×
SCB Index Fund 2024
SCB Omnibus Fund 2024

กระแสเงินสดของบริษัทอสังหาจีนในเดือน ก.ค. ปรับลดลงถึง 24% จากยอดขายบ้านและความต้องการสินเชื่อที่ซบเซา

18.08.2022
  • LOADING...
อสังหาริมทรัพย์จีน

บริษัท อสังหาริมทรัพย์จีน กำลังเผชิญกับภาวะสภาพคล่องตึงตัวอย่างหนัก ผู้ซื้อบ้านจำนวนมากปฏิเสธที่จะผ่อนชำระค่าบ้านต่อในโครงการที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ขณะที่ยอดขายบ้านและความต้องการสินเชื่อในตลาดก็ปรับตัวลดลง

 

ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ Oxford Economics ระบุว่า กระแสเงินสดของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาปรับลดลงถึง 24% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในภาพรวมบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนมีกระแสเงินสดรวมกันอยู่ที่ 15.22 ล้านล้านหยวน ลดลงจาก 20.11 ล้านล้านหยวนในปีก่อน

 

ทอมมี่ วู นักเศรษฐศาสตร์ของ Oxford Economics กล่าวว่า สภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนเป็นผลมาจากความต้องการสินเชื่อในเดือนกรกฎาคมที่ออกมาต่ำกว่าคาด รวมถึงการที่นักลงทุนเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนกับบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของจีนจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น

 

ขณะเดียวกันหลายบริษัทอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญกับปัญหาการหยุดผ่อนชำระค่าบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จจากกลุ่มผู้ซื้อบ้าน โดยผลสำรวจของ Alphawise คาดว่าจำนวนผู้ซื้อบ้านจีนที่หยุดผ่อนค่างวดในปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 4 ของผู้ซื้อบ้านทั้งหมด (ผู้ซื้อบ้านในจีนโดยทั่วไปจะเริ่มผ่อนชำระค่างวดก่อนโครงการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ)

 

“ปัญหาที่กำลังตามมาคือ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะมีกระแสเงินสดไม่เพียงพอสำหรับเดินหน้าก่อสร้างในโครงการต่างๆ” วูระบุ

 

Morgan Stanley ระบุว่า ในเดือนกันยายนนี้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะมีหนี้พันธบัตรที่ครบกำหนดชำระกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ตลาดเริ่มมีความกังวลถึงโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ ขณะเดียวกันตลาดยังมีความกังวลว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคอสังหาริมทรัพย์จะส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปีนี้ชะลอตัวลง เนื่องจากปัจจุบันภาคอสังหาริมทรัพย์รวมกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ มีน้ำหนักต่อ GDP ของจีนมากกว่า 25% 

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising