ภูฏาน ประเทศเล็กๆ ที่อยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำในประเทศ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 30% ของ GDP ที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้กับครัวเรือนเกือบ 800,000 คนที่อาศัยอยู่
ที่น่าสนใจกว่านั้นรัฐบาลได้ใช้เงิน 5% ของ GDP เพื่อซื้ออุปกรณ์ขุด Bitcoin หลังจากที่รัฐบาลเริ่มขุด Bitcoin มาตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งในเวลานั้นราคาอยู่ที่ 5,000 ดอลลาร์เท่านั้น
ภูฏานขุด Bitcoin มาตั้งแต่ราคา 5,000 ต่อเหรียญ
ภูฏานใช้ประโยชน์จากพลังงานน้ำในประเทศ โดยส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในการขุด Bitcoin และรัฐบาลได้ใช้เงินประมาณ 5% ของตัวเลข GDP เพื่อซื้ออุปกรณ์ขุด Bitcoin ในช่วงปีที่แล้ว
การขุด Bitcoin เป็นส่วนหนึ่งของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีรายงานว่าภูฏานเริ่มต้นการขุด Bitcoin เมื่อหลายปีก่อน ซึ่ง ณ เวลานั้นสกุลเงินดิจิทัลซื้อขายอยู่ที่ 5,000 ดอลลาร์เท่านั้น
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากทวิตเตอร์เปิดเผยว่า ภูฏานได้งบประมาณราวๆ 142 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วน 5% ของตัวเลข GDP ในการนำเข้าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ซึ่งคาดว่าถูกนำไปใช้เป็นอุปกรณ์ในการขุด Bitcoin
ความตั้งใจของภูฏานในการขุด Bitcoin ด้วยพลังงานน้ำมีความคล้ายคลึงกับประเทศเอลซัลวาดอร์ที่ต้องการขุด Bitcoin จากพลังงานภูเขาไฟในประเทศ นอกจากนี้ภูฏานมีโอกาสท่ีจะยอมรับสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย
เหยื่อที่ได้รับผลกระทบจาก BlockFi และ Celsius
Druk Holding & Investments ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งของรัฐบาลภูฏานที่ลงทุนในการผลิตชีส โรงงานพลังงานน้ำ รวมถึงสายการบิน ได้ทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์ในนามของประชาชน เพื่อถือครองคริปโตเคอร์เรนซี และข้อมูลได้ถูกเปิดเผยระหว่างกระบวนการการล้มละลายของ BlockFi และ Celsius
นอกจากนี้บริษัทได้ยืมเงิน 30 ล้าน USDC จาก BlockFi โดยมี Bitcoin จำนวน 1,888 BTC เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และได้มีการถอนเงิน 65 ล้านดอลลาร์ออกจาก Celsius ก่อนที่บริษัทจะล้มละลาย
มีผู้แสดงความเห็นมากมายเกี่ยวกับงบประมาณ 193 ล้านดอลลาร์ที่ใช้ไปกับการซื้อชิปคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจทำให้ประเทศขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของประเทศลดลงอย่างเห็นได้ชัด
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูงมาก นักลงทุนจึงควรกระจายความเสี่ยง ศึกษาหาข้อมูล และวางแผนในการลงทุนด้วยความรอบคอบ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- เกิดอะไรขึ้นกับ ‘ฮ่องกง’ ทำไมสถานะ ‘ศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย’ กำลังถูกสั่นคลอน และอาจกลายเป็นแค่อดีต
- ส่องกรณีศึกษาการเติบโตของ เศรษฐกิจสิงคโปร์ ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่รออยู่ข้างหน้า
- เปิดจุดเด่น เวียดนาม หลังจ่อขึ้นแท่นประเทศที่คว้าชัยในยุค Deglobalization
อ้างอิง: