวว่า การเจาะตลาดยุโรปนั้นไม่ง่าย และยากที่จะเอาชนะความชื่นชอบยานยนต์ไฟฟ้าที่มุ่งเน้นแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการเดินทางที่ยาวนานขึ้นของชาวยุโรปได้ ที่สำคัญจะทำอย่างไรในการสร้างความไว้วางใจ ซึ่งแม้ว่าแบรนด์จีนบางแบรนด์ เช่น MG จะเป็นที่รู้จักกันดีในยุโรปก็จริง แต่แบรนด์อื่นๆ เช่น XPENG และ NIO จำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจและสร้างการจดจำแบรนด์ให้ได้กว่านี้

 

การสำรวจระบุว่า ผู้ซื้อ EV ส่วนใหญ่ในยุโรปไม่รู้จักแบรนด์จีน และเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งลังเลที่จะซื้อรถแบรนด์จีน ทำให้ชวนนึกถึงการสร้างแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นและเกาหลีในอดีต ที่กว่าจะประสบความสำเร็จก็ต้องต่อสู้กันอย่างยาวนานหลายทศวรรษ เพื่อให้ได้มาซึ่งความไว้วางใจและปรับให้เข้ากับรสนิยมของชาวยุโรปได้จนปัจจุบัน

 

ผลสำรวจยังระบุอีกว่า มีเพียง 14% ของผู้บริโภคชาวเยอรมันที่รู้จัก BYD ส่วน 17% เคยได้ยินเกี่ยวกับแบรนด์พรีเมียม NIO ในขณะที่ 10% รู้จัก Lynk & Co ของ Geely และ 8% รู้จัก XPENG และมากกว่า 95% ของผู้บริโภครู้จัก Tesla เท่านั้น โดยในบรรดาผู้ที่รู้จักแบรนด์จีน 1% หรือน้อยกว่านั้นจึงจะพิจารณาซื้อ

 

อีกหนึ่งความท้าทายก็คือ การที่แต่ละบริษัทตัดสินใจที่จะไม่โฆษณา เนื่องจากกังวลว่าผู้บริโภคจะลังเลที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตในจีน ก็มีผลต่อการสร้างการรับรู้ของแบรนด์

 

สิ่งที่ทำได้ระหว่างนี้คือ การสร้างความไว้วางใจจากผู้บริโภคผ่านการทดลองขับและผ่านโชว์รูมที่ผู้ซื้อในยุโรปสามารถประเมินคุณภาพของ EV ได้โดยตรง เพื่อให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์และเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ยุโรป อย่างเช่น ล่าสุดที่ GAC ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีน ซึ่งเป็นผู้จำหน่าย EV รายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน เข้ามาเปิดสำนักงานในมิลาน เพื่อสร้างเครือข่าย เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค ก่อนที่จะเริ่มการจัดจำหน่าย ก็เป็นสิ่งที่ดี

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising