×

จีนเสี่ยงเผชิญภาวะเงินฝืด ภาคธุรกิจแห่ลดราคาเพื่อความอยู่รอด เหตุกำลังซื้อไม่ฟื้น

08.08.2023
  • LOADING...

Bloomberg รายงานว่า บรรดาผู้ประกอบการชาวจีนต่างหันมาปรับลดราคาสินค้าและบริการลงจนกระทบต่อรายได้และกำไร เนื่องจากกำลังการบริโภคในจีนยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด ขณะที่ผู้ค้าปลีกบางรายก็ตัดสินใจชะลอการสั่งซื้อใหม่ และพยายามขายสต็อกสินค้าทั้งหมดที่สะสมไว้ ด้วยความคาดหวังว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ 

 

Nie Xingquan ผู้ประกอบการรองเท้าหนังรายหนึ่งกล่าวว่า บริษัทต้องหั่นราคารองเท้าลง 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ผลกำไรจะลดลง เช่นเดียวกับบริษัทอีกหลายแห่งในจีน เพื่อให้อยู่รอด 

 

เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสัญญาณว่า แรงกดดันด้านเงินฝืดกำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจจีน เนื่องจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและอ่อนแอ

 

รายงาน Bloomberg ยังระบุว่า แทนที่จะเป็นไปตามที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดการณ์ว่า ราคาสินค้าและบริหารในจีนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังจากผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่ต้นปีกำลังประสบกับช่วงเวลาที่ลำบาก ราคาสินค้าลดลงกลายเป็นภาระต่อทั้งภาคการผลิตและภาคค้าปลีก 

 

ทั้งนี้ ราคาผู้ผลิต (Producer Price) ในจีนหดตัว (YoY) มานับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2022 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ถ่านหิน และน้ำมันดิบ โดยข้อมูลล่าสุดชี้ว่า ราคาผู้บริโภค (Consumer Price) ก็มีแนวโน้มจะลดลงในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2020 ที่ราคาผู้บริโภคและผู้ผลิตหดตัวพร้อมกัน 

 

นอกจากนี้ หากราคาสินค้ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ผู้บริโภคอาจชะลอการซื้อของพวกเขา ยับยั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป และบังคับให้ธุรกิจต่างๆ ลดราคาต่อไป ซึ่งในทางกลับกันจะทำให้รายได้และกำไรลดลง กระตุ้นให้บริษัทจำกัดการลงทุนและการจ้างงาน จึงอาจส่งผลให้เศรษฐกิจจีนซบเซาคล้ายญี่ปุ่น ซึ่งต้องทนทุกข์กับภาวะดังกล่าวมานานหลายทศวรรษ

 

อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าสถานการณ์ของจีนไม่ได้เหมือนญี่ปุ่นทั้งหมด เพราะราคาสินค้าในจีนไม่ได้ลดลงในทุกรายการ โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคสำหรับภาคบริการยังคงแข็งแกร่ง เช่น ราคาการท่องเที่ยวพุ่งขึ้น 7.1% ในช่วง 6 เดือนแรกจากปีที่แล้ว เนื่องจากราคาโรงแรมพุ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายสำหรับบริการต่างๆ เช่น การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการรักษาพยาบาล ก็ยังคงเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

นักเศรษฐศาสตร์บางคนคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคของจีนจะมีแนวโน้มลดลงไปอีก 2-3 เดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายปี ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ที่สำรวจโดย Bloomberg คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะสูงถึงเพียง 0.8% ในปีนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

 

Ken Cheung หัวหน้านักยุทธศาสตร์ FX ที่ Mizuho Bank กล่าวว่า ความอ่อนแออย่างต่อเนื่องของข้อมูลจีนจะยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภค เนื่องจากครัวเรือนจะยังคงระมัดระวังในการซื้อสินค้าราคาสูง เนื่องจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการตกงานและการตัดเงินเดือน ขณะเดียวกันความไม่แน่นอนเกี่ยวกับภาวะเงินฝืดอาจทำให้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising