×

#BAB2022 พาชมชิ้นงานน่าสนใจในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale ปีนี้

20.10.2022
  • LOADING...
BAB2022

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • ‘Wall of Change’ ของ Tatsuo Miyajima (โตเกียว) เป็นหนึ่งในชิ้นงานที่เรายกให้เป็นไฮไลต์ของปีนี้ เพราะตัวเลข 5 หลักบนกำแพงจะเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกัน จะมีเพียงผู้ชม 5 คนแรกของวันนั้นๆ เท่านั้น ที่สามารถทอยลูกเต๋าเพื่อเลือกตัวเลขได้ 
  • ‘Love Is The Message, The Message Is Death’ ของ Arthur Jafa (อเมริกา) เป็นผลงานดิจิทัลความยาว 7 นาที เล่าเกี่ยวกับ ‘น้ำเสียงของคนผิวดำ’ พร้อมเพลง Ultralight Beam ของ Kanye West
  • ผลงานกลุ่มก้อนสีส้มที่ QSNCC เห็นแล้วก็อย่านั่งลงไป เพราะงานชิ้นนี้ต้องใช้เสียงในการ Activate เมื่อทุกคนปรบมือจนสะท้อนไปทั่ว เจ้าก้อนเหล่านี้ก็จะดุ๊กดิ๊กด้วยตัวมันเอง

ในที่สุดก็เริ่มใกล้เข้ามาทุกที กับเทศกาลศิลปะสุดยิ่งใหญ่ Bangkok Art Biennale (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่) ที่จัดขึ้นทุกๆ สองปีครั้ง โดยงานนี้เป็นการรวมตัวศิลปินและนำชิ้นงานนับร้อยจากทั่วโลกมาจัดแสดงให้พวกเราชมกันข้ามปี บนโลเคชันกว่า 10 แห่งทั่วกรุงเทพฯ

 

#BAB2022 ที่มาในธีม CHAOS:CALM โกลาหล:สงบสุข จะเริ่มต้นวันแรกในวันเสาร์ที่ 22 ตุลาคมนี้ และเพื่อทำให้เพื่อนๆ ตัดสินใจง่ายขึ้นว่าจะเลือกจิ้มไปดูงานศิลปะในย่านไหนก่อน พวกเราจึงมีภาพตัวอย่างชิ้นงานบางส่วนที่น่าสนใจมากๆ มาให้เล่าให้ทุกคนอ่าน

 

โดยเทศกาลในปีนี้จะแบ่งเส้นทางออกเป็น 2 รูทเช่นเคย คือ ย่านริมน้ำและย่านในเมือง ซึ่งเราจะพาทุกคนไปเริ่มกันที่รูทริมน้ำ วัดโพธิ์ เป็นอันดับแรก

 

BAB2022

BAB2022

 

Antony Gormley

ชิ้นงานน่าสนใจนี้เป็นของศิลปิน Antony Gormley (ลอนดอน) งานของเขาจัดแสดงอยู่ 2 ชิ้นในวัดโพธิ์ เป็นประติมากรรมรูปร่างเหมือนมนุษย์ที่ทำขึ้นจากเหล็ก โดยงานชิ้นแรกหนักราว 700 กิโลกรัม ชิ้นที่สองหนักกว่า 100 กิโลกรัม ทั้งสองชิ้นงานจะสังเกตเห็นว่าไม่มีฐาน เนื่องจากทีมฝังลงใต้ดินเพื่อให้ชิ้นงานนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่มากที่สุด

 

โดยศิลปินอยากเปรียบชิ้นงานรูปมนุษย์นี้เป็นผู้มาเยือน เสมือนเขาที่เป็นชาวอังกฤษผู้สนใจในศาสนาพุทธและเซน

 

BAB2022

 

ส่วนอีกหนึ่งศิลปินที่จัดแสดงผลงานอยู่ในวัดโพธิ์เช่นกันคือ มณเฑียร บุญมา ศิลปินไทยร่วมสมัยคนสำคัญ โดยชิ้นงานที่ทุกคนจะได้เห็นมีชื่อว่า ‘อโรคยศาลา’ เป็นการนำออกมาจัดแสดงต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกหลังจากศิลปินล่วงลับไปแล้ว 20 ปี เป็นชิ้นงานรูปร่างคล้ายปอด ที่ทำจากกล่องโลหะเต็มไปด้วยสมุนไพร จัดแสดงอยู่ในเก๋งจีนด้านในวัดโพธิ์

 

BAB2022

 

เดินไปต่อกันที่ มิวเซียมสยาม ที่นี่มีชิ้นงานน่าสนใจอยู่เช่นกัน เริ่มจากผลงานของ Tazeen Qayyum (ปากีสถาน) ที่นำแมลงสาบมาสร้างเป็นแพตเทิร์นศิลปะที่จะเล่าถึงความถึก ทน ไม่ยอมแพ้ของพวกมัน เพราะไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย กี่สงคราม กี่โรคระบาด แมลงสาบก็ดูสามัคคีที่จะไม่สูญพันธุ์ไปเสียที

 

ศิลปินจึงใช้ ‘โมทีฟ’ (ชื่อแมลงสาบของเธอ) มาเป็นตัวแทนในการบอกทุกคนว่ามนุษย์เองก็ต้องรอดในสภาวะที่โลกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย โดยโมทีฟจะรอทุกคนอยู่เต็มมิวเซียมสยาม ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องเจอ

 

BAB2022

 

‘Wall of Change’ ของ Tatsuo Miyajima (โตเกียว) เป็นหนึ่งในชิ้นงานที่เรายกให้เป็นไฮไลต์ของปีนี้เลย เพราะตัวเลข 5 หลักบนกำแพงจะเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน ซึ่งจะมีเพียงผู้ชม 5 คนแรกของวันนั้นๆ เท่านั้น ที่สามารถทอยลูกเต๋าสิบหน้าเพื่อเลือกตัวเลขบนกำแพงได้ ทำให้ภาพที่ทุกคนเห็นผ่านช่องว่างจะเปลี่ยนไม่ซ้ำเช่นกัน

 

งานชิ้นนี้ศิลปินเปรียบตัวเลขเหมือนเวลาชีวิตของทุกคน อาจเพิ่ม ลด มองเห็นน้อยมาก หรืออาจมองไม่เห็นเลยเมื่อหมดเวลา

 

BAB2022

 

ทำนองเดียวกับงานของ Jitish Kallat (มุมไบ) ที่จัดแสดงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เป็นวอลล์เปเปอร์ภาพวาดที่เขานำตัวเลขประชากรโลกและจำนวนการเกิด-ตายตลอด 365 วันในช่วงโควิด มาเปลี่ยนเป็นภาพวาดเชิงคณิตศาสตร์และกราฟที่มีความน่าสนใจมาก

 

BAB2022

BAB2022

 

กลับมาเดินเล่นในรูทเมืองกันที่ BACC หรือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่ในปีนี้ก็มีผลงานแน่นขนัดเช่นเคย เริ่มตั้งแต่ชั้น 7-9 เราว่าในปีนี้จะเป็นผลงานภาพถ่าย ภาพวาด วิดีโอ และศิลปะการจัดวางเป็นส่วนใหญ่

 

ซึ่งแม้ว่าความใหญ่โตของชิ้นงานทางความรู้สึกจะเล็กลงกว่าปีก่อนๆ แต่เนื้อหาแน่นขึ้นมากจนไม่อยากให้ทุกคนพลาดดูอยู่หลายชิ้น

 

เช่น ‘Oracle of the Ashes of Plants’ ของ Timur Si-Qin (เยอรมนี) ผลงานของศิลปินเชื้อสายมองโกเลีย-จีน และเยอรมัน ที่เขาสแกนซากตอไม้ที่พบระหว่างเดินทางสำรวจโบราณคดีในโรมาเนียให้กลายเป็นชิ้นงาน 3 มิติ จัดแสดงโอบล้อมด้วยจอภาพโค้งที่ฉายสภาพแวดล้อมจริงขณะค้นพบซากตอไม้ดั้งเดิม

 

BAB2022

BAB2022

BAB2022

 

ผลงานที่เห็นบนทางเดินระหว่างชั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลเช่นกัน มีทั้งงานหนังตะลุงของศิลปิน วสันต์ สิทธิเขตต์ ที่เราเชื่อว่าหลายคนคุ้นตากับสีสัน การประชดประชัน และลายเส้นของเขาดี หรือผลงานพรมผูกด้วยมือของ Jan Kath (เยอรมนี) ก็น่าทึ่ง เพราะเต็มไปด้วยรายละเอียดที่หากมองไกลๆ ก็คงเหมือนภาพวาดชิ้นหนึ่ง

 

ภาพสีน้ำมันของ Ben Quilty (ซิดนีย์) ก็เป็นผลงานที่เราชอบ เพราะศิลปินใช้สีสันสวยงาม มีทั้งเรื่องราวและพื้นผิวที่ชวนให้หยุดมอง

 

BAB2022

BAB2022

 

ปีนี้ผลงานดิจิทัลมาแรงอย่างเห็นได้ชัด ไม่อยากให้พลาดตั้งแต่ ‘Turandot’ ของทีม AES+F จากประเทศรัสเซีย เล่าเรื่องการคุกคามและการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก ผ่านผลงานที่ใช้คนแสดง การเคลื่อนไหว แอนิเมชัน และสีสันที่เต็มไปด้วยความหมาย

 

อยู่ข้างกันเป็นผลงาน ‘Aleaf’ ของ นวิน หนูทอง ศิลปินรุ่นใหม่ที่สนใจเมตาเวิร์ส วิดีโอเกม วัตถุ และตำนานปรัมปรา ที่เขานำทั้งหมดมาผสมรวมกันจนเกิดเป็นพื้นที่พิเศษให้ทุกคนเดินเข้าไป

 

BAB2022

 

ทว่าผลงานที่เราชอบส่วนตัวและอยากให้ทุกคนได้ชมด้วยก็คือ ‘Love Is The Message, The Message Is Death’ ของ Arthur Jafa (อเมริกา) เป็นผลงานดิจิทัลภาพและเสียงความยาว 7 นาทีที่เล่าเกี่ยวกับคนผิวดำ มีตั้งแต่เสียงดนตรีของคนผิวดำ วัฒนธรรมการเต้น การร้องเพลง ความสร้างสรรค์ คนผิวดำผู้มีชื่อเสียง ไปจนถึงความรุนแรงที่พวกเขาต้องเจอ

 

Jafa เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “น้ำเสียงของคนผิวดำ” ที่สะท้อนถึงความมีเอกลักษณ์ ความงดงาม แต่ในขณะเดียวกันกลับถูกกดขี่

 

ภาพวิดีโอจะฉายให้เราชมพร้อมเพลง Ultralight Beam ของ Kanye West องค์ประกอบทุกอย่างส่งอารมณ์และสื่อสารออกมาได้ดีจนเราเชื่อว่าทุกคนต้องฉุกคิดเรื่องราวบางอย่าง

 

#BlackLivesMatter

 

BAB2022

BAB2022

BAB2022

BAB2022

BAB2022

BAB2022

Nomadic existence โดย Ganzug Sedbazar (มองโกเลีย)

จัดแสดง ณ BACC ชั้น 7 

 

แวะไปชมผลงานที่โลเคชันใหม่แห่งปีกันดีกว่า QSNCC หรือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่จัดแสดงผลงานอยู่ 3 จุด เราจะพาทุกคนไปชมชิ้นงานในฮอลล์ชั้น B2 ที่เต็มไปด้วยความน่าสนุก

 

เริ่มตั้งแต่กลุ่มก้อนสีส้มที่เห็นแล้วก็อย่านั่งลงไป เพราะงานชิ้นนี้ต้องใช้เสียงในการ Activate เมื่อทุกคนปรบมือจนสะท้อนไปทั่ว เจ้าก้อนเหล่านี้ก็จะดุ๊กดิ๊กด้วยตัวมันเอง

 

เช่นเดียวกับงานที่จัดแสดงอยู่ใกล้ๆ กัน เมื่อทุกคนเดินผ่านข้างใต้ก็จะมีเสียงประกอบดังขึ้นมาให้ฟัง โดยผลงานทั้ง 2 ชิ้นนี้เป็นของ พินรี สัณฑ์พิทักษ์ 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising